Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

ใช้ผ้าทำผ้าม่านแต่ละประเภทมีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

ม่าน เป็นอุปกรณ์ตกแต่งบ้านที่มีจุดประสงค์เพื่อบังแดด และกรองแสงให้เข้าสู่ภายในตัวบ้านอย่างเหมาะสม ไม่สว่าง หรือร้อนจนเกินไป การทำม่านนั้นต้องพิจารณา ผ้าทำผ้าม่าน ของม่านแต่ละผืนว่า มีคุณสมบัติตามความต้องการของท่านหรือไม่ รวมทั้งศึกษาข้อดี ข้อเสียของเนื้อผ้าแต่ละชนิดก่อนการตัดสินใจเลือกไปติดตั้งม่าน

ประเภทผ้าที่นำมาใช้ทำผ้าม่าน

สิ่งสำคัญในการทำผ้าม่าน คือ การเลือกผ้าทำผ้าม่าน เพราะผ้าแต่ละแบบนั้นต่างมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน การพิจารณาผ้าม่าน ควรเน้นไปที่จุดประสงค์สำหรับการใช้งานเป็นหลัก ซึ่งจะเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการเลือกเนื้อผ้าในการทำผ้าม่าน ในปัจจุบัน มีเนื้อผ้าอยู่ 5 ประเภท ที่มีความเหมาะสม และนิยมในการให้ทำผ้าม่าน ได้แก่

1. ผ้าฝ้าย (COTTON)

ผ้าที่มีคุณสมบัติบางเบา มีทั้งแบบที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติ 100% และแบบผสมเส้นใยสังเคราะห์ เนื้อผ้ามีคุณสมบัติ ไร้ความมันเงา สะท้อนแสงได้ดีทำให้มองดูแล้วสบายตา

2. ผ้าซาติน (SATIN)

นับเป็นผ้าที่ได้รับความนิยมอย่างมากในการนำมาทำผ้าม่านในปัจจุบัน เนื้อผ้าทำมาจากเส้นใยธรรมชาติเป็นหลัก ผลิตด้วยการทอจนหนา ทำให้ผ้าซาตินมีน้ำหนักพอสมควร ผิวผ้าเรียบลื่น ด้วยน้ำหนักที่มาก การปล่อยชายผ้าม่านที่ทำจากผ้าซาตินจึงทิ้งตัวดูสวยงาม

3. ผ้าลินิน (Linen)

ผ้าม่านอีกหนึ่งรูปแบบที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติ เวลาเย็บผ้าลินินเป็นผ้าม่าน มีคุณสมบัติโค้งตัวเป็นลอนสวย แต่ไม่อ่อนตัว เรียบลื่นเหมือนผ้าซาติน แต่เนื้อผ้ามีความหยาบแข็ง และหนากว่าผ้าม่านในรูปแบบอื่น 

4. ผ้ากำมะหยี่ ( Velvet )

จุดเด่นคือ ความหนานุ่ม เงางาม นิยมใช้เป็นผ้าม่านประดับเพื่อความหรูหรา มีคุณสมบัติในการซับเสียงได้เป็นอย่างดี จึงเหมาะสำหรับการติดตั้งในพื้นที่ที่มีการติดตั้งเครื่องเสียง หรือ โรงภาพยนตร์

5. ผ้าใยสังเคราะห์  (Polyester)

นับว่าเป็นผ้าสารพัดประโยชน์ที่นำมาใช้ทำผ้าม่านในปัจจุบัน มีความทนทานสูง อยู่ทรง จึงนิยมนำมาทำเป็นผ้าม่านอัดจีบถาวร ด้วยราคาที่ไม่แพง การออกแบบลวดลายทำได้หลากหลาย จึงได้รับความนิยมเลือกใช้ทำผ้าม่านอย่างมาก     

แม้ว่าในท้องตลาด จะมีผ้าอีกหลายรูปแบบที่ใช้ในการทำผ้าม่าน แต่โดยส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นเนื้อผ้าทั้ง 5 ชนิดนี้ ซึ่งแต่ละชนิดมีคุณสมบัติ ข้อดี ข้อเสียที่แตกต่างกันไป การพิจารณาถึงข้อดี ข้อเสียเหล่านี้ จะช่วยให้ท่านเลือกเนื้อผ้าม่านเพื่อการติดตั้งให้ได้ตามวัตถุประสงค์การใช้งาน

ประเภทผ้า

ข้อดี-ข้อเสีย ของผ้าทำผ้าม่านแต่ละประเภท

ด้วยคุณสมบัติอันโดดเด่นของ ผ้าทำผ้าม่าน คงทำให้หลายท่านตัดสินใจไม่ถูกว่าจะเลือกผ้าชนิดไหนในการทำผ้าม่านดี สิ่งที่จะช่วยท่านในการพิจารณาว่า ผ้าแบบไหน เหมาะสำหรับการทำผ้าม่านคือ ข้อมูลทั้งจุดดี และจุดด้อย ของเนื้อผ้าม่านที่ทำจากผ้าชนิดต่าง Baania ขอนำข้อมูลสำหรับการพิจารณาเนื้อผ้าม่านมานำเสนอ เพื่อการตัดสินใจเลือกผ้าเพื่อให้เป็นไปตามความต้องการ และเหมาะกับพื้นที่ใช้งานอย่างแท้จริง

1. ผ้าฝ้าย (COTTON)

  • ข้อดี ผ้าจากเส้นใยธรรมชาติ บางเบา จึงสะดวกในการติดตั้ง และทำความสะอาด โดยเฉพาะการซัก มีเนื้อผ้าหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบทึบ และแบบโปร่งแสง เหมาะสำหรับทำม่านบังแดด และกรองแสงในบริเวณบ้าน ด้วยคุณสมบัติในการระบายความร้อนได้เป็นอย่างดี
  • ข้อเสีย ตัวผ้าฝุ่นเกาะได้ง่าย ทำให้ผ้าหมองเร็ว ต้องถอดออกมาซักล้างบ่อยครั้ง ยิ่งถ้าเป็นผ้าฝ้ายแท้ 100% การซักจะหดตัวย้วย เสียรูปทรงไปบ้าง

 ผ้าฝ้าย

2. ผ้าซาติน (SATIN) 

  • ข้อดี ผ้าเนื้อหนา ทอแน่น ไม่ยับ ซักได้ง่าย คืนรูปโดยไม่ต้องรีด สะดวกในการทำความสะอาดด้วยการดูดฝุ่นโดยไม่ต้องถอดจากการติดตั้ง การทิ้งตัวเพื่อสร้างรูปทรงโชว์ความสวยงามของม่านทำได้ดี ด้วยความหนาสามารถบังแดดได้เยี่ยม ติดตั้งในห้องแอร์ก็สวยงาม
  • ข้อเสีย มีน้ำหนักมากพอสมควร อีกทั้งยังเป็นผ้ามัน การสะท้อนแสงมีมาก การติดตั้งในพื้นที่มีแดดจัด จะสะท้อนแสงทำให้แสบตาได้

 ผ้าซาติน

3. ผ้าลินิน (Linen)

  • ข้อดี ด้วยความหยาบแข็งของเนื้อผ้า ทำให้การขึ้นรูปทำได้ดี จึงนิยมทำเป็นผ้าม่านในรูปแบบมีจีบที่ชัดเจน การเก็บกักความชื้นต่ำ ระบายความชื้นได้ง่าย ผ้าจึงไม่เหม็นอับ อีกทั้งฝุ่นไม่ค่อยเกาะ การทำความสะอาดเพียงแค่ดูดฝุ่น หรือเช็ดถูทำได้ง่าย โรงแรมต่าง ๆ นิยมใช้ผ้าลินินในการทำผ้าม่านสำหรับห้องประชุม
  • ข้อเสีย การทำความสะอาด แม้นำไปซักได้ แต่การรีดให้คืนรูปนั้นทำได้ยาก ต้องใช้เวลานาน อีกทั้งมีราคาสูง ทั้งที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับผ้าฝ้าย หลายคนจึงเลือกใช้ผ้าฝ้ายมากกว่าผ้าลินิน

ผ้าลินิน

4. ผ้ากำมะหยี่ (Velvet)

  • ข้อดี ด้วยผิวสัมผัสที่เรียบลื่น มันเงา เป็นผ้าสำหรับทำผ้าม่านเพื่อการประดับตกแต่งโดยเฉพาะ แสดงถึงความหรูหรา มีระดับ เหมาะสำหรับการติดตั้งในห้องแอร์ ห้องอัดเสียง หรือ ห้องโฮมเธียร์เตอร์ที่ต้องการการดูดซับเสียงไม่ให้เล็ดลอดออกไปรบกวนเพื่อนบ้าน
  • ข้อเสีย กำมะหยี่ เมื่อฝุ่นจับแล้ว ทำความสะอาดได้ค่อนข้างยาก อีกทั้งไม่สามารถรีดได้ จะทำให้เสียรูปทรงไปทันที 

 ผ้ากำมะหยี่

5. ผ้าใยสังเคราะห์  (Polyester)

  • ข้อดี ด้วยรูปแบบที่หลากหลาย และมีราคาถูก จึงนิยมนำมาทำเป็นผ้าม่านในหลากหลายรูปแบบ อีกทั้งในปัจจุบัน มีผ้าม่านใยสังเคราะห์ ที่ทอผสมเข้ากับเส้นใยธรรมชาติเพื่อคุณสมบัติด้านความโปร่ง และระบายอากาศได้ดี ทำให้ผ้าใยสังเคราะห์ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
  • ข้อเสีย ผ้าใยสังเคราะห์ระบายความร้อนได้ไม่ดี การติดตั้งในพื้นที่ที่ต้องการอากาศถ่ายเท จะทำให้เกิดความร้อนขึ้นได้ อีกทั้ง ผ้าใยสังเคราะห์ มีความไวไฟสูง จึงทำการรีดไม่ได้ 

ผ้าใยสังเคราะห์

วิธีการดูแลรักษาผ้าม่าน

การเลือกติดตั้งผ้าม่านตามห้องต่าง ๆ โดยพิจารณาจากคุณสมบัติของเนื้อผ้าแต่ละประเภท จะช่วยลดขั้นตอนในการดูแลรักษาผ้าม่านได้เป็นอย่างดี การรู้จักเนื้อผ้าม่านแต่ละชนิด ช่วยให้เราเลือกวิธีการทำความสะอาดที่เหมาะสมได้ โดยปกติ การทำความสะอาดผ้าม่านจะใช้การดูดฝุ่นเป็นหลัก และป้องกันไม่ให้เกิดความอับชื้นบนผ้าม่าน เพราะจะทำให้เกิดเชื้อราขึ้นบนผ้าม่านได้ การนำผ้าม่านไปซัก สามารถทำได้ แต่ไม่ควรทำบ่อย เพราะทำให้ผ้าม่านเสียรูปทรง ดูไม่งดงาม

การดูแล

ผ้าม่าน อุปกรณ์ตกแต่งบ้านที่ทำจากผ้าหลากหลายชนิด ในการติดตั้งม่านทุกครั้ง ควรพิจารณา ผ้าทำผ้าม่าน ด้วย เพราะเนื้อผ้าแต่ละแบบ มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน การเลือกผ้าม่านตามเนื้อผ้าให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ นอกจากได้ม่านที่สวยงามแล้ว ม่านยังช่วยในการกรองแสง ลดอุณหภูมิ รวมไปถึงการกั้นเสียงรบกวนอีกด้วย เลือกผ้าม่านครั้งต่อไป ใช้ข้อมูลการเลือกเนื้อผ้าทำผ้าม่านจาก Baania จะช่วยให้การเลือกผ้าม่านของคุณได้ทั้งความงดงาม และฟังก์ชั่นการใช้งานที่เหมาะสม

ที่มาภาพประกอบ :

https://www.fincurtain.com

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร