Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

โครงสร้างบ้านไม้ องค์ประกอบหลักของเรือนไทย

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

ประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้นที่มีอากาศค่อนข้างร้อนตลอดทั้งปี และมีพันธุ์ไม้เนื้อแข็งที่เหมาะกับการสร้างบ้านอยู่มากมาย บ้านไม้เรือนไทย จึงเป็นสิ่งที่นิยมปลูกสร้างมาแต่โบราณกาล ซึ่งโครงสร้างบ้านไม้ จะมีความแตกต่างกันไปตามภูมิปัญญาและสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

บทความนี้จึงขอนำเสนอเกี่ยวกับโครงสร้างบ้านไม้ องค์ประกอบหลักของเรือนไทยที่มีความเป็นเอกลักษณ์ โดดเด่น เฉพาะตัว แตกต่างกันไปตามแต่ละภูมิภาคของประเทศ

ลักษณะและประเภทของเรือนไทย

เรือนไทยแต่ละภูมิภาคของประเทศไทยมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามโครงสร้างทางศิลปะและวัฒนธรรมของแต่ละภูมิภาค แต่เรือนไทยทั้ง 4 ภาค มีลักษณะที่มีความโดดเด่นร่วมกันเป็นองค์ประกอบหลักของเรือนไทย คือ เป็นเรือนไม้ หลังคาทรงจั่ว ยกพื้นสูง มีห้องรวมเป็นกลุ่มอาคารที่มีการใช้งานต่างกัน มีชานเรือน โถงเรือน เพื่อการใช้ประโยชน์ร่วมกัน พื้นเรือนมีการเล่นระดับเพื่อเปิดทางลมให้พัดผ่านด้านในตัวเรือน แต่ละภูมิภาคมีการจำแนกประเภทของเรือนที่ต่างกัน ดังนี้

  • ภาคเหนือ

เรียกว่า “เรือนกาแล” เป็นเรือนไทยที่มีสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นแตกต่างจากภาคอื่น ๆ โดยเฉพาะลักษณะตัวเรือนที่เป็นเรือนแฝด โดยตัวเรือนหลักจะมีขนาดใหญ่กว่าเรือนรอง

ผนังมีลักษณะเลื่อนเปิด-ปิดได้ เพื่อรับลม เรียกว่า “ฝาไหล” หลังคามีขนาดใหญ่คลุมตัวเรือนทั้งหมดเพื่อป้องกันลมแรง 
มีส่วนพื้นเรือนที่เป็นพื้นที่เปิดโล่งหรือนอกชานสำหรับเป็นพื้นที่ใช้งานร่วมกัน เรียกว่า “เติ๋น”

ภาคเหนือ

  • ภาคอีสาน

จำแนกลักษณะเรือน หรือ “เฮือน” ตามภาษาถิ่น ได้ 3 ประเภท คือ 

  1. เฮือนเกย ลักษะเป็นเรือนเดี่ยว ตัวเรือนมีระดับความสูงมากกว่าส่วนอื่น หลังคาตัวเรือนมีความลาดชันน้อย ชานเรือนมีหลังคาคลุม ส่วนโรงครัวหรือเรือนไฟสร้างแยกออกจากตัวเรือน โดยมีชานเรือนชั้นล่างสุดเป็นตัวเชื่อมระหว่างเรือน
  2. เฮือนแฝด เป็นเรือนหลังคาลาดชันน้อย 2 จั่วที่มีโครงสร้างตัวเรือนเดียวกัน โดยฝั่งตัวเรือนหลักเป็นเรือนนอน มีผนังสี่ด้าน ตัวเรือนรองจะมีผนัง 3 ด้าน ด้านที่เปิดโล่งจะเชื่อมต่อกับระเบียงหรือชานเรือน
  3. เฮือนโข่ง ลักษณะเป็นเรือน 2 หลัง แยกจากกัน หลังคาเรือนมีความลาดชันน้อย จั่วประดับด้วยลายแสงพระอาทิตย์ครึ่งดวง เรือนทั้งสองหลังเชื่อมต่อกันด้วยระเบียงที่เป็นทางเดินไปยังชานเรือนด้านหลังที่เชื่อมต่อกับเรือนครัว ที่แยกออกจากตัวเรือนโข่ง ซึ่งเรือนโข่งนี้สามารถเคลื่อนย้ายถอดออกไปปลูกที่อื่นได้ด้วย 

ภาคอีสาน

  • ภาคกลาง

จะมีลักษณะยกพื้นเป็นใต้ถุนสูงกว่าภาคอื่น ๆ ด้วยทำเลพื้นที่เป็นที่ลุ่มแม่น้ำที่จะมีน้ำหลากทุก ๆ ปี จึงจำเป็นต้องยกพื้นสูงกว่าทั่วไป และสามารถใช้ประโยชน์เป็นที่พักอาศัยได้ในตอนกลางช่วงฤดูร้อนได้อีกด้วย ประกอบไปด้วย 

เรือนเดี่ยว เป็นเรือนหลักที่เป็นเรือนนอน และโรงครัวที่ด้านหลังแยกจากตัวเรือน เชื่อมตัวเรือนหลักด้วยชาน

เรือนหมู่ ประกอบด้วยกลุ่มอาคารที่แยกเป็นห้องต่าง ๆ ตามประโยชน์การใช้งาน เช่น หอพระ หอนอนหลัก หอนอนรอง หอกลางสำหรับนั่งเล่น และเชื่อมต่อห้องต่าง ๆ ด้วยชานกว้าง กลางเรือนมักยกพื้นสูงเป็นกลางชานมีหลังคาคลุม หรือบางเรือนก็นิยมปลูกไม้ใหญ่ไว้กลางชานเรือน อีกทั้งมีหลังคาทรงจั่วที่แอ่นโค้งประดับปลายจั่วด้วยการแกะสลักไม้คล้ายหางปลา

ภาคกลาง

  • ภาคใต้

มีลักษณะที่แตกต่างกัน โดยมีแนวคิด ความเชื่อ ศิลปะที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนามาเป็นสิ่งจำแนกเรือน ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 

1. เรือนไทยมุสลิม เป็นเรือนยกพื้นสูง เสาเรือนมีความถี่และเสริมความแข็งแรงด้วยการเสริมท่อนคอนกรีตเพื่อเพิ่มความคงทนจากน้ำหลากเนื่องจากภาคใต้มีฝนตกชุกตลอดปี หลังคามี 3 แบบ ได้แก่ “ลีมะ” หรือ “ปั้นหยา” “บลานอ” หรือ “มนิลา” และ “แมและ” หรือ “จั่ว”  ภายในเรือน กั้นเพียงห้องนอน หรือห้องละหมาด ส่วนอื่น ๆ มักจะเปิดโล่งเชื่อมต่อกันหมด   

2. เรือนไทยพุทธ ลักษณะเป็นเรือนไม้ หลังคาใหญ่ทรงปั้นหยาและจั่ว ภายในเรือนมักจะกั้นห้องมิดชิด แบ่งเป็นห้องนอน มีโถงเชื่อมต่อเป็นเสมือนห้องนั่งเล่นและรับแขก เรือนครัวจะอยู่ด้านหลัง

ภาคใต้ จุดเด่นของโครงสร้างบ้านไม้เรือนไทย

โครงสร้างบ้านเรือนไทย เป็นสถาปัตยกรรมที่มีความโดดเด่น เป็นเอกลักษณ์ ที่สะท้อนภูมิปัญญาและความเป็นไทยได้อย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น

  • บ้านเรือนไทยมีโครงสร้างทั้งหมดเป็นไม้ องค์ประกอบหลักของเรือนไทย เช่น  เสา ฝา จั่วปั้น ระเบียง ประตู หน้าต่าง เป็นต้น ทุกองค์ประกอบสามารถเชื่อมต่อ ยึดติด กันได้โดยไม่ต้องใช้ตะปู
  • โครงสร้างบ้านไม้เรือนไทย ได้รับการออกแบบที่ถ่ายทอดจากภูมิปัญญาให้เรือนมีความโปร่ง โล่ง ด้วยหลังคาจั่ว
  • ทรงสูงที่ช่วยระบายความร้อน ฝาเรือน มีการเจาะช่องหน้าต่างมากเพื่อเปิดทางรับลมทำให้ตัวเรือนไม่ร้อนจนเกินไปในฤดูร้อน
  • หลังคาเรือนออกแบบมาให้มีชายคาที่ยืนยาวที่ช่วยป้องกันการสาด กระเซ็นของน้ำฝนในฤดูฝน หลังคาที่แอ่นโค้ง เพรียวลม ทำให้รับแรงปะทะกับลมแรงในช่วงฤดูหนาวได้
  • การต่อเติม เสริม ขยายพื้นที่เรือนสามารถทำได้โดยไม่กระทบโครงสร้างเรือนเดิม ด้วยวิธีการเชื่อมต่อเรือนเดิมและใหม่ด้วยการก่อสร้างทางเชื่อมระหว่างเรือนที่เรียกว่า “ชาน” โครงสร้างเรือนเช่นนี้สะท้อนถึงสภาพสังคมของครอบครัวไทยในอดีตที่มักจะอยู่กันเป็นครอบครัวขยายที่มีกลุ่มคนหลากหลายวัยอยู่ร่วมกัน อันสะท้อนถึงความสัมพันธ์ของครอบครัวไทยในอดีตอย่างชัดเจน                                        

จุดเด่นประเภทของไม้ที่นำมาทำโครงสร้างบ้านไม้

  • ไม้เนื้อแข็ง เป็นไม้ที่มีความแข็งแรงสูงมากกว่า 1,000 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร มีความทนทานสูงมากกว่า 6 ปี เช่น เต็ง รัง มะค่าโมง มะเกลือ แดง เป็นต้น ไม้กลุ่มนี้เหมาะสมกับการนำมาทำเป็นโครงสร้างบ้านไม้เรือนไทย เช่น ตง วาน วงกบ ประตู หน้าต่าง โครงหลังคา และเสา เป็นต้น
  • ไม้เนื้อแข็งปานกลาง เป็นไม้ที่มีความแข็งแรงรองรับน้ำหนักได้ราว 600 ถึง 1,000 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร มีความทนทานของเนื้อไม้เฉลี่ย 6 ปี เช่น ตะแบก ตาเสือ ยูง ตะเคียนทอง มะค่าแต้ พลวง นนทรี เป็นต้น นิยมนำมาทำเป็นเครื่องเรือน ทำบานประตู หน้าต่าง แกะสลักต่าง ๆ ทำพื้น เพดาน ฝา และที่ใส่ของต่าง ๆ
  • ไม้เนื้ออ่อน เป็นไม้ที่มีความแข็งแรงเฉลี่ยน้อยกว่า 600 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร มีความทนทานต่ำ และมีอายุการใช้งานสั้นประมาณ 2 ปี ไม้ประเภทนี้ได้แก่ ยางแดง พญาไม้ พะยอม กวาด กระเจา ไม้กลุ่มนี้นำมาใช้ในงานก่อสร้างทั่วไป เช่น ใช้เป็นไม้ฝา ไม้คร่าว ฝ้าเพดาน คร่าวฝา เป็นต้น                        

ประเภทไม้การดูแลบ้านเรือนไทย

โครงสร้างบ้านไม้เรือนไทย จะมีซอกมุมที่ค่อนข้างมาก และตัวเรือนที่มีลักษณะเปิดโล่ง จึงมักจะมีฝุ่นละอองมาเกาะให้สกปรกได้ง่าย ดังนั้น การดูแลบ้านเรือนไทย จึงจำเป็นที่จะต้องดูแลและใส่ใจอยู่ตลอดเวลา อาทิ

  • ปัดกวาดฝุ่นละออง และเช็ด ถู ฝาผนัง ซอกมุมต่าง ๆ อยู่เสมอ
  • พื้นที่ยกสูงเป็นใต้ถุนเรือนและโครงสร้างหลังคาที่เปิดโล่ง มักจะมีแมงมุมมาอาศัยก่อชักใยอยู่เสมอ จึงหมั่นคอยปัดกวาดหยากไย่เพื่อมิให้เป็นที่สะสมของฝุ่นละออง
  • นอกจากนี้ โครงสร้างบ้านเรือนไทย จะมีโครงสร้างเป็นไม้ จึงมีอายุการสึกกร่อนที่รวดเร็วกว่าบ้านคอนกรีตสมัยใหม่ ดังนั้น จึงคอยหมั่นตรวจสอบเนื้อไม้อยู่เสมอ โดยเฉพาะพื้นที่ที่สัมผัสน้ำหรือเปียกชื้นตลอดเวลาซึ่งจะเสี่ยงต่อการผุกร่อนได้ง่าย รวมถึงต้องเฝ้าระวังศัตรูสำคัญคือ ปลวก อยู่สม่ำเสมอ                      

การดูแลโครงสร้างบ้านไม้แบบไหนไม่เหมาะกับอากาศในประเทศไทย

สภาพอากาศของประเทศไทย ค่อนข้างร้อนและชื้นตลอดทั้งปี ดังนั้น บ้านไม้ที่มีโครงสร้างที่ปิดทึบ ไม่มีช่องลมระบาย หลังคาต่ำ จึงไม่เหมาะสมกับการปลูกสร้างในประเทศไทย แต่ทั้งนี้ ปัจจุบันกระแสของบ้านไม้สไตล์ตะวันตกที่มีลักษณะดังกล่าวมีความแพร่หลายในประเทศไทย จึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีการปลูกสร้างบ้านไม้โครงสร้างแบบนี้ในบ้านเรา ซึ่งหากจำเป็นที่จะปลูกบ้านไม้ที่มีโครงสร้างเช่นนั้น ก็ควรที่จะติดตั้งระบบปรับอากาศภายในบ้านด้วย 

อากาศในประเทศไทยบ้านเรือนไทย มีโครงสร้างและองค์ประกอบหลักของเรือนไทย ที่มีความแตกต่างกันไปตามภูมิภาคของประเทศไทย ซึ่งล้วนแต่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่นทั้งในเชิงช่างและสถาปัตยกรรม การจะปลูกสร้างเรือนไทย จำเป็นที่จะต้องเลือกชนิดของไม้ให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน <>จึงเป็นปัจจัยสิ่งสำคัญ ดังนั้นผู้อยู่อาศัยควรตรวจสอบ และซ่อมแซมไม้ให้มีสภาพพร้อมใช้งาน ตลอดจนดูแลทำความสะอาดให้ดูสวยงามอยู่เสมอ 

ที่มาภาพประกอบ :

http://baanthaiderm.weebly.com

https://www.wikiwand.com

https://sites.google.com

https://sites.google.com

http://student.nu.ac.th

https://www.agoda.com

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร