Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

แอร์เป็นน้ำแข็ง แก้ด้วยตัวเองอย่างไร

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

แอร์เป็นน้ำแข็ง ปัญหาใหญ่และสำคัญของหลายบ้าน ด้วยอากาศที่ร้อนอบอ้าวในแต่ละวัน แอร์จึงเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งในการช่วยเพิ่มความเย็น และคลายความร้อน ปัญหาแอร์เป็นน้ำแข็ง เป็นสิ่งที่หนักอกหนักใจอย่างมาก เพราะถ้าไม่ได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที จะเกิดปัญหาหลายอย่างตามมาได้ วันนี้ Baania จึงขอนำเสนอสาเหตุและวิธีการแก้ไขง่ายๆ ด้วยตนเองมาฝากกัน เพื่อให้ทุกท่านสามารถนำไปตรวจเช็คแอร์ที่บ้านว่ามีปัญหาเหล่านี้หรือไม่

สาเหตุที่แอร์เป็นน้ำแข็ง

แอร์เป็นน้ำแข็ง สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การที่แอร์เป็นน้ำแข็ง ไม่ได้แปลว่ายิ่งให้ความเย็นได้ดี แต่ในทางตรงกันข้าม แอร์เป็นน้ำแข็ง จะทำให้แอร์เกิดปัญหาขัดข้อง ไม่สามารถระบายความเย็นออกมาได้ จนเกิดความเสียหาย หรือชำรุด สาเหตุต่างๆ ที่ทำให้แอร์เป็นน้ำแข็ง ดังนี้

1. ใช้งานหนัก

หากมีการใช้งานแอร์หนัก หรือมากเกินไป ขาดการดูแล เช่น ไม่ได้รับการล้างแอร์ ทำความสะอาด หรือการตรวจเช็คในส่วนต่างๆ ก็จะทำให้แอร์เป็นน้ำแข็งได้

2. เกิดความขัดข้อง

หากชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ส่วนใดของแอร์เกิดความขัดข้อง จะทำให้แอร์เป็นน้ำแข็งได้ เช่น แผงกรองอากาศเกิดการอุดตัน หรือแผงคอยล์สกปรก จึงไม่สามารถสร้างความเย็น จนแอร์เป็นน้ำแข็ง หรือเทอร์โมนิเตอร์ไม่ยอมตัด ทำให้คอมเพรสเซอร์แอร์ทำงานตลอดเวลา

3. แผงคอยล์เย็นและตัน

เมื่อไม่ได้มีการล้างแอร์ ทำให้แผงคอยล์มีคราบสกปรก ในขณะที่แผงคอยล์เย็นมากๆ จนไม่สามารถระบายลมออกมาได้สะดวก เพราะช่องแผงอุดตัน จึงทำให้แผงคอยล์เป็นน้ำแข็ง

4.  น้ำยาแอร์รั่ว

หากแอร์ของท่านมีน้ำยาแอร์รั่วซึมออกมา จะทำให้น้ำยาในระบบเหลือในปริมาณที่น้อยลง จนเกิดน้ำแข็งเกาะ

5. มอเตอร์พัดลมคอยล์เย็นหมุนช้า

เมื่อมอเตอร์พัดลมคอยล์เย็นหมุนช้าลง หรือไม่ยอมหมุนจะทำให้แอร์มีน้ำแข็งเกาะอยู่ เพราะระบบไม่ยอมระบายอากาศเย็นออกไป

สาเหตุที่แอร์เป็นน้ำแข็ง

การแก้ปัญหาแอร์เป็นน้ำแข็งด้วยตัวเอง

หากท่านกำลังพบกับปัญหาดังกล่าว สามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตัวเอง คือการล้างแอร์ ทำความสะอาดส่วนต่างๆ และการตรวจเช็คจุดรั่วซึม ดังนี้

1. ล้างแอร์

ทำการล้างแอร์ได้ง่าย ๆ สามารถทำได้ด้วยตนเองโดยการนำแผงคอยล์ และถอดแผ่นกรองอากาศออกมาล้างทำความสะอาด วิธีการล้างง่าย ๆ ด้วยตนเองมีดังนี้

  • เตรียมอุปกรณ์สำหรับล้างแอร์ให้ครบ ได้แก่ สายยางหัวฉีด ผ้ายางขนาดยาว ถังน้ำสำหรับรองน้ำ เทปกาวเอาไว้สำหรับติดผ้ายางและตัวแอร์ บันได้หรือเก้าอี้สูงที่สามารถปีนล้างแอร์ได้ น้ำยางล้างจาน ฟองน้ำ ผ้าขนหนู และไขควง
  • เปิดฝาหน้าเพื่อถอดฟิลเตอร์ออก อย่าลืมปิดสวิตซ์ให้เรียบร้อย ทำการไขน็อตบริเวณด้านล่างใกล้บานสวิง และตามจุดต่างๆ  แล้วทำการถอดฝาครอบแอร์ออกอย่างระมัดรังวัง
  • ต่อมาให้ถอดบานสวิงออก เริ่มถอดจากตรงกลาง เมื่อถอดเสร็จ หาถุงใหญ่ๆ มาคลุมชุดแผงวงจรไว้ไม่ให้โดนน้ำ 
  • เตรียมเทปกาว ผ้ายางติดด้านข้างของแอร์ทั้งด้านซ้ายและขวา พยายามทำคล้ายรางน้ำ แล้ววางปลายผ้ายางไว้ที่ถังน้ำ เพื่อให้น้ำที่ล้างไหลลงในถัง
  • เริ่มขั้นตอนการล้าง โดยฉีดน้ำตามแนวท่อแอร์ ค่อยๆ ฉีดไล่น้ำ เพื่อไม่ให้น้ำกระเด็นไปโดยตัววงจรแอร์ เมื่อฉีดจนคราบสกปรกต่างๆ หลุดออกมา ก็ใช้น้ำยาล้างจานหรือน้ำยาล้างแอร์ ล้างทำความสะอาดอีกรอบ โดยเช็ดออกด้วยฟองน้ำที่เตรียม
  • หลังจากนั้น ทำความสะอาดคอมเพรสเซอร์แอร์ด้านนอก หรือคอยล์ร้อน เริ่มไขน็อตตามจุดต่างๆ ทั้งบนฝาซ้าย-ขวา ยกฝาขึ้น แล้วฉีดน้ำเข้าไปทำความสะอาด ใช้ถุงยางหรือถุงดำมาคลุมตัวระบบเครื่องให้มิดชิด เมื่อฉีดเสร็จจนสะอาด ให้นำถุงดำออก
  • เมื่อทำความสะอาดเรียบร้อย ใช้ผ้าแห้งเช็ด หรือใช้ที่เป่าลมเพื่อให้แห้งเร็ว หลังจากนั้นอาจจะทิ้งไว้สักครู่ แล้วประกอบแอร์กลับเข้าไปเหมือนเดิม แล้วรอเปิดแอร์ทิ้งไว้สักพัก 

        การล้างแอร์ด้วยตนเอง ท่านต้องรู้จักส่วนประกอบและโครงสร้างของแอร์ สามารถแกะและประกอบแอร์กับเข้าไปเหมือนเดิมได้ หากยังไม่เคยล้างควรมีการศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด

2. เช็คจุดรั่ว

       ท่านสามารถเช็คจุดรั่วของน้ำยาแอร์ ได้ด้วยตัวเอง ดังนี้

  • เช็คด้วยการสังเกตว่ามีคราบน้ำมันหยดหรือไม่ เพราะหากน้ำยาแอร์รั่ว จะเกิดคราบตรงจุดรั่ว เช่น จุดเชื่อมท่อต่อ จุดช่วงท่อต่อเชื่อมกับตัวแอร์ หากพบจุดรั่ว ต้องรีบแก้ไขทันที
  • เช็คด้วยฟองสบู่ ใช้แปรงทาสีหรือแปรงฟันจุ่มฟองสบู่หรือน้ำยาล้างจาน ทาลงบนท่อของน้ำยาแอร์ หากแอร์มีจุดรั่วจะมีฟองอากาศเกิดขึ้นมา ซึ่งเป็นสัญญาณว่าแอร์มีจุดรั่ว ต้องรีบแก้ไขทันที
  • เช็คด้วยเสียง ฟังเสียงลมที่ท่อแอร์ หากมีจุดรั่วจะได้ยินเสียงลมในบริเวณนั้น

แก้ปัญหาแอร์เป็นน้ำแข็ง

ปัญหาที่เกิดจากแอร์เป็นน้ำแข็ง

1. แอร์เสีย

การแอร์เป็นน้ำแข็ง และไม่มีการแก้ไข จะทำให้แอร์เสีย หรือเกิดความเสียหายของระบบตามจุดต่างๆ เพราะการที่แอร์เป็นน้ำแข็ง จะทำให้แอร์เกิดปัญหาขัดข้อง ไม่สามารถระบายความเย็นออกมาได้ จนเกิดความเสียหาย หรือชำรุด

2. แอร์ไม่เย็น

แอร์ไม่เย็นเพราะแอร์มีการอุดตันอยู่ภายในจึงไม่มีการระบายอากาศ หรือความเย็นออกมา ทำให้เกิดปัญหาแอร์เย็นช้ากว่าปกติ หรือไม่เย็นเลย

3. ค่าไฟเพิ่มขึ้น

หากแอร์ของท่านมีการอุดตันจากคราบสกปรก จนทำให้แอร์เกิดน้ำแข็งเพราะไม่สามารถระบายอากาศออกมาได้ แต่ยังมีการทำงานของระบบ และหากไม่ได้มีการแก้ไขจะยิ่งทำให้ใช้ไฟมากขึ้นกว่าเดิม เกิดปัญหาค่าไฟที่เพิ่มขึ้นตามมา

4. เกิดไฟฟ้าลัดวงจร  

หากแอร์เป็นน้ำแข็ง จนเกิดการรั่วซึมของน้ำ อาจจะทำให้เกิดปัญหาไฟฟ้าลัดวงจรได้ ถ้าน้ำที่ไหลออกมาไปโดนระบบวงจรไฟฟ้าอื่นๆ ภายในบ้าน จะทำให้บ้านเกิดไฟฟ้าลัดวงจร หรือไฟไหม้บ้าน ปัญหาแอร์เป็นน้ำแข็งจึงไม่ใช่ปัญหาเล็กๆ  ดังนั้นอย่างลืมเช็คแอร์ที่บ้านอย่างละเอียด เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาอื่นตามมา         

ปัญหาที่เกิดจากแอร์เป็นน้ำแข็ง

แอร์เป็นน้ำแข็ง สามารถแก้ได้ด้วยตัวเอง เพียงแต่ต้องมีการแก้ไขให้ถูกต้อง ต้องรู้สาเหตุที่เกิด ไม่ว่าจะเกิดจากการใช้งานที่หนักเกินไป ระบบการทำงานของแอร์เกิดความขัดข้อง ถึงแม้ว่าแอร์จะมีประโยชน์มากมาย แต่ก็มักจะมีปัญหาเล็กๆ น้อยๆ ตามมาหลังการใช้งานเป็นเรื่องปกติ การหมั่นตรวจเช็คจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อป้องกันก่อนเกิดปัญหา          

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร