Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

ชัยวัฒน์ ทองคำคูณ เผยเตรียมผุดรถไฟฟ้าแก้ปัญหาจราจรเชียงใหม่

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

การคมนาคนขนส่ง ถือเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเมือง เพื่อให้เกิดความสะดวกสบาย และยังมีส่วนช่วยให้ความเจริญเข้ามาในพื้นที่ เชียงใหม่ในฐานะเมืองอันดับ 2 ของประเทศ และยังเป็นหัวเมืองหลักในพื้นที่ภาคเหนือ

นับเป็นช่วงเวลาที่น่ายินดีหลังจากหลายฝ่ายพยายามผลักดันให้เกิดระบบขนส่งมวลชน ขึ้นในพื้นที่เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงในอนาคตและขณะเดียวกันต้องไม่ทำให้สภาพของเมือง เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เพราะเชียงใหม่กำลังจะขอเป็นเมืองมรดกโลกถือเป็นโจทย์ของภาครัฐ โดยเฉพาะกระทรวงคมนาคมที่เป็นเจ้าภาพในการดูและเรื่องดังกล่าว 

ทีมงานได้มีโอกาสพูดคุยกับ นายชัยวัฒน์  ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม ถือแนวทางการดำเนินการระบบขนส่งมวลชนของจังหวัดเชียงใหม่ที่กำลังจะเริ่มดำเนินการให้เป็นรูปเป็นร่างในช่วงเวลาอีกไม่กี่ปีจากนี้ไป เกี่ยวเนื่องกันจากภาพใหญ่ของประเทศ อาทิ ยุทธศาสตร์แผนการพัฒนาคมนาคมของชาติ, ปัญหาระบบคมนาคมในภูมิภาค  จนถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชาวเชียงใหม่อย่างระบบขนส่งสาธารณะและสิ่งที่จะเกิดขึ้นในเชียงใหม่

ยุทธศาสตร์แผนการพัฒนาคมนาคมของชาติของประเทศไทย

ระยะเวลา 10 - 20ปีที่ผ่านมาระบบบคมนาคมประเทศไทยมีปัญหา ไม่สามารถแก้ไขได้เพราะการดำเนินการไม่ถูกวิธีจึงมองหาวิธีแก้ปัญหาของต่างประเทศว่าทำอย่างไร นอกจากนั้นสิ่งสำคัญโครงการของคมนาคมเป็นโครงการขนาดใหญ่ ใช้เงินระดับหมื่น-แสนล้าน แต่วงเงินหน่วยงานที่ต้องดูแล 21แห่งใช้งบประมาณปีละ 7-8แสนล้านบาท ไปในทุกส่วนทั้งถนน เรือ ท่าเรือ สนามบิน แม้แต่ซื้อเครื่องบินของการบินไทยด้วย รถไฟ้า รถไฟความเร็วสูง รถไฟรางคู่ ทั้งหมดเป็นการใช้เงินจำนวนมหาศาล

กระทรวงคมนาคมจึงทำงานที่สำคัญ เรื่องโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมมีความจำเป็น เพราะเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่สุดที่ใช้ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ รองรับในภาคสังคม ความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง เพื่อจะนำไปพัฒนาประเทศหลายเรื่อง อาทิ

การเกษตร สาธารณสุข การศึกษา ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของคนไทย และหนึ่งในนี้จะมีเรื่องคมนาคมด้วย ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี จะมีเรื่อง 6 เรื่องที่สำคัญ ความมั่นคง สร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาและเสริมสร้างทรัพยากรมนุษย์ การสร้างโอกาสและความเสมอภาค  การสร้างการเติบโตคุณภาพชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ปรับสมดุลและพัฒนาระบบราชการ

โดยกระทรวงคมนาคมได้ทำแผนขึ้นมาแผนหนึ่งคือ แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม8 ปี มาจากการที่ปี 2558 รัฐบาลเริ่มเข้ามาบริหารประเทศ ในแผน 8ปี มีโครงการทั้งหมด 111 โครงการ เป็นโครงการที่ใหญ่ทั้งสิ้น เช่น โครงการรถไฟฟ้า รถไฟฟ้าในส่วนภูมิภาค รถไฟฟ้าความเร็วสูง รถไฟฟ้ารางคู่ สนามบิน ท่าเรือ การซื้อเครื่องบิน เป็นต้น และแต่ละโครงการใช้เงินจำนวนมาก จึงไม่สามารถหาเงินมาดำเนินการได้ทั้งหมด เพราะฉะนั้นต้องจัดอันดับ 111โครงการ โครงการไหนสำคัญที่สุดต้องเร่งทำก่อน  และก็กระจายกันไปจนถึง ปี 2565 ทั้ง111โครงการต้องเสร็จ

ปัจจุบันดำเนินโครงการอยู่เข้าสู่ปีที่ 5  กำลังเขียนโครงการปี 2562  ว่าจะทำอะไรบ้าง เพื่อให้เห็นความต่อเนื่องในการลงทุนใน 8 ปี ทั้งที่ผ่านมาแล้ว 4 ปี และอีก 4ปีที่เดินหน้าต่อไปนั้นประเทศไทยลงทุนอะไรไปบ้าง ทั้งทางด้านถนน ทางน้ำ ทางอากาศ ในแนวคิดของการพัฒนาคมนาคมสมัยใหม่ในระยะยาว 20 ปี

มีกรอบแนวคิดอยู่ด้วยกัน 4เรื่อง คือระบบคมนาคมแบบกรีนเซท เช่น การทำถนนไม่ใช่แค่เสร็จ แต่ทำถนนเพื่อให้คนใช้รู้สึกปลอดภัย การที่จะใช่รถดีเซลเป็นรถไฟฟ้า หาระบบคมนาคมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, อินครูซีฟทรานสปอร์ท สังคมไทยเริ่มเป็นสังคมผู้สูงอายุ จึงคิดรูปแบบคมนาคมหลายรูปแบบขึ้นมา เพื่อทำให้ทุกกลุ่ม เช่น เด็ก คนชรา ผู้พิการ ต้องสามารถเข้าระบบคมนาคมได้,

การคมนาคมมีประสิทธิภาพ เมืองระบบการจราจรไม่มีประสิทธิภาพ จะมีปัญหามาก ทั้งเรื่องของทรัพยากรที่สูญเสีย สิ่งแวดล้อมที่มีมลพิษมาจากรถ อุบัติเหตุบนท้องถนน ดังนั้นหากจะพัฒนาระบบคมนาคมที่มีคุณภาพ แต่ยังใช้รถส่วนบุคคลเหมือนเดิมจะไปต่อไม่ได้ จะต้องปรับเน้นเรื่องระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ, เทคโนโลยี ต้องมีนวัตกรรม แต่เป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับคมนาคม แต่ก็ไม่ยากเกินไปเพราะปัจจุบันมีเทคโนโลยี, นวัตกรรมในด้านคนนาคม

เปลี่ยนแนวคิดจากถนน สู่ขนส่งระบบราง

ประเทศไทยได้เปลี่ยนวิธีคิดใหม่จากเดิมที่จะสร้างถนนเยอะ ๆ เปลี่ยนมาทำระบบราง  ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด 3 ราง คือ รางเดิมระบบรถไฟที่มีอยู่เป็นระบบรางคู่, ระบบที่ 2 ระบบรถไฟความเร็วสูง, ระบบที่ 3 รางรถไฟฟ้าให้บริการในเมือง สำหรับแผน 8 ปี จะดำเนินทำรถไฟรางคู่ เพื่อลดเวลาในการเดินทางใน 8 ปี ที่เราทำอยู่ ซึ่งเหลือเวลาอีก 4 ปี จะทำให้ได้ 3150 กิโลเมตร ใช้เงินประมาณ 5.5 แสนล้านบาท

อีกส่วนคือ การทำแผนแม่บทรถไฟความเร็วสูง 2,506 กิโลเมตร ใช้เงิน 1.6 ล้านล้านบาท  การลงทุนไปเรื่องรถไฟความเร็วสูงนั้นสามารถใช้งานได้เป็น 100 ปี ประชาชนจะได้ประโยชน์ตรงๆนี่คือการเปลี่ยนโฉมระบบคมนาคมของประเทศไทยนับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป  และจะเป็นโครงข่ายในการพัฒนาเมือง

ปัญหาของระบบคมนาคมขนส่งในส่วนภูมิภาค

ในเมืองใหญ่ๆ ปัจจุบันเป็นสังคมสมัยใหม่ ที่ต้องการความรวดเร็ว ดังนั้นวิธีคิดในระบบคมนาคมแบบเดิมๆตอบโจทก์ไม่ได้ เชียงใหม่เมื่อ 30-40 ปีที่แล้ว รถสองแถวอาจจะตอบโจทก์ที่เรียบง่ายแต่ปัจจุบันไม่ใช่ คนเชียงใหม่ต้องการมากกว่านั้น ยิ่งถ้าพูดถึงอนาคตจะต้องมีระบบที่ทันสมัยมากมาทดแทน  หากประชาชนไม่อยากได้รถไฟฟ้า รถขนส่ง แต่อยากได้ถนนแทนนั้นพบว่าถนนที่เหมาะสมกับพื้นที่เมืองอยู่ประมาณ 20-25% แต่ประเทศไทยไม่สามารถทำได้เพราะพื้นที่ได้ถูกพัฒนาไปหมดแล้ว จึงต้องคิดระบบอื่นเพื่อพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ, ระบบขนส่งมวลชน

เส้นทาง3แฉกกับวงแหวน3รอบ ไม่เพียงพอต่อการเติบโตก้าวกระโดด 

จังหวัดเชียงใหม่ช่วงปี 2543 มีการเติบโตของเมืองกระทั่งระยะเวลา 10 ปีผ่านไปจนถึง ปี 2553 เติบโตแบบก้าวกระโดดและจำนวนก็โตตามถนน โดยถนนเชียงใหม่แบ่งตามรัศมีอยู่ 6แฉก วงแหวน 3 รอบ เมืองโตขึ้นตามแบบธรรมชาติไม่ได้อยู่ภายใต้การออกแบบหรือควบคุม เพราะโครงข่ายถนนทำให้เป็นเช่นนั้นทำให้เมืองโตขึ้นที่ดินเกิดการพัฒนา

สิ่งที่ตามมาคือปัญหา เพราะขณะที่เมืองโตขึ้นมีถนน ผู้คนอาศัยการเดินทางด้วยรถ จากถนน 6 แฉกก็จะวิ่งเข้าสู่เมือง รถจากศูนย์กลางก็จะวิ่งกลับไปบนถถน 6 แฉก เป็นปัญหาซ้ำเดิมทุกวัน ทำให้ตัวเลขความเร็วรถค่าเฉลี่ยรถในเชียงใหม่มีเพียง 5 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ถือว่าล้มเหลว ดังนั้นจะทำยังไงไม่ให้ภาพแบบนี้เกิดขึ้น

นั้นคือต้องพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาจราจร  อยากจะให้ปัญหาต่างๆ นอกจากปัญหาการจราจรที่ติดขัด ใช้เวลาในการเดินทางมาก  ยังมีเรื่องของสิ่งแวดล้อม ยิ่งเมืองมีความหนาแน่น มีรถเข้ามามาก คุณภาพชีวิตก็แย่ลง สิ่งแวดล้อมเสีย อีกทั้งเรื่องพลังงาน พบว่าประเทศไทยใช้พลังงานกว่า 42% ในการคมนาคม และเป็นต้นทุนอย่างหนึ่งที่ทำให้ประเทศไทยไม่มีความสามารถแข่งขันกับประเทศอื่น หากไม่สามารถจัดการในเรื่องพลังงานคมนาคมได้

ในอนาคตระบบคมนาคมควรเป็นระบบนำทางในการพัฒนาพื้นที่, พัฒนาเมือง จากเดิมกรุงเทพมหานคร กรมโยธาธิการและผังเมือง ใช้โครงการถนนเป็นตัวนำในการพัฒนาพื้นที่เมือง วางผังเมือง แต่ได้เปลี่ยนวิธีคิดใช้ระบบขนส่งสาธารณะเป็นตัววัด ก็อยากให้เชียงใหม่เป็นเช่นนั้น

ทุ่มงบผุดรถMRTแก้ปัญหาระบบขนส่งเมืองเชียงใหม่ 

ระบบขนส่งสาธารณะของประเทศไทยปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

กลุ่ม A ได้แก่ รถไฟใต้ดินสายสีน้ำเงิน รถไฟฟ้าสายสีม่วง รถไฟฟ้า BTSสายสีเขียว ใช้ความเร็วสูง ขบวนรถยาว สามารถขนส่งผู้โดยสารแต่ละขบวนได้มาก 

กลุ่ม B ได้แก่ กลุ่มรถเมล์วิ่งในรางหรือไม่มีคนขับ และ MRTคือรถขนาดเล็ก, กลุ่ม C  ได้แก่ รถเมล์, แท๊กซี่, รถสองแถว

ทั้งนี้รถสองแถวซึ่งมีในเชียงใหม่และกำลังจะดำเนินการระบบรถสาธารณะในกลุ่ม B เพราะปริมาณผู้โดยสารไม่มาก ถ้าทำรถไฟฟ้าเสร็จ เชื่อว่าทุกคนจะมีความสะดวกสบาย มีความสุขในการเดินทาง ซึ่งรถสองแถวก็ยังไม่ได้ทิ้ง แต่จะให้เป็นระบบส่งเสริมสนับสนุน ให้มีการใช้ระบบขนส่งสาธารณะต่อไปคนที่จะออกจากบ้านไม่ต้องคิดว่าจะขึ้นรถสองแถว รถไฟฟ้า รถสามล้อ หรือขับรถส่วนตัว คิดแค่สองเรื่อง คือวันนี้เราจะนั่งรถระบบขนส่งสาธารณะ หรือจะขับรถไปเอง  วิธีการเดินทางก็จะง่ายขึ้น

รถไฟฟ้าจะไม่ใช้แค่รถไฟฟ้า แต่คือเครื่องมือในการพัฒนาเมือง

กระทรวงคมนาคม โดยสำนักงานนโยบายได้ทำแผนแม่บทรถไฟฟ้าสำหรับจังหวัดเชียงใหม่ขึ้นมาและเสร็จแล้ว  เสนอคณะรัฐมนตรี มีทั้งหมด 3 เส้นทางคือ สายสีแดง 12.5 กิโลเมตร 12 สถานี, สายสีน้ำเงิน 10.47 กิโลเมตร  13 สถานี และสายสีเขียว  12 กิโลเมตร 10 สถานี รวมทั้งหมด 35 สถานี

สำหรับความต้องการของชาวเชียงใหม่อยากได้รถไฟฟ้าใต้ดิน จึงได้มีแนวคิดรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีแดงมา ซึ่งการออกแบบคาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2562 และจะเริ่มก่อสร้างในกลางปี2563 และนับไปอีก  4 ปี ก็ได้เริ่มใช้แล้ว  ซึ่งรถไฟฟ้าใต้ดินนั้นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสูงมาก แต่เป็นความต้องการของคนในพื้นที่ และอยู่ในแผนเสนอให้เชียงใหม่เป็นเมืองมรดกโลก โดยเส้นทางเดินรถเริ่มจากศูนย์ราชการมาถึงสนามบิน ผ่านคูเมือง

ส่วนเส้นที่สอง คือสายสีน้ำเงิน และต่อมาคือสายสีเขียว  ใช้งบในการลงทุนประมาณ 9 หมื่นล้านบาท โดยจะมีการพัฒนารอบๆ สถานี แต่จะต้องอาศัยความร่วมมือของท้องถิ่น ของภาคเอกชนในพื้นที่ และอาศัยความเข้าใจของภาคประชาชนในพื้นที่ ถึงจะพัฒนาเรื่องนี้ได้ มิฉะนั้นเส้นทางดังกล่าวจะกลายเป็นส้มหล่น

สำหรับแผนแม่บท เป็นการบอกแนวเส้นทางจะเป็นอย่างไร แต่เรื่องกรอบเวลาอยู่ที่เงิน และจะต้องสร้างสายสีแดงให้เสร็จก่อน และดูว่าประชาชนใช้สายสีแดงเป็นอย่างไรบ้าง และจะต้องนำแบบไปให้เอกชนดูว่าต้องใช้งบเท่าไร ลงทุนอย่างไร เอกชนร่วมส่วนไหน รัฐร่วมส่วนไหน เอกชนจะต้องมายื่นแข่งเพื่อมีส่วนร่วมกับรัฐบาล

จากนั้นกระบวนการคัดเลือก ในกระบวนการต้องเวลาประมาณ 9 เดือน ต้นปี 2021 จะเริ่มสร้าง  เสร็จ 2024 ได้ใช้ 2025 ส่วนถ้าสายสีแดงประสบความสำเร็จ ก็อาจจะทำสายสีน้ำเงิน กับสีเขียวไปพร้อมๆ กัน และต้องดูงบประมาณว่ามีหรือไม่

รถไฟฟ้าMRT ที่จะเกิดขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่ ถือเป็นความฝันและความหวังของ

ชาวเชียงใหม่ที่จะได้เข้าถึงระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพ การเดินทางมีความสะดวกสบาย นอกจากนั้นช่วยแก้ปัญหารถติดลดมลภาวะทำให้เมืองน่าอยู่เช่นที่ผ่านมาอีกด้วย... 

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร