Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

12 เรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับการขอไฟฟ้าด้วยตัวเอง

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

ไฟฟ้าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกบ้าน ‘การขอไฟฟ้า’ หรือขอมิเตอร์ไฟฟ้า สำหรับบ้านใหม่ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะปัจจุบันขั้นตอนต่างๆ มีความกระชับมากขึ้น และข้อมูลที่นำมาเสนอในวันนี้ ครอบคลุมการขอไฟประเภทต่าง ๆ เพื่อเป็นประโยชน์กับผู้อ่านมากที่สุด ท่านสามารถศึกษาดูรายละเอียดเกี่ยวกับการขอไฟฟ้าในแบบต่าง ๆ ได้จากบทความนี้

1. ใครขอใช้ไฟฟ้า

การไฟฟ้าได้กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่สามารถขอใช้ไฟฟ้าหรือขอมิเตอร์ไฟฟ้าได้ โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภทดังนี้
1. เป็นเจ้าของที่ดินหรือผู้ที่มีสิทธิ์ในการขอสถานที่ในการใช้ไฟฟ้า
2. เป็นผู้ที่มีรายชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านที่ต้องการขอใช้ไฟฟ้า
3. ผู้ที่มีสิทธิ์ครอบครองสถานที่ตามกฎหมายหรือผู้ที่มีสัญญาเช่าซื้อหรือสัญญาซื้อขายเป็นต้น
4.ผู้ประกอบการในสถานที่ที่ต้องการใช้ไฟฟ้า สามารถขอยื่นคำร้องได้กับการไฟฟ้าในถิ่นประกอบการ

ใครขอใช้ไฟฟ้า

2. ค่าธรรมเนียมในการขอไฟฟ้า

ในส่วนของค่าธรรมเนียมการขอไฟฟ้านั้นผู้ขอใช้ไฟจะต้องจ่ายโดยอ้างอิงตามขนาดของมิเตอร์ไฟฟ้าดังนี้
สำหรับระบบไฟฟ้า 1 เฟส
ขนาดมิเตอร์ 5(15) มีค่าตรวจสอบการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายใน มี100 บาท
ขนาดมิเตอร์ 15(45) มีค่าตรวจสอบการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายใน 700 บาท
ขนาดมิเตอร์ 30(100) มีค่าตรวจสอบการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายใน 700 บาท
ขนาดมิเตอร์แรงต่ำประกอบทีซี มีค่าตรวจสอบการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายใน 1600 บาท
ขนาดมิเตอร์แรงสูง (ต่ำกว่า 69 เควี) มีค่าตรวจสอบการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายใน (ไม่เกิน 30 แอมป์) 15,000 บาท

ค่าธรรมเนียม

3. เอกสารในการขอไฟฟ้า

สำหรับบ้านที่สร้างเสร็จแล้วและยังไม่มีการติดตั้งไฟฟ้า ผู้อยู่อาศัยหรือเจ้าของบ้านจะต้องเป็นผู้ไปทำเรื่องขอติดตั้งไฟฟ้า โดยต้องเตรียมเอกสารต่าง ๆ ดังนี้
1.  สำเนาทะเบียนบ้านที่ต้องการขอติดตั้งการใช้ไฟฟ้า
2.  สำเนาทะเบียนบ้านที่อยู่ปัจจุบัน (หากว่าบ้านที่ต้องการขอเป็นคนละที่อยู่กัน)
3.  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
4.  สัญญาซื้อขาย (กรณีที่มีการซื้อขายบ้าน)
5.  หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท (กรณีเจ้าของบ้านไม่มาดำเนินการ)
6.  สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ
7.  ใบยินยอมผ่านที่หรือใบยินยอมในกรณีต่าง ๆ (กรณีผ่านที่ดินผู้อื่น) พร้อมสำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านขอผู้ยินยอม
8.  ใบเสร็จค่าไฟฟ้าข้างเคียงของเสาที่จะติดตั้งมิเตอร์ (จะมีหรือไม่มีก็ได้)

และในกรณีที่เป็นบ้านเช่าจะใช้เอกสารเพิ่มเติม ดังนี้

1.  สำเนาสัญญาเช่าบ้านระหว่างเจ้าบ้านและผู้เช่า
2.  สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ให้เช่า
3.  สำเนาบัตรประชาชนของผู้ให้เช่า
เมื่อเตรียมเอกสารเรียบร้อยแล้ว เจ้าบ้านหรือผู้อาศัยจะต้องยื่นเรื่องขอติดตั้งไฟฟ้า โดยทำได้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ : ให้ยื่นคำร้องขอใช้ไฟฟ้าพร้อมเอกสารที่เตรียมมาอย่างครบถ้วน จากนั้นเจ้าหน้าที่ของการไฟฟ้าจะเข้ามาตรวจสอบการเดินสายไฟภายในบ้าน หากว่ายังไม่ได้ทำส่วนนี้ ให้เจ้าบ้านจัดการให้เรียบร้อยก่อนยื่นเรื่อง
หากเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้วพบว่ามีการเดินสายอย่างถูกต้อง ก็จะแจ้งให้เจ้าบ้านชำระค่าทำเนียมในการติดตั้ง ซึ่งค่าธรรมเนียมจะอ้างอิงตามขนาดของมิเตอร์ที่ขอติดตั้ง แต่ตรวจสอบแล้วพบว่ามีเดินสายไฟฟ้ายังไม่ถูกต้องเรียบร้อย ก็จะแจ้งเจ้าบ้านให้ดำเนินการเปลี่ยนการเดินสายใหม่เพื่อความปลอดภัย
ผู้เมื่อการตรวจสอบเสร็จสิ้น ให้เจ้าบ้านชำระค่าธรรมเนียมเพื่อดำเนินการติดตั้งอย่างสมบูรณ์

เอกสาร

4. เงินประกันในการขอไฟฟ้า

ขั้นตอนของการขอใช้ไฟฟ้าจะต้องมีการเก็บเงินประกันใช้ไฟฟ้าหรือที่เรียกกันว่า เงินประกันมิเตอร์ไฟ ซึ่งจะต้องชำระเมื่อขอยื่นใช้ไฟฟ้า และสามารถขอเงินประกันคืนได้หากมีการยกเลิกการใช้ไฟฟ้าแล้ว 
เหตุที่ต้องมีการเก็บเงินจำนวนนี้นั้นเพื่อเป็นการประกันยามฉุกเฉิน เช่น หากว่าเจ้าบ้านหรือผู้อยู่อาศัยไม่จ่ายค่าไฟฟ้า เงินประกันส่วนนี้ก็จะถูกหักไปนั่นเอง แต่หากว่าจ่ายเป็นประจำทุกเดือน และเมื่อต้องการย้ายหรือขายบ้าน ก็สามารถไปติดต่อยกเลิกการใช้ไฟฟ้าและขอรับเงินประกันคืนได้
โดยเงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้ามีอัตราการจ่ายดังนี้:
มิเตอร์ขนาด 5(15) จะต้องจ่ายเงินประกันการใช้ไฟฟ้า 300 บาท สำหรับบ้านพักขนาดเล็กที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่มากนัก
มิเตอร์ขนาด 15(45) จะต้องจ่ายเงินประกันการใช้ไฟฟ้า 2,000 บาท สำหรับครัวเรือนที่อยู่กันหลายคน
มิเตอร์ขนาด 30(100) จะต้องจ่ายเงินประกันการใช้ไฟฟ้า 5,000 บาท สำหรับพักขนาดใหญ่ที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิด
มิเตอร์ขนาด 15(45) ระบบไฟฟ้า 3 เฟส จะต้องจ่ายเงินประกันการใช้ไฟฟ้า 6,000 บาท สำหรับครัวเรือนขนาดกลาง แต่ไม่นิยมติดตั้งระบบนี้มากนักเพราะสิ้นเปลือง

เงินประกัน

5. ขอใช้ไฟฟ้าชั่วคราว

สำหรับบ้านที่กำลังมีการก่อสร้าง จำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าในการดำเนินงาน สามารถติดต่อการไฟฟ้าเพื่อขอใช้ไฟในระหว่างนี้ได้ แต่เจ้าบ้านจะต้องเตรียมสายไฟและอุปกรณ์ที่จำเป็นในการตัดไฟเอาไว้ในวันที่มาชำระค่าธรรมเนียมด้วย
การดำเนินการขอไฟฟ้าชั่วคราวต้องเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้:

  1. สำเนาทะเบียนบ้านที่อยู่ปัจจุบัน
  2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  3. สำเนาใบอนุญาตก่อสร้าง แต่หากว่ายังไม่มีก็ให้ถ่ายใบคำขอมาใช้แทนได้เช่นกัน
  4. โฉนดที่ดินสถานที่ขอใช้ไฟฟ้า
  5. ในกรณีที่เจ้าบ้านไม่ได้มาเอง ให้ใช้หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท
  6. สำเนาบัตรประชาชนและต้องมีทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจประกอบด้วย

ในส่วนของค่าธรรมเนียมนั้น หากขอใช้ไฟพิเศษชั่วคราวไม่เกิน 30 วันจะคิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 1 ใน 4 ของอัตราค่าธรรมเนียมปกติโดย อ้างอิงตามแอมป์มิเตอร์ แต่หากว่ามีการขอใช้ไฟพิเศษแบบชั่วคราวเกินกว่า 30 วันจะคิดค่าธรรมเนียมในอัตราปกติอ้างอิงตามขนาดแอมป์มิเตอร์

ขอใช้ไฟฟ้าชั่วคราว

6. ไฟฟ้าเพื่อเกษตร

พื้นที่ทำการเกษตรบางแห่งนั้นอยู่ห่างไกลจากชุมชนหรือพื้นที่ที่ไฟฟ้าเข้าถึงได้ ดังนั้นจึงต้องมีการขอไฟฟ้าพิเศษเพื่อให้ทำการเกษตรได้ เช่น เอาไว้ต่อหลอดไฟริมทางหรือหลอดไฟในสวน รวมถึงใช้กับเครื่องสูบน้ำเป็นต้น การดำเนินของไฟฟ้าเพื่อการเกษตรจะมีแนวทางในการขอดังนี้

สำหรับการขอติดตั้งไฟเพื่อการเกษตร จะต้องมีเลขที่บ้านเพื่อติดตั้งหม้อแปลง หากเป็นพื้นที่ที่ยังไม่มีเลขที่บ้านเนื่องจากเป็นพื้นที่ห่างไกลนั้น จะต้องสร้างที่พักขึ้นมาก่อน โดยจะเป็นบ้านพักชั่วคราว หรือบ้านแบบถาวรได้ แต่จำเป็นต้องมีห้องน้ำในบ้านด้วย ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการขอเลขที่บ้าน
ให้ถ่ายภาพบ้านพักที่สร้างเรียบร้อยแล้ว พร้อมกับเอกสารรับรองที่อยู่ไปยื่นให้กับผู้ใหญ่บ้านเพื่อทำการขอเลขที่บ้าน โดยเอกสารจะต้องมีการเซ็นชื่ออย่างถูกต้องครบถ้วน จากนั้นผู้ใหญ่บ้านจะนำไปยื่นต่ออำเภอเพื่อลงทะเบียนขอสำเนาทะเบียนบ้าน

เมื่อได้สำเนาทะเบียนบ้านมาแล้ว ให้นำไปยื่นเรื่องขอใช้ไฟฟ้ากับส่วนปกครองท้องถิ่นในพื้นที่ที่อาศัยอยู่ เมื่อเอกสารถูกต้องครบถ้วน ส่วนการไฟฟ้าก็จะมาติดตั้งให้ในเวลาไม่นาน
ทั้งนี้ควรตรวจสอบพื้นที่ด้วยว่า ไฟฟ้าสามารถเข้าถึงได้หรือไม่ และจะให้ดีควรบ้านอย่างน้อย 3 หลังในบริเวณเดียวกัน เพราะหากว่าต้องการดำเนินการขอใช้ไฟฟ้าสำหรับบ้านเพียงหลังเดียว จะทำให้ต้องจ่ายค่าไฟฟ้าสูงมากกว่าปกติ

ไฟฟ้าเพื่อเกษตร

7. การขอไฟฟ้า 3 เฟส ต้องเตรียมการอย่างไร

ก่อนอื่นนั้นลองมาทำความรู้จักกับไฟฟ้า 3 เฟสกันก่อน โดยไฟฟ้า 3 เฟสคือ ระบบไฟฟ้าที่ใช้ไฟ 3 เส้นและสายนิวทรอลอีก 1 เส้นรวมทั้งหมดเป็น 4 เส้น ทั้งนี้วิธีการใช้งานนั้นไม่ต่างจากระบบ 1 เฟสแต่อย่างใด ไฟฟ้าระบบนี้จะพิเศษมากกว่าปกติ ด้วยการต่อตรงจากเฟส 1 พร้อมมีสายนิวทรอลอีก 1 เส้น โดยแรงดันไฟฟ้าระหว่างสายเฟส 1 กับเส้นนิวทรอลจะทำให้กำลังไฟจาก 200 โวลท์เพิ่มเป็น 380 โวลท์ จึงเรียกว่า 200/380 โวลท์ ข้อดีคือสามารถจ่ายกระแสไฟได้มากกว่า 1 เฟสจึงทำให้ไม่มีปัญหาในการใช้แม้จะอยู่ในช่วงที่ไฟดับ หรือกล่าวคือ การใช้ระบบไฟฟ้า 3 เฟสจะป้องกันเรื่องไฟดับได้ เหมาะกับการติดตั้งในโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารพาณิชย์ที่จำเป็นต้องใช้ไฟมาก การขอใช้ระบบไฟฟ้า 3 เฟสมีขั้นตอนที่ค่อนข้างยุ่งยากและค่าใช้จ่ายสูง เพราะว่าต้องจ่ายค่าประกันและค่าติดตั้งที่มากกว่า แต่สำหรับองค์กรหรือผู้ที่ทำธุรกิจเหมาะกับการติดตั้งระบบไฟฟ้า 3 เฟสเพราะเอื้อประโยชน์ได้มากกว่า ค่าธรรมเนียมสำหรับระบบไฟฟ้า 3 เฟสมีดังนี้

  1. ขนาดมิเตอร์ 15(45) ค่าตรวจสอบการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายใน 700 บาท
  2. ขนาดมิเตอร์ 30(100) ค่าตรวจสอบการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายใน 1,500 บาท
  3. ขนาดมิเตอร์แรงต่ำประกอบซีที ค่าตรวจสอบการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายใน 4,200 บาท
  4. ขนาดมิเตอร์แรงสูง (ตั้งแต่ 67 เควีขึ้นไป) ค่าตรวจสอบการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายใน  50,000 บาท

ขอไฟฟ้า 3 เฟส

8. โอนมิเตอร์ไฟฟ้า

อีกหนึ่งสิ่งที่ผู้ซื้อบ้านใหม่จะต้องทราบคือ เรื่องการโอนมิเตอร์ไฟฟ้าทั้งในกรณีซื้อบ้านจากโครงการบ้านจัดสรร และซื้อบ้านมือสองต่อจากคนอื่น
เมื่อย้ายเข้าบ้านใหม่แล้ว เจ้าบ้านจะต้องขอโอนมิเตอร์จากบ้านเก่ามายังบ้านใหม่ได้ที่การไฟฟ้า สามารถติดต่อได้ในวันเวลาราชการ คือวันจันทร์–ศุกร์ ยกเว้นวันหยุดเสาร์ – อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ สำหรับขั้นตอนการโอนมิเตอร์ไฟฟ้านั้นมี 3 ขั้นตอนสั้น ๆ ดังนี้

  1.  เตรียมเอกสารตามที่การไฟฟ้าได้กำหนดไว้ โดยแยกเป็น 2 กรณีคือ

1.1 ผู้รับและผู้โอนสามารถไปยื่นเรื่องที่การไฟฟ้าด้วยตนเองได้ ให้เตรียมเอกสารดังต่อไปจำนวนอย่างละ 2 ชุด

  • สำเนาบัตรประชาชนของทั้งผู้รับและผู้โอน
  • สำเนาทะเบียนบ้านของทั้งผู้รับและผู้โอนเช่นกัน
  • สำเนาทะเบียนบ้านที่ใช้ไฟฟ้าของผู้รับ
  • สำเนาสัญญาซื้อขายบ้าน ทด13. (กรณีที่มีการซื้อขายบ้าน)
  • ใบเสร็จค่าไฟฟ้าครั้งสุดท้ายของผู้โอน
  • หลักฐานอื่น ๆ ที่จำเป็น
  • ใบเสร็จรับเงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้าของผู้โอน หากใบเสร็จสูญหายให้ติดต่อแผนกการเงินของไฟฟ้าเพื่อให้ออกหลักฐานใหม่
  • ในกรณีที่ผู้โอนไม่สามารถมาด้วย ผู้รับจะมีหนังสือมอบอำนาจจากผู้โอนแนบมาด้วย

1.2 เจ้าของบ้านคนใหม่ไม่สามารถติดต่อผู้ที่มีอำนาจในการขอโอนมิเตอร์ไฟฟ้าได้ ให้เตรียมเอกสารดังต่อไปจำนวนอย่างละ 2 ชุดเช่นกัน ได้แก่

  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้รับโอน
  • สำเนาทะเบียนบ้านที่ใช้ไฟของผู้รับโอน
  • สำเนาใบมรณะบัตรกรณีพบว่าผู้ใช้ไฟเดิมถึงแก่ความตาย
  • ใบเสร็จค่าไฟฟ้าครั้งสุดท้ายของผู้รับโอน
  • ใบเสร็จรับเงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้าของผู้รับโอน
  • หลักฐานอื่น ๆ ที่จำเป็น
  1. การยื่นเอกสารตามที่การไฟฟ้ากำหนดไว้ให้กับเจ้าหน้าที่  เมื่อเอกสารถูกต้องครบถ้วน ให้รอดำเนินการไม่เกิน 7 วัน
  2. เมื่อเสร็จสิ้นแล้ว เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้เราเข้ารับเอกสารเพื่อเปลี่ยนชื่อเจ้าของมิเตอร์เดิมเป็นเจ้าของมิเตอร์ใหม่ เป็นอันเสร็จสิ้น
  3. การยื่นเอกสารตามที่การไฟฟ้ากำหนดไว้ให้กับเจ้าหน้าที่  เมื่อเอกสารถูกต้องครบถ้วน ให้รอดำเนินการไม่เกิน 7 วัน

เมื่อเสร็จสิ้นแล้ว เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้เราเข้ารับเอกสารเพื่อเปลี่ยนชื่อเจ้าของมิเตอร์เดิมเป็นเจ้าของมิเตอร์ใหม่ เป็นอันเสร็จสิ้น สำหรับการขอโอนมิเตอร์ไฟฟ้าของบ้านโครงการใหม่ โดยมากทางโครงการมักจะดำเนินการติดตั้งให้โดยอัตโนมัติ เพราะถือเป็นส่วนหนึ่งของงานบริการลูกบ้าน แต่หากเป็นการขอโอนมิเตอร์สำหรับบ้านมือสอง ก็สามารถทำตามขั้นตอนดังกล่าวได้ทันที อย่างไรก็ตามสำหรับเงื่อนไขการโอนมิเตอร์ไฟฟ้าแบบบ้านมือสองนั้นอาจจะมีขั้นตอนมากสักหน่อย เพราะมีหลายบุคคลเกี่ยวข้อง และยิ่งหากว่าเจ้าบ้านเสียชีวิตไปแล้วหรือไม่สามารถติดต่อได้ ก็ต้องใช้สำเนาใบมรณะบัตร กรณีผู้ใช้ไฟเดิมถึงแก่ความตายด้วย

โอนมิเตอร์ไฟฟ้า

9. เพิ่มมิเตอร์ไฟฟ้า

ในกรณีที่ต้องขอเพิ่มมิเตอร์ไฟฟ้านั้น ส่วนมากแล้วเป็นเพราะว่าแอมป์ไฟฟ้าในบ้านนั้นไม่เพียงพอต่อการใช้งานจึงต้องมีการขอเพิ่มกระแสไฟ เนื่องจากมีสมาชิกในบ้านมาก หรือทำธุรกิจที่ต้องใช้ปริมาณไฟมาก เจ้าบ้านก็สามารถทำเรื่องขอเพิ่มมิเตอร์ไฟฟ้าได้กับการไฟฟ้า เบื้องต้นเจ้าหน้าที่จะมาตรวจสอบแอมป์การใช้ไฟฟ้าก่อน และจะเพิ่มให้ตามความเหมาะสมในการใช้งาน

เพิ่มมิเตอร์ไฟฟ้า

10. เปรียบเทียบมิเตอร์ไฟฟ้า

หากเกิดความสงสัยในความผิดปกติของหน่วยการใช้ไฟ อย่างเช่น ค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นผิดปกติทั้งที่ใช้ไฟเท่าเดิม เจ้าบ้านสามารถขอเปรียบเทียบมิเตอร์กับเจ้าหน้าที่ได้ ด้วยการยื่นคำร้องขอให้มีการตรวจสอบด้วยวิธีการเปรียบเทียบมิเตอร์

เบื้องต้นเจ้าหน้าที่จะนำมิเตอร์ใหม่มาเปลี่ยนให้ระหว่างตรวจสอบ หากว่ามีความผิดปกติในมิเตอร์ไฟฟ้าเดิมก็จะมีการปรับปรุงค่าไฟฟ้าส่วนที่คลาดเคลื่อนให้ถูกต้องในใบแจ้งค่าไฟฟ้าเดือนถัดไป โดยเจ้าบ้านหรือผู้อาศัยสามารถแจ้งดำเนินเรื่องได้ดังนี้

  1. ลูกค้าบริการของการไฟฟ้าในพื้นที่อยู่อาศัย
  2. แสดงเอกสารสิทธิความเป็นเจ้าของในมิเตอร์ไฟฟ้า
  3. สำหรับการขอเปรียบเทียบมิเตอร์นั้นจะมีการเก็บชำระค่าธรรมเนียม
  4. เจ้าหน้าที่จะมาติดตั้งมิเตอร์เปรียบเทียบให้ไม่เกิน 1 วันทำการหลังจากชำระค่าธรรมเนียมเรียบร้อยแล้ว
  5. การติดตั้งจำเป็นต้องมีเจ้าบ้านหรือผู้อยู่อาศัย อยู่ร่วมกับพนักงานขณะทำการเปรียบเทียบมิเตอร์เพื่อความยุติธรรม
  6. หากผลเปรียบเทียบผิดปกติจริง การไฟฟ้าจะคืนค่าธรรมเนียมให้ผู้ใช้ภายใน 7 วันหลังจากมีการดำเนินเรื่อง

สำหรับการเปรียบเทียบมิเตอร์ไฟฟ้านั้นมีเงื่อนไขอยู่ว่า หากว่ามีการตรวจสอบแล้วความคลาดเคลื่อนไม่เกินบวกลบ 2.5 ถือว่ามิเตอร์หมุนปกติไม่มีปัญหา แต่หากว่ามีความคลาดเคลื่อนมากกว่าบวกลบ 2.5 จะถือว่ามิเตอร์มีอาการผิดปกติ ทางการไฟฟ้าจะทำการสับเปลี่ยนมิเตอร์และปรับปรุงค่าให้ถูกต้องก่อนการชำระเงินค่าธรรมเนียมคืน

เปรียบเทียบมิเตอร์ไฟฟ้า

11. มิเตอร์ไฟฟ้าชำรุด

เบื้องต้นให้เช็คก่อนว่ามีการรั่วไหลของไฟภายในบ้านหรือไม่ ทำได้โดยการไปจดมิเตอร์ไฟฟ้าเอาไว้ จากนั้นปิดอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าทุกชนิด แล้วรอประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้นกลับมาตรวจสอบดูที่มิเตอร์อีกครั้ง หากยังหมุนอยู่หรือตัวเลขเปลี่ยนไปจากเดิมค่อนข้างมากแสดงว่ามีกระแสไฟรั่วไหลสามารถแจ้งเปลี่ยนมิเตอร์ไฟฟ้าได้เพราะถือว่าชำรุด นอกจากนี้การไหม้ของสายไฟมิเตอร์ หรือสาเหตุแปลก ๆ ที่ทำให้มิเตอร์ไม่ทำงานหรือทำงานผิดปกติจากเดิม ล้วนตีความได้ว่ามิเตอร์ชำรุด ให้แจ้งกับการไฟฟ้าในพื้นที่มาแก้ไขเปลี่ยนมิเตอร์ใหม่ ทั้งนี้การเปลี่ยนมีค่าใช้จ่ายโดยอ้างอิงจากแอมป์มิเตอร์ที่ใช้งาน เบื้องต้นเจ้าหน้าที่จะมาตรวจสอบสาเหตุก่อน ว่ามิเตอร์ชำรุดเพราะเหตุใดและชำรุดจริงหรือไม่ หากใช้งานไม่ได้จริงก็จะดำเนินการเปลี่ยนให้ไม่เกิน 1 วันทำการ

มิเตอร์ไฟฟ้าชำรุด

12. ต่อกลับมิเตอร์ไฟฟ้า

สำหรับผู้ที่โดนงดจ่ายไฟฟ้า หรือถูกตัดไฟ เนื่องจากไม่ชำระค่าไฟฟ้าตามเงื่อนไขที่การไฟฟ้ากำหนดไว้ มีสิทธิ์ขอต่อกลับได้ภายใน 1 ปีนับตั้งแต่วันที่โดนงดจ่ายกระแสไฟ ในกรณีนี้อาจโดนงดจ่ายเนื่องจากไม่มีผู้อยู่อาศัยเป็นเวลานาน 
แต่สำหรับผู้ที่โดนงดจ่ายไฟเนื่องจากค้างชำระค่าบริการ มีกฎระเบียบดังต่อไปนี้
หากค้างชำระค่าไฟฟ้าเป็นเวลา 1 เดือนจะหมดเขตชำระภายใน 7 วันซึ่งเข้าเกณฑ์การงดจ่ายไฟ และหากระหว่างนี้ยังไม่มีการชำระค่าไฟก็จะยืดเวลาให้ออกไปอีก 3 วันทำการ แต่หากยังไม่มีการชำระเงินเข้ามาจะถูกงดจ่ายไฟในทันที
การไฟฟ้าจะใช้บริษัทเอกชนเข้ามาถอดมิเตอร์ไฟโดยไม่มีความผิด
สำหรับการตัดสายและต่อสาย จะดำเนินการโดยบริษัทเอกชนที่ถูกการไฟฟ้าว่าจ้างมา
 เมื่อถูกถอดมิเตอร์แล้ว ผู้ใช้จะต้องชำระเงินที่ค้างอยู่ทั้งหมด รวมกับค่าบริการต่อกลับมิเตอร์เป็นจำนวนเงินอีก 107 บาท เมื่อชำระเรียบร้อยทางบริษัทเอกชนจะกลับมาต่อมิเตอร์และจ่ายไฟฟ้าให้ตามเดิม
สำหรับการชำระหนี้ค้างและทำการต่อกลับมิเตอร์ จะมีสองวิธีดังนี้

  1. หากค้างชำระค่าไฟฟ้าเป็นเวลา 1 เดือนจะหมดเขตชำระภายใน 7 วันซึ่งเข้าเกณฑ์การงดจ่ายไฟ และหากระหว่างนี้ยังไม่มีการชำระค่าไฟก็จะยืดเวลาให้ออกไปอีก 3 วันทำการ แต่หากยังไม่มีการชำระเงินเข้ามาจะถูกงดจ่ายไฟในทันที
  2. การไฟฟ้าจะใช้บริษัทเอกชนเข้ามาถอดมิเตอร์ไฟโดยไม่มีความผิด
  3. สำหรับการตัดสายและต่อสาย จะดำเนินการโดยบริษัทเอกชนที่ถูกการไฟฟ้าว่าจ้างมา
  4.  เมื่อถูกถอดมิเตอร์แล้ว ผู้ใช้จะต้องชำระเงินที่ค้างอยู่ทั้งหมด รวมกับค่าบริการต่อกลับมิเตอร์เป็นจำนวนเงินอีก 107 บาท เมื่อชำระเรียบร้อยทางบริษัทเอกชนจะกลับมาต่อมิเตอร์และจ่ายไฟฟ้าให้ตามเดิม

สำหรับการชำระหนี้ค้างและทำการต่อกลับมิเตอร์ จะมีสองวิธีดังนี้

  • เมื่อชำระเงินในเวลาทำการคือ 08.30–16.30 น. ในวันจันทร์ถึงศุกร์ การต่อกลับมิเตอร์จะทำในเวลาหลัง 16.30 น. ของวันที่ชำระหนี้โดยบริษัทเอกชนผู้ถูกจ้างวานจากการไฟฟ้า
  • เมื่อชำระเงินนอกเวลาทำการหรือหลัง 16.30น ทั้งวันทำการและวันหยุด จะมีการต่อกลับมิเตอร์จากบริษัทเอกชนผู้ถูกจ้างวานจากการไฟฟ้าในช่วงเวลาหลัง 18.30 น. ของวันที่ชำระเงิน

ทั้งนี้เวลาดังกล่าวอาจมีคลาดเคลื่อนตามสถานะของพนักงานช่าง เพราะบางทีอาจมีกรณีรับแจ้งก่อนหน้าที่ยังติดพันอยู่ จึงทำให้มาต่อกลับไฟล่าช้ากว่ากำหนด และผู้ใช้งานจะไม่สามารถเร่งรัดพนักงานช่างได้ เช่นนี้แล้วหากมีเหตุต้องการใช้ไฟเร่ง ด่วนควรชำระค่าบริการที่ค้างอยู่และค่าธรรมเนียมก่อนเวลา 16.30 น. หรือทางที่ดีหากไม่อยากรอหรือไม่ยากเสียเวลา ก็ควรชำระเงินให้ตรงเวลาจะดีที่สุด

สำหรับในกรณีที่ขอต่อกลับมิเตอร์เกิน 6 เดือนขึ้นไปนั้น จะต้องไปติดต่อกับเจ้าหน้าที่เพื่อขอชำระค้างค่าไฟเพื่อต่อกลับ และวางหลักประกันการใช้ไฟฟ้าใหม่ด้วยหากว่ายังไม่เคยวางหลักประกันการใช้ไฟฟ้ามาก่อน และอาจจะต้องมีการชำระค่าตรวจอุปกรณ์ภายในด้วย เพราะไม่ได้ใช้งานนานอาจมีจุดชำรุดได้

สำหรับช่องทางการชำระค่าไฟในปัจจุบันมีหลายช่องทาง หากไม่อยากเสียค่าธรรมเนียมหรือค่าต่อกลับให้วุ่นวาย สามารถชำระแบบตรงเวลาได้ตามช่องทางดังนี้

  1. ชำระได้ที่สำนักงานการไฟฟ้าในเขตพื้นที่ในวันทำการปกติจันทร์ – ศุกร์ (เว้นวันหยุดราชการ) เวลา  08.30-16.30 น.
  2. ชำระได้ที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสใกล้บ้าน ในห้างสรรพสินค้าชั้นนำได้ตั้งแต่เวลา 10.30-18.30 น. ทั้งนี้ไม่นับรวมวันหยุดราชการ
  3. ชำระผ่านแอปพลิเคชันของการไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง
  4. หักผ่านบัญชีธนาคาร
  5. ชำระผ่านบัตรเครดิต
  6. ชำระผ่าน ATM
  7. ชำระผ่าน Internet banking, Mobile banking และ Mobile Phone

ต่อกลับมิเตอร์ไฟฟ้า

สำหรับ ‘การขอไฟฟ้า’ หรือขอมิเตอร์ไฟฟ้า มีรายละเอียดปลีกย่อยค่อนข้างมาก ผู้เป็นเจ้าบ้านต้องพิจารณาถึงการใช้งานเป็นหลัก เพื่อไม่เกิดความสับสน เช่น เป็นบ้านที่ซื้อจากโครงการและมีการติดมิเตอร์อยู่แล้ว ก็เพียงแค่ขอให้การไฟฟ้าจ่ายไฟให้ เป็นต้น

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร