Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

ขั้นตอนการย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

การย้ายทะเบียนบ้านปลายทางนั้นเป็นอีกหนึ่งวิธีการที่เพิ่มความสะดวกให้แก่การแจ้งย้ายเข้า – ออก สำหรับผู้ที่ต้องการย้ายทะเบียนบ้านนั่นเอง ซึ่งการย้ายทะเบียนบ้านนั้นส่วนมากจะเกิดขึ้นในกรณีที่ต้องการย้ายเพื่อเข้าไปเป็นเจ้าบ้านในบ้านหลังใหม่ หรือย้ายเพื่อวัตถุประสงค์ในด้านอื่นๆ ซึ่งก็มีความต้องการที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ในบทความนี้จะมาทำความเข้าใจ 5 ข้อควรรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางที่ถูกต้องนั่นเอง

1. ทำไมต้องย้ายทะเบียนบ้าน

ตามกฎหมายนั้นทุกคนต้องมีทะเบียนบ้านเป็นหลักแหล่ง นั่นหมายความว่าทุกคนต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านไม่ว่าจะเป็นในฐานะเจ้าบ้าน หรือเป็นผู้อาศัยก็ตาม แต่ในบางครั้งก็มีความจำเป็นที่จะต้องย้ายทะเบียนบ้านออกจากทะเบียนบ้านเดิม เพื่อเข้าไปอยู่ในทะเบียนบ้านใหม่ด้วยเหตุผลต่างๆ ของแต่ละคน

ในสมัยก่อนการขอย้ายทะเบียนบ้านนั้นต้องไปทำเรื่องถึงสองครั้ง ครั้งแรกคือการแจ้งย้ายออกจากทะเบียนบ้านเดิมโดยไปทำเรื่องในท้องที่ซึ่งเป็นเขตของทะเบียนบ้านเดิม จากนั้นก็ไปแจ้งย้ายเข้าทะเบียนบ้านใหม่ในเขตที่ทะเบียนบ้านใหม่อยู่ การที่ต้องไปติดต่อราชการถึงสองครั้งถูกมองว่าเป็นการทำงานที่มีขั้นตอนมากเกินไป จึงเป็นที่มาของการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางนั่นเอง

ทำไมต้องย้ายทะเบียนบ้าน2. การย้ายทะเบียนบ้านปลายทางคืออะไร

การย้ายทะเบียนบ้านปลายทางนั้นหมายถึงผู้ที่ต้องการย้ายทะเบียนบ้านสามารถไปแจ้งการย้ายเข้าทะเบียนบ้านกับนายทะเบียนที่สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอที่ต้องการย้ายทะเบียนบ้านไปอยู่ได้เลย โดยไม่ต้องมาทำเรื่องขอย้ายออก และทำเรื่องขอย้ายเข้าถึง 2 ครั้งเหมือนสมัยก่อน ทำให้การย้ายทะเบียนบ้านได้รับความสะดวกมากยิ่งขึ้น

การย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง3. เอกสารที่ต้องใช้ในการย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง

การย้ายทะเบียนบ้านปลายทางนั้นก็ใช้เออกสารต่างๆ ที่คล้ายกับการย้ายเข้าทะเบียนบ้านอื่นนั่นเอง ซึ่งเอกสารที่จำเป็นต้องเตรียมไปให้นายทะเบียนสำหรับการทะเบียนบ้านปลายทางได้แก่

  • สำเนาทะเบียนบ้านของบ้านที่จะย้ายเข้า โดยสำเนาทะเบียนบ้านนั้นต้องเป็นฉบับเจ้าบ้าน
  • บัตรประขาชนของผู้แจ้งย้าย ในกรณีนี้ถ้าไม่มีสามารถแสดงบัตรประชาชนได้ สามารถใช้บัตรประจำตัวอื่นๆ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้แทนได้ ไม่ว่าจะเป็นใบขับขี่ หรือหนังสือเดินทาง
  • เอกสารของเจ้าบ้าน เอกสารของเจ้าบ้านที่ใช้ในการแจ้งย้ายทะเบียนบ้านปลายทางนั้นประกอบด้วย บัตรประชาชนของเจ้าบ้านที่จะมีการย้ายเข้ามาอยู่ใหม่ รวมไปถึงหนังสือยินยอมให้เข้ามาอยู่ในบ้านของเจ้าบ้าน
  • หนังสือมอบอำนาจ ในกรณีที่เจ้าบ้านไม่สามารถมาแจ้งย้ายได้ด้วยตัวเอง ให้เจ้าบ้านสามารถมอบอำนาจให้ผู้หนึ่งผู้ใดมาดำเนินการแทนได้ โดยหนังสือมอบอำนาจนั้นต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนของทั้งผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ รวมไปถึงหนังสือมอบอำนาจที่มีการลงลายมือชื่ออย่างสมบูรณ์ด้วย

เอกสารที่ต้องใช้4. ขั้นตอนการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางต้องทำอย่างไรบ้าง

เมื่อได้มีการเตรียมเอกสารต่างๆ เรียบร้อยแล้วทั้งในส่วนของผู้ที่ต้องการย้ายเข้า และในส่วนของเจ้าบ้าน ขั้นตอนต่างๆ ที่ต้องดำเนินการมีดังต่อไปนี้

  • ยื่นหลักฐาน การยื่นหลักฐานต่างๆ ของการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางนั้นต้องยื่นให้แก่นายทะเบียนท้องที่ซึ่งต้องการย้ายเข้า โดยยื่นได้ที่สำนักงานเขต ที่ว่าการอำเภอ หรือที่ทำการเทศบาล ตามแต่รูปแบบการปกครองของท้องที่นั้นๆ
  • ตรวจหลักฐาน เมื่อยื่นเอกสารต่างๆ แล้ว จะเป็นขั้นตอนที่นายทะเบียนจะทำการตรวจหลักฐานและลงรายการในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ โดยผู้แจ้งจะต้องลงลายมือชื่อในช่องย้ายออก ช่องย้ายเข้า รวมไปถึงช่องเจ้าบ้านผู้ยินยอมให้ย้ายเข้า สำหรับขั้นตอนการลงลายมือชื่อนั้นต้องเขียนชื่อ – สกุลด้วยตัวบรรจง
  • เพิ่มชื่อเข้าทะเบียนบ้าน เมื่อขั้นตอนต่างๆ ได้ผ่านไปเป็นที่เรียบร้อย ทางนายทะเบียนจะได้รับใบตอบรับจากท้องที่ต้นทาง คือท้องที่ซึ่งมีการย้ายออกนั่นเอง เมื่อได้ใบตอบรับเรียบร้อยก็จะนำทะเบียนบ้านมาเพิ่มชื่อให้ถูกต้องลงในทะเบียนบ้านให้ถูกต้อง พร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียม 20 บาทต่อการยื่นเรื่อง 1 ครั้ง

การย้ายทะเบียนบ้านปลายทางนั้นสามารถแจ้งย้ายได้ครั้งละไม่เกิน 3 คน และผู้แจ้งย้ายต้องมาทำเรื่องขอย้ายด้วยตนเอง เนื่องจากนายทะเบียนจะมีการซักถามถึงสาเหตุที่ต้องการย้ายทะเบียนบ้านกับผู้แจ้งย้ายด้วย

ขั้นตอน5. การย้ายทะเบียนบ้านปลายทางที่ไม่มีเจ้าบ้านต้องทำอย่างไร

ในกรณีที่ทะเบียนบ้านที่ต้องการย้ายไปนั้นไม่มีเจ้าบ้าน ซึ่งอาจจะมีได้หลายกรณีทั้งการย้ายเข้าไปในฐานะผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์ ซึ่งในกรณีนี้จะเป็นการย้ายเข้าไปในบ้านใหม่ หรือการย้ายเข้าไปในฐานะที่ไม่ใช่ผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์ ซึ่งการดำเนินการต่างๆ จะมีขั้นตอน และเอกสารที่คล้ายกับการย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง แต่มีความแตกต่างในเรื่องของเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ของบ้าน

  • การย้ายทะเบียนบ้านโดยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ การย้ายทะเบียนบ้านในรูปแบบนี้จะเป็นการย้ายเข้าไปในทะเบียนบ้านหลักใหม่ที่เพิ่งก่อสร้างเสร็จโดยที่ยังไม่มีเจ้าบ้าน และผู้แจ้งย้ายเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้าน และที่ดินอย่างถูกต้อง 
    เอกสารเพิ่มเติมที่จำเป็นต้องใช้นอกเหนือจากเอกสารแจ้งย้ายได้แก่ เอกสารครอบครองกรรมสิทธิ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสัญญาซื้อขาย โฉนดที่ดิน ซึ่งควรนำเอกสารตัวจริงไปด้วยทุกครั้ง
  • การย้ายทะเบียนบ้านโดยไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ การย้ายทะเบียนบ้านปลายทางโดยที่ไม่มีเจ้าบ้านในลักษณะนี้สามารถทำได้เหมือนการย้ายทะเบียนบ้านทั่วไป เพียงแต่ผู้ที่ย้ายเข้านั้นจะเป็นเพียงผู้อาศัย และไม่มีกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายในที่ดิน และตัวบ้าน 
    เอกสารต่างๆ ที่เพิ่มเติมมาจากการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางตามปกติได้แก่ บัตรประชาชนตัวจริง พร้อมสำเนาของเจ้าของกรรมสิทธิ์ เอกสารการครอบครองสิทธิ์ต่างๆ ทั้งตัวจริง และสำเนา ไม่ว่าจะเป็นสัญญาซื้อขาย โฉนดที่ดิน ซึ่งมีชื่อของเจ้าของกรรมสิทธิ์

ไม่มีเจ้าบ้านจากบทความนี้จะเห็นได้ว่าการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางนั้นไม่ได้เป็นเรื่องที่ยุ่งยากอย่างที่หลายคนคิด การย้ายทะเบียนบ้านปลายทางนั้นเพียงแค่ต้องเตรียมเอกสารให้เรียบร้อย โดยเฉพาะในกรณีที่เจ้าบ้าน หรือเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่ได้มาด้วยต้องมีหนังสือรับรองให้ย้ายเข้า พร้อมหนังสือมอบอำนาจมาด้วยทุกครั้ง เพียงเท่านี้การย้ายทะเบียนบ้านปลายทางก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป 

ที่มาภาพประกอบ :

http://donkaewlocal.go.th

https://www.thaicream.com

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร