Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

รัฐเร่งเนรมิต อีอีซี หวังดึงนักลงทุนต่างชาติ

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

อย่างที่เราทราบกันเรื่องของสงครามการค้าระหว่าง อเมริกา-จีน ที่ยังคงทวีความเข้มข้นขึ้นทุกวัน ทำให้หลายๆชาติหวั่นวิตกเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกที่จะได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่าง อเมริกาและจีน

ในส่วนของภาคเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันรัฐบาลได้ปรับกลยุทธ์โดยใช้สถานการณ์สงครามการค้าระหว่าง อเมริกา-จีน เปิดโอกาสและสร้างอีอีซีเป็นแม่เหล็กดึงดูดนักลงทุน

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้วิเคราะห์ผลกระทบของสงครามการค้าว่า จะทำให้ภูมิภาคอาเซียนได้รับอานิสงส์จากการเคลื่อนย้ายการลงทุน โดยเฉพาะนักลงทุนจากจีนที่จะเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้น เพื่อกระจายความเสี่ยงในประเทศตัวเองและหลีกเลี่ยงมาตรการทางภาษีของสหรัฐฯ ซึ่งมีแนวโน้มจะเพิ่มความรุนแรงและทำให้ไม่สามารถส่งออกสินค้าเข้าสหรัฐฯได้ ล่าสุดพบว่าตัวเลขการลงทุนโดยตรง(เอฟดีไอ) 9 เดือน (มกราคม – กันยายน 2561) จากจีนและฮ่องกงในไทย มีมูลค่ารวม 31,700 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 85 และมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 23ของเอฟดีไอทั้งหมด จากเดิมอยู่ที่ระดับร้อยละ 10

โดยทิศทางการลงทุนของไทยในปี 2562 ยังคงมีเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เป็นแม่เหล็กดึงดูดนักลงทุนจากหลายประเทศรวมถึงนักลงทุนจากจีน กลยุทธ์ที่บีโอไอนำมาใช้ในปีหน้าจะไม่ใช่เพียงการประชาสัมพันธ์ว่า อีอีซี เป็นแหล่งรองรับการลงทุนแต่จะลงลึกในรายละเอียดเกี่ยวกับความคืบหน้าของอีอีซีทุกด้าน ตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐาน โครงสร้างที่จะรองรับการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น อีอีซีไอ และดิจิทัลพาร์คตลอดจนความพร้อมด้านบุคลากรที่จะมารองรับการลงทุนในทุกอุตสาหกรรมโดยอุตสาหกรรมที่บีโอไอให้ความสำคัญเป็นพิเศษจะอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่เรียกว่าเป็นอุตสาหกรรม New S-Curve ได้แก่
1.กลุ่มเทคโนโลยีชีวภาพ
2.กลุ่มดิจิทัล
3.กลุ่มหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
4.กลุ่มอากาศยานและชิ้นส่วน
5.กลุ่มอุตสาหกรรมการแพทย์

“ทั้ง 5 อุตสาหกรรมนี้ บีโอไอไม่ต้องการให้เกิดการลงทุนเพียงแค่ในเชิงปริมาณเท่านั้น  แต่จะพิจารณาถึงประโยชน์ที่เกี่ยวเนื่องกับการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมโดยรวมด้วย ที่สำคัญบีโอไอต้องทำงานหนักขึ้น โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานอยู่ในประเทศเป้าหมายหลัก  เช่น ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน รวมไปถึงยุโรป และอเมริกา  โดยต้องพยายามสร้างเครือข่ายความร่วมมือใหม่ๆ กับองค์กร สถาบัน หรือสมาคมหลักของอุตสาหกรรมเป้าหมายที่อยู่ในต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นกุญแจสำคัญของการดึงการลงทุนที่มีคุณภาพมาสู่ประเทศไทย” นายนฤตม์ กล่าว

ด้านการพัฒนางานคมนาคมในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ได้มีความคืบหน้าอย่างมาก ล่าสุด นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคมได้สั่งระดมทุนทีเอฟเอฟปั้นท่าเรืออีอีซี-ทางด่วน คลองเตย มูลค่ากว่า 1.5 แสนล้านบาท เนรมิตท่าเรือโลก-เชื่อมต่ออีอีซี เพื่อลดภาระเพดานหนี้สาธารณะพร้อมไปกับการเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วม ทั้งยังลงตรวจงานก่อสร้างถนนสายแยกทางหลวง หมายเลข 7 - ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะทางรวม 10.57 กิโลเมตร เพื่อช่วยระบายรถบรรทุกจากทางหลวงหมายเลข 7 ที่เดินทางเข้าท่าเรือแหลมฉบัง และรองรับโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 สนับสนุนโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) รวมถึงพัฒนาระบบเชื่อมโยงโครงข่ายกับสถานีรถไฟความเร็วสูง นอกจากนี้ กรมทางหลวงชนบทมีแผนการสำรวจและออกแบบทางเชื่อมต่อทางหลวงหมายเลข 331 ซี่งจะทำให้แนวสายทางเชื่อมต่อกับสายทางที่กำลังดำเนินการ ช่วยให้การเดินทางต่อเนื่องเพิ่มความสะดวกและประสิทธิภาพของสายทางให้เกิดการใช้ประโยชน์ได้สูงสุด

Baania มี Line แล้วนะ
ติดตามเรื่องราวอสังหาริมทรัพย์แบบอินเทรนด์ ได้ทุกวันผ่าน Line ID @baania

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร