Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

5 ข้อควรรู้เกี่ยวกับการต่อเติมครัวให้ครบจบทุกฟังก์ชัน

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

บ้านเดี่ยว บ้านแฝด หรือบ้านทาวน์โฮมส่วนใหญ่พื้นที่ “ครัว” นั้นถูกออกแบบพื้นที่ใช้สอยอย่างจำกัดจึงทำให้ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน โดยตำแหน่งการจัดวางห้องครัวส่วนใหญ่กำหนดไว้ด้านหลังบ้านและลักษณะการใช้งานประเภทหนักเบาในแต่ละบ้านต่างกันออกไป อีกทั้งหลายท่านยังมีความเชื่อในหลักฮวงจุ้ยที่จะช่วยส่งเสริมด้านต่าง ๆ  ดังนั้น ก่อนที่จะตกลงต่อเติมครัวเราจึงจะขอพาคุณผู้อ่านทุกท่านมาศึกษาและทำความเข้าใจกับ 5 ข้อควรรู้เกี่ยวกับการต่อเติมครัวหลังบ้านกันเสียก่อนเพื่อจะช่วยให้คุณได้ครัวครบจบทุกฟังก์ชันตามความต้องการ

1. สำรวจพื้นที่

อันดับแรก คือ การสำรวจพื้นที่ แม้ส่วนใหญ่จะทราบกันดีว่านิยมต่อเติมครัวด้านหลังบ้านแต่ถึงอย่างไรก็ต้องพิจารณาพื้นที่หลังบ้านในตำแหน่งที่มีการเข้าออก-สะดวก เชื่อมต่อกับระบบต่าง ๆ ได้ง่ายเนื่องจากจะต้องมีการใช้ไฟฟ้า อาทิเช่น กาน้ำร้อน หม้อหุงข้าว ไมโครเวฟ หรือตู้เย็นและระบบน้ำเพื่อใช้ล้างทำความสะอาดทั้งวัตถุดิบและอุปกรณ์ต่าง ๆ อีกทั้งการพิจารณาถึงทิศทางตามศาสตร์ความเชื่อเกี่ยวกับฮวงจุ้ยในตำแหน่งของการไหลเข้าเพื่อให้บ้านมีการหมุนเวียนเรียกทรัพย์ เสริมบารมีเป็นสิริมงคลแก่ตัวบ้าน ดังนั้น เรื่องพื้นที่จึงไม่ควรมองข้าม

สำรวจพื้นที่

2. การเลือกรูปแบบให้เข้ากับไลฟ์สไตล์

เมื่อทราบพื้นที่ในการต่อเติมแล้วก็จำเป็นต้องมีการเลือกรูปแบบซึ่งจะขอจำแนกลักษณะห้องครัวออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  • ห้องครัวแบบโปร่ง
    จะมีลักษณะการออกแบบด้วยการทำให้ผนังช่วงล่างทึบแต่เปิดโล่งช่วงบน 
    ข้อดี: ห้องครัวประเภทนี้ค่อนข้างระบายอากาศและกลิ่นควันได้ดีจึงเหมาะสำหรับท่านที่ชอบทำครัวบ่อย ๆ สำหรับโครงสร้างมีน้ำเบา ทรุดตัวยาก ใช้วัสดุน้อย ราคาการก่อสร้างถูกกว่าครัวแบบทึบ
    ข้อเสีย: ไม่มีผนังกั้นทำให้ฝุ่นลอยเข้ามาได้ง่ายจึงจำเป็นต้องหมั่นทำความสะอาดและจัดเก็บอุปกรณ์พวกจานชามให้มิดชิด
  • ห้องครัวแบบทึบ 
    จะมีลักษณะการออกแบบผนังล้อมรอบทั้ง 4 ด้านและมีหลังคาปิดมิดชิด  
    ข้อดี: ห้องครัวประเภทนี้เหมาะบ้านที่ไม่ค่อยได้ทำกับข้าว หรือพื้นที่น้อย สามารถป้องกันฝุ่นและแมลงจากภายนอกได้ดีกว่าแบบโปล่ง ให้ความเป็นส่วนตัวและสามารถทำชั้น Built-in จัดเก็ยจาน ชามและอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้  
    ข้อเสีย: ระบายอากาศไม่ค่อยดีจึงควรติดตั้งเครื่องดูดควัน (hood) และพัดลมระบายอากาศส่งผลให้ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงและมีโอกาสทรุดตัวเร็วกว่าโครงแบบโปร่งเนื่องจากน้ำหนักที่มากกว่า

เลือกไลฟ์สไตล์

3. การเลือกวัสดุและโครงสร้าง  

เมื่อได้รูปแบบที่ตรงใจเป็นที่เรียบร้อยก็ต้องมาพิจารณาถึงวัสดุและโครงสร้างที่ควรเลือกใช้ ดังนี้

โครงและหลังคา

  • สำหรับโครงจะมีทั้งแบบลงเสาและไม่ลงเสาซึ่งจะมีข้อแตกต่างในเรื่องของอายุการใช้งานและการทรุดตัว ซึ่งการลงเสาจะเป็นการต่อเติมที่แยกออกมาทำให้มีอายุการใช้งานที่นานกว่าแต่ก็ควรเลือกจำนวนขนาดให้ได้มาตรฐานโดยการปรึกษาวิศวกรหรือผู้เชี่ยวชาญ
  • สำหรับหลังคาจะมีทั้งแบบเมทัลชีทและกระจกึ่งก่อนอื่นต้องพิจารณาจากการออกแบบบ้านว่าใช้แบบทึบ หรือโปร่งซึ่งหากเป็นครัวแบบทึบอาจจะนำกระจกเข้ามาช่วยเพื่อให้ห้องครัวรู้สึกโปล่ง โล่ง และไม่อึดอัด บางที่อาจจะมีการใช้ไม้ระแนงเข้ามาเสริมเพื่อเพิ่มลูกเล่นให้ดูสวยงามและทันสมัย

พื้นครัว

  • กระเบื้องเซรามิค - จะค่อนข้างหาซื้อง่าย ราคาไม่สูงมาก รับน้ำหนักน้อยแต่ดูดซึมน้ำได้ดีจึงทำให้ลื่นได้ง่ายจึงไม่เหมาะกับบ้านที่เด็กและผู้สูงอายุ
  • กระเบื้องโมเสค - แข็งแรง ไม่ตกสี ส่งร่องน้ำได้ดีแต่ราคาสูงและทำความสะอาดร่องยาก
  • กระเบื้องแกรนิตโต้ - แข็งแรง กันรอยขีดข่วนได้ดี ทำความสะอาดง่ายแต่เปียกย้ำจะบื่นและค่าใช้จ่ายสูง
  • กระเบื้องหินอ่อน - พื้นเย็น สวยแบบธรรมชาติ ดูหรูหราแต่น้ำหนักค่อนข้างมากและดูแลยากฃ
  • กระเบื้องดินเผา - คลาสสิก มีให้เลือกทั้งแบบเคลือบเงาและไม่เคลือบเงา ทนความเย็นและร้อนได้ดีแต่ดูแลค่อนข้างยาก รวมไปถึการติดตั้งต้องใช้ช่างที่มีฝีมือ
  • กระเบื้องแก้ว - ลวดลายสวยงาม มีแบบให้เลือกหลากหลาย ทนทานน้อย รับน้ำหนักมากไม่ได้และราคาสูง  

เคาน์เตอร์

  • หินแกรนิต - แข็งแรง ทนทาน ไม่ด่าง ป้องกันรอยขีดข่วน ลวดลายงดงาม ให้สีตามะรรมชาติ ราคาถูกแต่ดูดซับน้ำได้มาก
  • หินสังเคราะห์ - ประสิทธิภาพดีกว่าหินแกรนิตแต่ราคาสูงกว่า
  • ลามิเนต - ราคาถูก ทำความสะอาดง่าย ดัดจัดทรงได้แต่ไม่ทนรอยขีดข่วนและความร้อนสูง
  • สเตนเลส - เหมาะกับครัวที่ใช้งานหนัก ให้ความสวยงาม ทนทานสูง ออกแบบได้ตามความต้องการแต่ราคาสูง

วัสดุและโครงสร้าง  

4. การเลือกอุปกรณ์

การเลือกอุปกรณ์ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากไม่แพ้โครงสร้างและวัสดุต่าง ๆ เนื่องจากจะต้องนำมาใช้งานและควรมีการจัดวางในตำแหน่งที่ง่ายและสะดวกซึ่งอุปกรณ์ที่ควรจะมีไว้ในห้องครัว ได้แก่

  • เคาน์เตอร์ - ซึ่งเป็นทั้งที่วาง ที่จัดเก็บและต่อเติมระบบไฟฟ้า
  • ตู้แขวนผนัง - ถือเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยประหยัดเนื้อที่ใช้สอยและสามารถเก็บสิ่งของและอุปกรณ์ที่มีน้ำหนักเบา
  • ซิงค์ - สำหรับล้างทำความสะอาดอุปกรณ์และวัตถุดิบต่าง ๆ อาทิเช่น ผัก เนื้อสัตว์ ผลไม้หรืออุปกรณ์ทำครัวรัวมไปถึงจานชาม
  • เตาแก๊ส - สำหรับการประกอบอาหารซึ่งอาจพ่วงด้วยเครื่องดูดควันเพื่อระบายอากาศและกำจัดกลิ่นภายในห้อง
  • ราวแขวน หรือชั้นวางให้ง่ายต่อการหยิบ จับหรือใช้งาน
  • ตู้เย็น - สำหรับเก็ยรักษาวัตถุดิบและยืดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์บางชนิด
  • จาน ชาม ช้อน ส้อม และอื่น ๆ - ควรเลือกที่ได้อุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานและปลอดภัยไม่ก่อให้เกิดอันตรายและส่งผลเสียต่อผู้ใช้งาน 

การเลือกอุปกรณ์

ข้อควรระวัง

  • ตำแหน่งของอุปกรณ์ อาทิเช่น เตาแก๊ส ไม่ควรวางติดผนังแต่ควรห่างอย่างน้อย 30 เซนติเมตร
  • ตำแหน่งปลั๊กไฟควรมีการกำหนดระยะห่างให้เหมาะสมและอยู่ในตำแหน่งที่ง่ายต่อการใช้งาน
  • ตามกฎหมายระยะห่างของครัวและรั้วบ้านควรมีระยะถอยร่น 2 เมตรซึ่งหากจะมีการก่อสร้างในตำแหน่งที่ใกล้ชิดรั้วบ้านน้อยกว่า 2 เมตรจะต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากเพื่อบ้าน
  • ระบบน้ำสำหรับต่อเข้ากับซิงค์ล้างจานควรว่างในตำแหน่งที่ต่อน้ำเข้าสะดวกและไม่เดินท่อไกล
  • ควรวัดขนาดอุปกรณ์ อาทิเช่น ตู้เย็น เตาและอ่างล้างจานก่อนสร้างเคาน์เตอร์

ข้อควรระวังเห็นไหมว่าการต่อเติมครัวหลังบ้านไม่ได้ยากอย่างที่คิดเพียงแค่ต้องมีการศึกษา วางแผนให้เข้ากับขนาดพื้นที่ ไลฟ์สไตล์โดยการคำนึงถึงลักษณะการใช้งาน การเลือกโครง หลังคา วัสดุและอุปกรณ์ให้เหมาะสมเพื่อให้คุณได้ครัวที่ตรงใจครบทุกฟังก์ชันการใช้งานในงบประมาณที่พึงพอใจ 

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร