Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

วิธีทําโต๊ะเลื่อยวงเดือนสำหรับมือใหม่

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

อุปกรณ์ที่ช่างไม้คงคุ้นเคยเป็นอย่างดี แต่รู้หรือไม่ว่าใคร ๆ ก็สามารถทำโต๊ะเลื่อยวงเดือนไว้ใช้งานเองได้ ด้วยวิธีการทำโต๊ะเลื่อยวงเดือนสำหรับมือใหม่ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน โดยเป็นเทคนิคและขั้นตอนง่าย ๆ ไม่ต้องไปเสียเงินจ้างช่างให้สิ้นเปลืองอีกต่อไป 

โต๊ะเลื่อยวงเดือนคืออะไร

โต๊ะเลื่อยวงเดือน อุปกรณ์สารพัดประโยชน์ของช่างไม้ที่สามารถใช้งานได้หลายอย่างไม่ว่าจะเป็น การตัด การเลื่อย การซอย การตัดเข้ามุม การตัดเรียว หรือการเดือยแบบต่าง ๆ ซึ่งเลื่อยชนิดนี้สามารถใช้งานได้อย่างง่ายดาย การทำงานจะขับเคลื่อนโดยมอเตอร์ ฉะนั้นประเภทและขนาดของมอเตอร์จึงเป็นตัวแปรสำคัญในการทำงานของโต๊ะเลื่อยวงเดือนเป็นอย่างมาก กลไกการทำงานของมอเตอร์จะประกอบไปด้วย สายพาน ร่องสายพาน เพลา และตลับลูกปืน เป็นต้น 

แบบโต๊ะเลื่อยวงเดือนมีทั้งหมด 2 แบบคือ โต๊ะเลื่อยวงเดือนแบบทำงานหนักที่ใช้ในโรงงานใหญ่ และ โต๊ะเลื่อยวงเดือนแบบธรรมดาที่ใช้ทำงานช่างทั่วไป

โต๊ะเลื่อยวงเดือนโต๊ะเลื่อยวงเดือนใช้ทำอะไรได้บ้าง

อุปกรณ์อเนกประสงค์โต๊ะเลื่อยวงเดือน สามารถทำได้สารพัดอย่าง ทั้งการตัดไม้เป็นเส้นตรง ตัดไม้แบบขวาง ตัดตามแนวของเสี้ยนไม้ ตัดไม้เป็นมุม เซาะร่อง และทำบังใบได้อีกด้วย โดยความละเอียดของผิวไม้จะขึ้นอยู่กับความถี่ของฟันใบเลื่อย ยิ่งถี่เท่าไหร่จะยิ่งตัดเนื้อไม้ได้ละเอียดเท่านั้น ถ้าเป็นใบเลื่อยที่มีความถี่ห่างจะทำให้ตัดเนื้อไม้ออกมาได้ค่อนข้างหยาบและไม่เรียบเนียนเท่าไหร่นัก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าจะนำไปใช้งานสำหรับงานช่างแบบใด

ใช้ทำอะไรวัสดุสำหรับทำเลื่อยวงเดือน

ก่อนที่จะเริ่มทำโต๊ะเลื่อยวงเดือน ควรมาทำความรู้จักกับวัสดุที่ใช้ทำเลื่อยวงเดือนกันก่อนว่าประกอบไปด้วยอะไรบ้าง โดยส่วนประกอบสำคัญของเลื่อยวงเดือนคือ ใบเลื่อยและตัวเครื่อง 

โดยเลื่อยวงเดือนจะสามารถประกอบเข้ากับโต๊ะได้ ส่วนของใบเลื่อยจะมีลักษณะเป็นวงกลม จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดตั้งแต่ 8-16 นิ้ว มีซี่ฟันบนใบเลื่อยหลายซี่ ใช้สำหรับตัดชิ้นงานได้อย่างแม่นยำ สามารถนำไปตัดชิ้นไม้ หรืออะลูมิเนียมเพื่อนำไปประกอบเฟอร์นิเจอร์ หรือโครงสร้างต่าง ๆ 

ทั้งนี้ ควรเลือกชนิดเลื่อยให้เหมาะสมกับการใช้งาน ไม่เช่นนั้นอาจจะเกิดอันตรายต่อผู้ใช้งานได้ หากไม่มั่นใจ แนะนำว่าควรติดต่อผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน หรือให้มีผู้ที่ชำนาญในการใช้เครื่องมือคอยดูอยู่ตลอดขณะที่ใช้งาน

วัสดุวิธีทำโต๊ะเลื่อยวงเดือนด้วยตัวเอง

การทำโต๊ะเลื่อยวงเดือนไม่ยากอย่างที่หลายท่านคิด เพราะปกติช่างจะนำโต๊ะเลื่อยวงเดือนไปประกอบที่ไซต์งานอยู่แล้ว ซึ่งใช้เวลาไม่ถึงชั่วโมง มาดูกันเลยดีกว่าว่ามีวิธี ขั้นตอนในการประกอบ อุปกรณ์ และเทคนิคอย่างไรกันบ้าง 

  1. เริ่มจากเตรียมอุปกรณ์ไม้อัด 10 มิลลิเมตร 1 แผ่น และ ไม้โครงทุเรียน 1 มัด เพื่อใช้ประกอบโต๊ะ และเลื่อยวงเดือน
  2. ยิงโครงตัวตั้งเข้าไปที่โครงตัวนอน และตัดขาโต๊ะซึ่งความยาวจะขึ้นอยู่กับสรีระของผู้ใช้งาน
  3. ใส่ขาโต๊ะที่ตัดไว้ทั้ง 4 มุม ยิงตะปูยึดไว้ และยึดตัวกันขาถ่างออก
  4. เริ่มวัดระยะตำแหน่งในการวางเลื่อยวงเดือนโดยห่างจากขอบ 30 เซนติเมตร
  5. ยึดแท่นเลื่อยด้วยเกลียวปล่อย
  6. ยิงไม้ทะแยงมุมเพื่อกันโต๊ะโยกขณะใช้งาน
  7. เปิดเครื่องเลื่อยโดยดันเลื่อยขึ้นมาให้โผล่หน้าโต๊ะ ให้แน่ใจว่าเห็นใบเลื่อยโผล่ขึ้นมา
  8. วัดระยะจากใบเลื่อยเข้าไปทางด้านในตัวโต๊ะ 4 เซนติเมตร
  9. นำใบเลื่อยที่โผล่ขึ้นมาลง และปิดด้วยไม้อัดทับ
  10. เปิดเครื่องและดันไปเลื่อยขึ้นมาอีกครั้งให้ผ่านไม้อัดที่ทับเพิ่มเข้าไป
  11. วางไม้อัด 10 มิลลิเมตร ขนาดกว้าง 40 เซนติเมตร ชิดกับไม้อีกด้าน และวางตั้งฉากแนบกับใบเลื่อยที่โผล่ขึ้นมา
  12. วางไม้ท่อนที่สองตามลงไป แล้วยิงตะปูที่ไม้ทั้งสองอันให้ติดกัน จะได้เป็นไม้สไลด์ที่ใช้ในการตัดไม้ได้
  13. นำไม้อัดแผ่นที่สามมาวางไว้ใกล้ ๆ กับไม้อัดแผ่นที่สอง และลองขยับไม้สไลด์ดูว่าสามารถเลื่อนรางสไลด์เลื่อยวงเดือนได้ไม่เเน่นจนเกินไปจากนั้นสามารถยิงยึดกับโต๊ะได้เลย
  14. ติดสวิตซ์ และปลั๊กไฟเพื่อต่อเลื่อยพร้อมใช้งาน
  15. ควรทำการทดสอบการใช้งานอย่างระมัดระวัง และปรึกษาช่างผู้เชี่ยวชาญเพื่อความปลอดภัย

วิธีทำโต๊ะเลื่อยวงเดือนข้อควรรู้เกี่ยวกับเลื่อย

เลื่อยแต่ละชนิดจะเหมาะกับการใช้งานที่ต่างกันออกไป เพื่อการตัดชิ้นงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรศึกษาขั้นตอนการทำโต๊ะเลื่อยวงเดือนให้ดีก่อนลงมือทำ หากทำผิดพลาดไปแม้แต่ขั้นตอนเดียว อาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้งานได้ เพราะเลื่อยถือเป็นอุปกรณ์มีคม ควรใช้งานอย่างระมัดระวังอยู่เสมอ

ข้อควรรู้เกี่ยวกับเลื่อยการบำรุงรักษาเลื่อยวงเดือน

หลังจากใช้ เลื่อย ทำงานมาอย่างหนักหน่วง ควรหมั่นดูแลทำความสะอาดเพื่อยืดอายุการใช้งานของเลื่อยวงเดือนให้ยาวนาน และเพื่อประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด วิธีการดูแลสามารถทำตามได้ง่าย ๆ ดังนี้

  • ทำความสะอาดทุกครั้งหลังใช้งาน

เมื่อใช้งานเลื่อยวงเดือนเสร็จแล้ว ควรทำความสะอาดเลื่อยทุกครั้งหลังใช้งานเป็นประจำ เพื่อยืดอายุการใช้งานให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ตรวจเช็คใบเลื่อยอยู่เสมอ

ควรตรวจสอบใบเลื่อยทุกครั้งทั้งก่อนและหลังการใช้งาน เพราะเมื่อใช้งานบ่อยครั้ง อาจจะทำให้เกิดรอยบิ่น รอยชำรุด ฟันเลื่อยเริ่มไม่คม ควรถอดเปลี่ยนหรือลับใบเลื่อยให้คมเพื่อความปลอดภัย และการใช้งานที่ดี

  • ฟังเสียงการทำงานของใบเลื่อย

เมื่อเปิดใช้งานเลื่อยวงเดือนเเล้วเกิดเสียงที่ผิดปกติไปจากเดิม ให้รีบปิดเครื่องทันทีและเรียกช่างผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบว่าเกิดจากสาเหตุใด เพื่อทำการซ่อมแซมให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ

  • วิธีป้องกันสนิมบนใบเลื่อย

บางครั้งเมื่อหยุดใช้งานเลื่อยวงเดือนเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดสนิมเกาะที่ใบเลื่อยได้ ดังนั้นวิธีแก้ไขคือ ควรทำความสะอาดทั้งภายนอก และภายในตัวเครื่อง จากนั้นใช้ผ้าชุบน้ำมันเช็ดเคลือบให้ทั่ว จบด้วยการใช้ผ้าคลุมทับอีกชั้นเพื่อกันฝุ่น หรือสิ่งแปลกปลอม ที่สำคัญไม่ควรเก็บไว้ในที่ชื้น

  • ใช้เลื่อยให้ตรงกับลักษณะการใช้งาน

การใช้เลื่อยผิดประเภท และไม่เหมาะสมต่อการใช้งาน จะทำให้ใบเลื่อยเสียหายได้ง่าย ดังนั้น ควรมั่นใจว่างานช่างนี้เหมาะกับการทำงานด้วยเลื่อยประเภทใด 

  • ใส่ฝาครอบใบเลื่อยเสมอ

นอกจากจะช่วยให้ใบเลื่อยสะอาดอยู่เสมอ ยังช่วยป้องกันอันตรายได้ด้วย เพราะใบเลื่อยวงเดือนมีฟันรอบ ๆ ที่เเหลมคมมากหากไม่ระวังเผลอไปโดนเข้า จะทำให้ผู้ใช้งานได้รับบาดเจ็บได้

บำรุงรักษาจะเห็นได้ว่า เลื่อยวงเดือน เป็นเครื่องมือช่างพื้นฐานที่ควรมีติดบ้าน ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย สะดวก รวดเร็ว ทำให้ช่างไม้มักเลือกหยิบอุปกรณ์ชิ้นนี้ไปใช้งาน เพราะช่วยเปลี่ยนงานยากให้เป็นงานง่าย ประหยัดเวลา งานเสร็จไว
ดังนั้น วิธีทำโต๊ะเลื่อยวงเดือน เพื่อติดบ้านไว้ใช้ประโยชน์ก็เป็นความคิดที่ดี เเละเชื่อว่าได้ใช้ประโยชน์อย่างแน่นอน 

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร