Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

ขั้นตอนการสร้างบ้านไม้ ขั้นตอนไหนที่เจ้าของบ้านต้องระวัง

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

ขั้นตอนการสร้างบ้านไม้ มีหลายรูปแบบ  ไม่ว่าจะผ่านไปนานแค่ไหน ไม้ ก็ยังคงเป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมในการนำมาสร้าง หรือตกแต่งบ้านในปัจจุบัน เพราะนอกจากจะให้ความอบอุ่น และรู้สึกใกล้ชิดธรรมชาติแล้ว ยังกลายเป็นมนต์เสน่ห์ ดึงดูดให้ใครหลาย ๆ คนที่หลงรักความงดงามของงานไม้ ให้ใฝ่ฝันหา และสร้างบ้านไม้ด้วยแรงปรารถนานั่นเอง  

ขั้นตอนการสร้างบ้านไม้และประเภทของไม้ที่ใช้ในการสร้างบ้าน

เริ่มต้นกันที่ 7 ประเภทไม้ที่นิยมนำใช้มาสร้างบ้าน มาดูกันสิว่ามีไม้ประเภทใดบ้าง

  1. ไม้เนื้อแข็ง เป็นไม้ที่แข็งแรงมากที่สุด นิยมนำมาทำโครงสร้างบ้าน อาทิ เสา คาน เพดาน หรือปูพื้น เช่น ไม้เต็ง ไม้แดง ไม้รัง ไม้ตะเคียนทอง หรือไม้ตะแบก 
  2. ไม้เนื้อแข็งปานกลาง ให้โทนสีกลมกล่อม สีน้ำตาลอมแดง หรือแดงเข้ม นิยมนำมาตกแต่งภายใน เพราะจะทำให้บ้านดูอบอุ่น เช่น ไม้นนทรี ไม้กระบาก หรือไม้ชุมแพรก
  3. ไม้เนื้ออ่อน แข็งแรงน้อยกว่าไม้เนื้อแข็ง แต่ด้วยโทนสีเบาบาง และลวดลายเป็นธรรมชาติ เหมาะสำหรับตกแต่งทั้งภายใน และภายนอก เช่น ไม้สัก ไม้ยาง หรือไม้สน 
  4. ไม้ฝา เป็นวัสดุหลักที่ช่วยวางโครงสร้างบ้านแข็งแรง ทนทุกสภาพอากาศ ยิ่งโดนแสงยิ่งสวยงาม
  5. ไม้เทียม ไม้ที่คงคุณสมบัติทัดเทียมไม้ธรรมชาติ ราคาถูก ปลวกไม่กัดกิน นิยมตกแต่งผนัง พื้น หรือระแนงบ้าน 
  6. ไม้บาง เป็นไม้แผ่นบาง หนาไม่เกิน 3 มิลลิเมตร เหมาะกับตกแต่ง ผนัง วัสดุปูพื้น การตกแต่งเครื่องเรือน หรือเฟอร์นิเจอร์ 
  7. ไม้ซุง มองดูผิวเผินดูหยาบ และแข็งกระด้าง แต่สะท้อนถึงความเรียบง่าย แตกต่างจากไม้อื่น ๆ จึงเหมาะกับจัดเรียงเป็นผนัง ทำเฟอร์นิเจอร์ หรือเคาน์เตอร์ครัว

ไม้ทั้ง 7 ชนิด ล้วนนำมาใช้ทำเป็นโครงสร้าง หรือตกแต่งบ้านทั้งภายใน และภายนอก ดังนั้น ควรเลือกไม้ให้เหมาะสมกับลักษณะงาน

ประเภทของไม้การอาบน้ำยากันปลวก

3 ประเภท สารป้องกันเพื่อรักษาเนื้อไม้ ช่วยคุณกำจัดปลวก

1. ประเภทน้ำมัน 

  • น้ำมันดิน หรือน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้ว นำมาทารักษาเนื้อไม้ แต่คุณภาพไม่ดีนัก 
    โซลิกนัม น้ำยาที่มีทั้งแบบธรรมดา และผสมสีแล้ว อาทิ สีดำ หรือสีน้ำตาล โดยใช้ทาลงบนไม้คล้ายกับทาสีทั่วไป 

2. สารเคมีละลายในน้ำมัน

ได้แก่ สารเคมีในกลุ่มไพรีทรอยด์ และสารกันเชื้อรา เป็นสารเคมีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีประสิทธิภาพดี  

3. สารเคมีละลายในน้ำ

หาง่าย เหมาะกับการอาบน้ำยาไม้โตเร็วในชนบท 

  • จุนสี หรือที่รู้จักในชื่อ คอปเปอร์ซัลเฟต พิษต่อเชื้อราปานกลาง แต่กันมอด และปลวกไม่ได้
  • บอแรกซ์ หรือกรดบอริก พิษต่อเชื้อราปานกลาง กันมอดได้ แต่กันปลวกไม่ได้ 
  • ซีซีเอ เป็นสารที่ประกอบด้วย เกลือทองแดง โครเมียม และสารหนู จึงป้องกันเชื้อรา และแมลงทำลายได้ดี เวลาใช้ให้ผสมน้ำ 3 - 5 % 

ทั้ง 3 ประเภทน้ำยาป้องกันเนื้อไม้ จะมีประสิทธิภาพแตกต่างกันออกไป จึงควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับเนื้อไม้  

น้ำยากันปลวกขั้นตอนการสร้างบ้านไม้

5 ขั้นตอนการสร้างบ้านไม้แบบพื้นฐาน ที่คนสร้างบ้านควรรู้ 

  1. การตรวจสอบ และจัดเตรียม ตั้งแต่การตรวจสอบระดับดิน การวางแผนโครงสร้างบ้าน การเตรียมระบบน้ำ และไฟชั่วคราว และต้องถูกตามเทศบัญญัติ จึงควรมีการตรวจสอบ และจัดเตรียมเอกสารให้เรียบร้อย 
  2. ขั้นตอนการตอกเสาเข็ม ต้องมีผู้ควบคุม และผู้ตรวจสอบ ซึ่งจะใช้วิธีใดก็ขึ้นอยู่กับผู้รับเหมาที่ท่านได้พูดตกลงกันไว้ 
  3. งานโครงสร้างบ้าน ตั้งแต่การเทฐานราก การหล่อคอนกรีต เสา คาน หรือชั้นล่าง การติดตั้งท่อน้ำยากำจัดปลวก การเทพื้น ตลอดจนการติดตั้งโครงสร้างเหล็ก  
  4. งานสถาปัตยกรรม การติดตั้งแผ่นสะท้อนความร้อน การมุงหลังคา การวางแนวผนังห้องต่าง ๆ การติดตั้งวงกบ การฉาบปูน การปูพื้น การตกแต่งพื้นผิว และติดตั้งประตู หน้าต่าง
  5. งานระบบภายนอก และภายในทั้งหมด การเดินสาย และติดตั้งระบบไฟฟ้า ระบบประปา ระบบสุขาภิบาล หรือระบบการติดต่อสื่อสาร 

จากนั้นก็ทำความสะอาด และตรวจสอบงานต่าง ๆ ให้เรียบร้อย ก่อนเซ็นรับงาน ซึ่งทุกขั้นตอนที่กล่าวมาเป็นเพียงเนื้อหาคร่าว ๆ ที่จะช่วยให้ท่านมองเห็นภาพ ตั้งแต่ต้นจนสิ้นสุดโครงการก่อสร้างนั่นเอง 

ขั้นตอนการสร้าง

การดูแลรักษาบ้านไม้

ทิ้งท้ายกันที่ การดูแลรักษาบ้านไม้ เพื่อไม่ให้ไม้เสื่อมสภาพก่อนถึงเวลาอันควร มาดูกันสิว่ามีอะไรบ้าง 

  • ประตู และหน้าต่าง เป็นบริเวณที่มีการใช้งานบ่อย เกิดการชำรุดและเสียหายได้ง่าย จึงควรหมั่นดูแล และตรวจสอบเป็นประจำ รวมถึงหากโดนฝน หรือรับความชื้น ส่งผลให้ไม้บวม ให้ทำการขัด หรือเลื่อยส่วนที่บวมออก แล้วทาสีย้อมไม้ทับอีกครั้งหนึ่ง 
  • เฟอร์นิเจอร์ไม้ ต้องไม่ให้โดนแดด โดนลม หรือฝน เพราะจะทำให้สีซีด และผุพังได้ง่าย ควรเลือกใช้น้ำยาเคลือบผิวไม้ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำซึมเข้าเนื้อไม้ 
  • ตรวจสอบเนื้อไม้ ควรตรวจสอบเนื้อไม้ทุก ๆ 4 เดือน หากมีปลวกกัดกิน จะสามารถเร่งแก้ปัญหาได้ทัน 
  • รักษาระเบียงบ้าน เพราะบริเวณดังกล่าว เป็นบริเวณที่ได้รับการปะทะทั้งแสงแดด ลม และฝนเป็นประจำ จึงควรเลือกทาสีน้ำมัน หรือสีพลาสติก ช่วยดูแลเนื้อไม้ ให้สีเหมือนใหม่ 
    พื้น และผนังบ้าน ไม้บางชนิดไม่ทนต่อรอยขีดข่วน ส่งผลให้บ้านเป็นรอย ควรหมั่นดูแล หรือหากมีการเคลื่อนย้ายโต๊ะ หรือสิ่งของต่าง ๆ ควรมีการรองด้วยยางก่อนเคลื่อนย้าย เพื่อช่วยป้องกันการเกิดรอย

การดูแลรักษา

เห็นไหมว่า ขั้นตอนการสร้างบ้านไม้ ไม่ได้ซับซ้อนอย่างที่หลายท่านคิด แค่เข้าใจข้อมูลพื้นฐาน ตั้งแต่ ประเภทไม้ การอาบน้ำยาปลวก ขั้นตอนการสร้างบ้านไม้ และการดูแลรักษา เพียงเท่านี้ ท่านก็จะเข้าใจกระบวนการก่อสร้างบ้านทั้งหมด โดยนำไปพิจารณา และปรับใช้ให้เหมาะสมกับแผนการสร้างบ้านของท่าน เพื่อให้ตรงใจมากยิ่งขึ้น 

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร