Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

ตอม่อ เรื่องที่ควรรู้ก่อนสร้างบ้าน

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

หลายคนเมื่อพูดถึงงานก่อสร้างอาจเคยได้ยินหรือคุ้นเคยกับคำว่า “รากฐาน” หรือ คำว่า “ตอม่อ” ซึ่งในงานก่อสร้างทุกประเภท หากรากฐานมีความมั่นคง สิ่งปลูกสร้างนั้นๆก็ย่อมมีความมั่นคงแข็งแรงด้วย

1. ตอม่อคืออะไร

ตอม่อ ก็คือ เสาขนาดสั้น เป็นส่วนที่อยู่ล่างสุดระหว่างฐานรากกับคานพื้นชั้นล่าง มีความสูงประมาณ 50-100 เซนติเมตร โดยทั่วไปเสาตอม่อจะจมอยู่ใต้ดิน ระหว่างฐานรากกับคาน ทำหน้าที่รองรับโครงสิ่งก่อสร้างหรือรองรับน้ำหนักในทางแนวดิ่งเหมือนกับเสาทุกประการต่างกันเพียงตำแหน่งที่ตั้งเท่านั้น นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ถ่ายเทน้ำหนักลงสู่ฐานรากและเสาเข็ม รวมไปถึงเป็นตัวปรับระดับความสูง-ต่ำของระดับพื้นบ้านให้ได้ตามระดับที่กำหนดในแบบก่อสร้าง ซึ่งตอม่อเป็นวัสดุก่อสร้างที่มีความสำคัญอย่างมากเพราะทำหน้าที่รองรับน้ำหนักของเสาที่อยู่ชั้นบน ทำให้อาคารและสิ่งก่อสร้างนั้นๆมีความมั่นคงแข็งแรง

ตอม่อ

2. ตอม่อมีประโยชน์อย่างไร

หลายท่านอาจจะยังมีความสงสัยว่า ตอม่อ คืออะไรและมีประโยชน์อะไรในงานโครงสร้าง ซึ่งตอม่อที่ว่านี้ คือส่วนของโครงสร้างที่รับน้ำหนักของอาคารต่อมาจากเสา เพื่อถ่ายน้ำหนักลงสู่ฐานราก ก่อนจะถ่ายลงเสาเข็มหรือดินต่อไป ตำแหน่งของตอม่อจะอยู่ที่ระดับใกล้เคียงกับระดับพื้นดินหรือใต้ดินเล็กน้อย 

การก่อสร้างตอม่อจะทำต่อเนื่องกับการทำฐานราก ซึ่งจะมีการวางเหล็กให้ต่อเนื่องเพื่อหล่อคอนกรีตเป็นชิ้นเดียวกัน โดยมีตำแหน่งอยู่ที่กึ่งกลางของฐานราก จากนั้นจึงติดตั้งไม้แบบ เทคอนกรีตลงไปรอให้แห้งประมาณ 2 วันจึงถอดไม้แบบออก แล้วบ่มคอนกรีต  ต่อไปจนครบ 28 วัน จึงเริ่มทำเสา คาน และพื้นต่อไป โดยตอม่อที่นิยมใช้กันคือ ตอม่อคอนกรีตสำเร็จรูป เนื่องจากมีราคาถูก ใช้งานง่าย สะดวกรวดเร็ว เหมาะสำหรับงานก่อสร้างในพื้นที่ที่มีชั้นดินหรือชั้นหินแข็งแรง  หรืองานที่ไม่ต้องรับน้ำหนักจากโครงสร้างมาก เช่น บ้านไม้ชั้นเดียว  ระเบียง ทางเดินยกพื้น เป็นต้น

เนื่องจากต้องทำหน้าที่รับน้ำหนักของเสาที่อยู่ชั้นบน ซึ่งการวางตอม่อที่ถูกต้องจะต้องวางอยู่ในระดับเดียวกับพื้นดินหรือใต้ดินเล็กน้อย ในกรณีปลูกสร้างบ้านยกพื้นขึ้นไปสูงๆ ตัวอย่างโครงสร้างที่ต้องใช้เสาตอม่อตัวอย่างเช่น การก่อสร้างทางยกระดับนิยมขุดฝังฐานรากลงลึก เพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงดินทรุด โดยการเลือกใช้ต่อม่อก็มีทั้งแบบสำเร็จรูปและที่สามารถทำได้เอง

ซึ่งส่วนใหญ่แล้วตอม่อที่ได้รับนิยมจะเป็นตอม่อคอนกรีตสำเร็จรูป เนื่องจากมีราคาถูก ใช้งานง่าย อีกทั้งยังมีความสะดวกรวดเร็วในการทำงาน เหมาะสำหรับงานก่อสร้างในพื้นที่ที่มีชั้นดินหรือชั้นหินแข็งแรง หรืองานที่ไม่ต้องรับน้ำหนักจากโครงสร้างมาก แต่สำหรับใครที่ต้องการประหยัดงบประมาณมากกว่านั้นก็สามารถทำเองได้โดยใช้ส่วนผสมของปูนเป็นหลัก ซึ่งในส่วนของวิธีการทำก็ต้องใช้ความรู้ความชำนาญระดับหนึ่งทีเดียว

เพราะต้องดูหลายส่วนประกอบกันตั้งแต่การวางรากฐานว่าสามารถรับแรงลมได้หรือไม่ เพราะหากผู้รับเหมาใช้เสาเข็มผนังแบบเข็มเดี่ยวโดยไม่คำนึงถึงแรงลมหรือพายุที่มากระทบต่อสิ่งก่อสร้าง ก็อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดได้ ดังนั้นเราจึงต้องมีความรู้เบื้องต้นจะได้สามารถตรวจสอบและซักถามผู้รับเหมาก่อสร้างได้อย่างตรงจุด        

3. ตอม่อสำเร็จรูปดีอย่างไร

ปัจจุบันเสาตอม่อที่นิยมใช้กัน คือ ตอม่อคอนกรีตสำเร็จรูปที่ผลิตจากคอนกรีตเสริมเหล็ก นอกจากมีราคาถูก การออกแบบยังได้มาตรฐาน ราคาถูก ใช้งานง่าย สะดวกรวดเร็ว เหมาะสำหรับงานก่อสร้างที่ต้องรับน้ำหนักโครงสร้างมากๆเพื่อความมั่นคงแข็งแรง หรืองานที่ไม่ต้องรับน้ำหนักจากโครงสร้างมาก เช่น บ้านไม้ชั้นเดียว  ระเบียง ทางเดินยกพื้น

ตอม่อสำเร็จรูป

4. ตอม่อแบบปูน

สำหรับใครที่ไม่อยากใช้ตอม่อคอนกรีตก็สามารถใช่ตอม่อปูนได้เช่นกัน ซึ่งสำหรับตอม่อปูนนี้สามารถทำเองได้อีกด้วย โดยคุณสมบัติของตอม่อปูนก็จะเหมือนกันตอม่อคอนกรีตโดยมีหน้าที่รับน้ำหนักของอาคารต่อมาจากเสาเพื่อถ่ายน้ำหนักลงสู่ฐานราก ก่อนจะถ่ายลงเสาเข็มหรือดินต่อไปนั่นเอง

ตอม่อแบบปูน

5. วิธีหล่อตอม่อ

ในส่วนของวิธีการหล่อตอม่อนั้น เราต้องวางเหล็กเสริมเสาตอม่อไปพร้อมกับฐานราก และต้องตรวจสอบให้เสาตอม่ออยู่กึ่งกลางฐานราก ไม่ให้เกิดการเยื้องศูนย์ จากนั้นทำแนวการตั้งไม้แบบ โดยการขีดเส้นเพื่อสะดวกต่อการประกอบแบบหล่อ แล้วจึงติดตั้งแบบหล่อเสาตอม่อพร้อมค้ำยัน แล้วค่อยหาระดับความสูงของเสาตอม่อโดยเทียบกับระดับ +0.00

 ซึ่งระดับที่ได้นี้จะเป็นระดับการเทคอนกรีตด้วย ทำการเทคอนกรีตเสาตอม่อให้ได้ระดับตามที่ออกแบบไว้ และทำให้คอนกรีตแน่นขึ้นโดยใช้เครื่องสั่นคอนกรีตหรือใช้ไม้กระทุ้ง คอนกรีตที่ใช้เทต้องเป็นคอนกรีตสำหรับงานโครงสร้างโดยเฉพาะ ปล่อยให้คอนกรีตแข็งตัว ประมาณ 2 วัน ถึงจะถอดไม้แบบออกได้จากนั้นทำการบ่มคอนกรีตโดยจะใช้วิธีบ่มชื้นหรือใช้พลาสติกคลุมหรือใช้น้ำยาบ่มคอนกรีตก็ได้ เมื่อทำฐานรากและเสาตอม่อเรียบร้อยแล้วให้ทำการถมดินฐานราก และจะทำการก่อสร้างคาน พื้น เสา ในลำดับต่อไป

วิธีหล่อ

6. การออกแบบ

สำหรับการออกแบบต่อม่อก็ต้องมีจุดที่คำนึงหลายส่วนอยู่เหมือนกัน เนื่องจากว่าเสาตอม่อนั้นจะวางอยู่บนฐานราก ดังนั้นจึงเริ่มจากงานฐานรากก่อน โดยต้องดูว่าเสาเข็มสามารถรับแรงลมได้หรือไม่ ซึ่งบางครั้งเสาเข็มที่รับผนังใช้เข็มเดี่ยว ผู้ออกแบบไม่ได้คำนึงว่ายังมีแรงลมที่กระทำต่อด้านข้างของสิ่งก่อสร้าง ซึ่งเข็มเดี่ยวไม่สามารถรับโมเมนต์เนื่องจากแรงลมได้ บางรายยิ่งกว่านั้น หากไม่มีการเสริมเหล็กต่อเนื่องระหว่างเข็มและตอม่อ ก็ไม่ต่างจากการเอาดินสอมาตั้งบนโต๊ะ ทำให้สุดท้ายแล้วอาจจะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันอย่างการถูกพายุพัดพังลงทั้งหลังได้

การออกแบบ

7. การตรวจงาน

สำหรับการตรวจงานตอม่อเบื้องต้น เราต้องดูงานด้านโครงสร้างตั้งแต่เริ่มต้น คือการทำโครงสร้างของรากฐาน อันได้แก่ การลงเสาเข็ม และการหล่อตอม่อเพื่อรองรับโครงสร้างของเสาและคานที่จะต้องทำอย่างต่อเนื่องเป็นขั้นตอนถัดไป โดยฐานรากแท่งตอม่อจะต้องเป็นฐานคอนกรีตหล่อลึกลงไปในดินหรือน้ำ จนถึงระดับที่ต้องการและไม่อยู่ตื้นจนเกินไป

การตรวจงาน

จากบทความข้างต้นจะเห็นได้ว่าเสา "ตอม่อ" เป็นเสาสั้นๆที่มีความสำคัญต่องานโครงสร้างทุกประเภทเป็นอย่างมาก โดยทั่วไปเสาตอม่อจะจมอยู่ใต้ดิน เพราะใช้เป็นรากฐานที่ป้องกันอาคารเอียง หรือเกิดการสไลด์ของดินจากแผ่นดินไหว ทำหน้าที่รับแรงอัดหรือน้ำหนักในทางดิ่ง แล้วถ่ายน้ำหนักลงสู่ฐานรากและเสาเข็ม ส่วนมากจะมีความสูงประมาณ 50-100 เซนติเมตร เป็นเสาที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก 

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร