Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

แก้ปัญหาโรงพยาบาลไม่เพียงพอด้วย "CURA" รับมือ Covid-19

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

แม้ว่าปัจจุบันสถานการณ์โควิด-19 ในบ้านเราดีขึ้น แต่ก็ยังไม่มีอะไรการันตีว่าประเทศไทยจะไม่มีโอกาสเข้าระยะที่ 3 ของการแพร่ระบาด แล้วสถานพยาบาลในบ้านเราเพียงพอต่อการให้บริการหรือไม่ ถ้ามองดูตัวอย่างจากต่างประเทศที่มีการระบาดหนัก โรงพยาบาลเดิมมักจะไม่สามารถรองรับผู้ป่วยได้ แล้วจะทำยังไงหากเกิดปัญหานี้ในไทย จะให้สร้างโรงพยาบาลใหม่ก็อาจจะไม่ทันการณ์ Baania ขอแนะนำแนวทางในการแก้ไขปัญหานี้ด้วย "CURA" ตู้คอนเทรนเนอร์ที่ถูกเปลี่ยนสภาพมาเป็นห้องดูแลผู้ติดเชื้อ ซึ่งจะมีหน้าตาเป็นยังไงมาดูกันครับ

CURA คืออะไร?

CURA เป็นตู้คอนเทรนเนอร์ที่ถูกดัดแปลงมาให้เป็นห้องดูแลผู้ติดเชื้อ (Intensive-Care Units, ICU) โดยคำว่า CURA มาจากคำว่า "Connected Units for Respiratory Ailments" และเป็นคำว่า "รักษา" ในภาษาลาติน CURA ถูกออกแบบโดยสตูดิโอของสถาปนิกขาวอิตาลี Carlo Ratti Associati และ สถาปนิก Italo Rota รวมไปถึง สตูดิโอวิศวกร Jacobs และ ดิจิตอลสตูดิโอ Squiny/Opera ผู้ผลิตวีดีโออธิบายแนวคิดของโปรเจคนี้ รวมไปถึงทีมงานอื่นๆจากอีกหลายแห่ง โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาเพื่อตอบสนองความขาดแคลนห้องดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาลและต้องการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค

CURA ถูกสร้างขึ้นจากตู้คอนเทรนเนอร์ขนาดยาว 6.05 กว้าง 2.44 เมตร และสูง 2.59 เมตร ยูนิตต้นแบบถูกสร้างและติดตั้งครั้งแรกที่เมืองตูริน อิตาลี ซึ่งเป็นประเทศที่มีการระบาดของเชื้อโควิด-19 ค่อนข้างมาก

ไอเดียเบื้องต้นของ CURA คือการสร้างสิ่งก่อสร้างชั่วคราวที่สามารถติดตั้งได้จำนวนมากๆคล้ายกับเต็นท์พยาบาลแต่ผลิตด้วยวัสดุที่ดีขึ้นและสามารถป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสได้ (biocontainment with negative pressure) โดยยูนิตแต่ละยูนิตตะถูกสร้างขึ้นด้วยตู้คอนเทรนเนอร์ที่ถูกนำกลับมาใช้งานใหม่ โดยออกแบบให้เป็นห้อง Negative Pressure Room สำหรับการใช้เป็นห้องพักสำหรับผู้ติดเชื้อ อาทิ Ebola, Sars รวมถึง Covid-19 ซึ่งเป็นระบบที่ใช้กันในโรงพยาบาลและห้องแล็ปทั่วไป ตามมาตรฐาน Airborne Infection Isolation Rooms (AIIRs) และการที่มันเป็นตู้คอนเทรนเนอร์อยู่แล้ว ทำให้สามารถขนส่งด้วยเรือและรถบรรทุกได้ง่าย

แต่ละยูนิตสามารถใส่อุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์เพื่อทำเป็นห้องรักษาหรือห้องพักต่างๆได้ ทั้งยังสามารถเชื่อมต่อกับยูนิตอื่นเพื่อทำเป็นยูนิตที่ใหญ่ขึ้นได้ด้วย โดยสามารถวางยูนิตต่อเพิ่มออกมาจากโรงพยาบาลเดิมในพื้นที่โล่งอย่างที่จอดรถและสวนหรือวางยูนิตแยกออกมาในสนามของโรงพยาบาลเพื่อให้สามารถรองรับผู้ป่วยได้เพิ่มมากขึ้น

CURA เป็นโปรเจคที่ไม่แสวงหากำไรและเปิดให้ทุกคนและทุกประเทศสามารถนำไอเดียของ CURA ไปใช้เพื่อรับมือกับสถานการณ์โรคระบาดต่างๆได้ โดยคนที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://curapods.org ซึ่งจะมีไฟล์บอกรายละเอียดต่างๆรวมทั้งแบบก่อสร้างที่สามารถนำไปใช้จริงได้ให้ดาวน์โหลดกันได้ด้วย ก็นับว่าน่าสนใจมากทีเดียว อาจจะตอบโจทย์ได้มากกว่าการสร้างอาคารในโรงพยาบาลเพิ่มเติมก็ได้

ที่มา:

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร