Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

10 เรื่องควรรู้ก่อนเลี้ยงแคคตัส

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

ต้นไม้เป็นสิ่งมีชีวิตที่ทำให้บ้านมีความเป็นธรรมชาติมากขึ้น หลายคนเลือก ‘แคคตัส’ มาปลูกเพราะคิดว่าดูแลง่าย แต่จริง ๆ แล้วการปลูกแคคตัสนั้นมีข้อควรทราบและข้อระวังด้วยเช่นกัน

1. รู้จักแคคตัส

แคคตัสเป็นพืชอวบน้ำ (succulent) พบมากในบริเวณพื้นที่แห้งแล้ง ส่วนรากและใบเป็นกลุ่มใบเลี้ยงคู่ โดยเชื่อกันว่ามีวิวัฒนาการมาตั้งแต่ในยุคโบราณประมาณ 20000 ปีที่แล้ว

ลักษณะทั่วไปของแคคตัสนั้นมีทั้งพันธุ์แบบมีหนามและไม่มีหนาม จัดอยู่ในวงศ์ Cactaceae เป็นไม้ยืนต้นที่มีตุ่มหนาม ความแข็งและแนวซี่ของความสูงนั้นขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ มีส่วนที่เป็นตาดอกและแตกกิ่งใหม่ได้เหมือนพืชทั่วไป

รู้จักแคคตัส2. ประโยชน์ของแคคตัส

นอกจากความสวยงามแล้ว แคคตัสยังมีประโยชน์มากกว่าที่คิด มีงานวิจัยจากต่างประเทศบ่งชี้ว่า เมื่อนำแคคตัสมาตั้งไว้หน้าคอมพิวเตอร์  จะช่วยลดรังสีที่แผ่ออกมาจากคอมพิวเตอร์ได้   ดังนั้นในต่างประเทศจึงนิยมนำแคคตัสมาปลูกในกระถางเล็ก ๆ และวางไว้บนหน้าโต๊ะคอมพิวเตอร์หรือบนโต๊ะทำงาน

นอกจากนี้ยังนิยมนำไปทำเป็นสารสกัดเพื่อลดอาการเมาค้างและลดน้ำหนักได้ด้วย และแคคตัสบางพันธุ์สามารถนำมาทำเป็นแยมเพื่อทานได้ และสำหรับด้านความงามหลายท่านอาจจะคุ้นเคยกับผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ทำจากแคคตัส

แต่หากจะกล่าวถึงประโยชน์ที่ได้รับโดยตรงจากต้นแคคตัสแบบไม่ผ่านการแปรรูป คงจะเป็นเรื่องความสบายตา การลดรังสีและทำให้ผู้ปลูกรู้สึกใกล้ชิดธรรมชาติมากขึ้น

ประโยชน์ของแคคตัส3. ปลูกแคคตัสไว้ที่ไหนดี

การเลือกพื้นที่ปลูกถือเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจ เพราะว่าแคคตัสก็ต้องการการดูแลไม่ต่างจากพันธุ์ไม้ชนิดอื่น สำหรับพื้นที่น้อยอย่างคอนโดหรืออพาร์ตเมนต์ หากอยากเลี้ยงแคคตัสควรนำไปตั้งไว้ตรงระเบียง หรือบริเวณที่มีแสงแดดส่องถึงตลอดทั้งวัน
แต่หากเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่หรือมีบริเวณหน้าบ้าน สนามหญ้าก็ควรนำแคคตัสไปวางบริเวณนั้นแต่ควรทำหลังคาใสเพื่อบังฝนด้วย 
แต่หากไม่สะดวกก็สามารถวางไว้เฉย ๆ ได้ แต่ต้องเตรียมยากันเชื้อราเอาไว้ใช้ในช่วงฤดูฝน เพราะแคคตัสจะมีความชื้นสูงหากไม่ใส่ยากันเชื้อราอาจจะทำให้เน่าตายได้

ปลูกแคคตัสไว้ที่ไหนดี4. สายพันธุ์แคคตัสที่ได้รับความนิยม

ต้นแคคตัสนั้นมีหลากหลายสายพันธุ์มาก สามารถแตกแขนงออกได้หลายวงศ์ แต่ครั้งนี้จะมาแนะนำ 5 สายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในไทย

1. พันธุ์แอสโตรไฟตัม (Astrophytum)
เป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะว่าเป็นพันธุ์ที่เลี้ยงง่ายและออกดอกได้ไวสุด เหมาะสำหรับมือใหม่หัดปลูกมากทีเดียว เมื่อครบอายุ 1 ปีก็จะออกดอกโดยจะมีมากสุดในช่วงฤดูร้อน

2. พันธุ์อิชินอปซิส (Echinopsis)
ลักษณะของสายพันธุ์นี้จะอยู่แบบเป็นกอ ส่วนดอกมีสีขาวและแปลกกว่าทุกพันธุ์ เพราะว่าดอกจะบานสวยตอนช่วงเที่ยงคืนจนถึงแปดโมงเช้าเท่านั้น เป็นแคคตัสประเภทหนามแต่ไม่แหลมเหมือนพันธุ์อื่น ๆ

3. พันธุ์ช้าง (Coryphantha)
ลักษณะพิเศษของสายพันธุ์นี้คือเป็นไม้เพาะเมล็ดที่แตกออกเป็นมอนส์ มีหัวเดี่ยว ๆ ค่อนข้างโตหน่อย ออกดอกเป็นสีชมพูสวย ส่วนของดอกจะใหญ่กว่าพันธุ์อื่น ดอกมักจะผลิบานในช่วงฤดูฝน

4. พันธุ์ดิสโก้ (Discocatus)
ลักษณะพิเศษอยู่ที่ดอกมีกลิ่นหอม จะบานช่วงกลางคืนจนถึงเช้าตรู่ เป็นพันธุ์ที่มีหนามค่อนข้างฟูและเยอะกว่าพันธุ์อื่น แต่ไม่คมมากเท่าไหร่นัก

5. พันธุ์ยิมโนหัวสี (Gymnocalycium)
ลักษณะพิเศษคือสีสันที่สวยงามของดอก ยิมโนหัวสีไม่ต้องการน้ำเยอะหรือน้ำน้อยเกินไป ต้องการการดูแลเป็นพิเศษและมีระยะเวลาทิ้งช่วงนานมากกว่าจะออกดอก

สายพันธุ์แคคตัสที่ได้รับความนิยม5. การเลือกและย้ายกระถางแคคตัส

เชื่อว่าอาจจะมีหลายคนที่เคยเลี้ยงแคคตัสแล้วแต่ไม่ประสบความสำเร็จ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแล และที่สำคัญไม่เคยเปลี่ยนย้ายกระถาง จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้แคคตัสเน่าตาย
สำหรับวิธีการย้ายกระถางอย่างถูกต้องนั้นจะมีปัจจัยของระยะเวลามาเป็นส่วนประกอบ รวมถึงสภาพแวดล้อมที่ใช้ปลูก แคคตัสอีกด้วย โดยส่วนมากมักจะเปลี่ยนกระถางใหม่ทุก ๆ 6 เดือน 

แต่หากเป็นต้นที่แข็งแรง แค่เปลี่ยนปีละครั้งก็เพียงพอ หากระถางในขนาดที่เหมาะสมกับพันธุ์แคคตัส ใส่หน้าดินและอาหารของแคคตัสลงไปก่อนจะใส่ต้นพันธุ์ กลบด้วยดินและตามด้วยกรวด หมั่นใส่ปุ๋ยให้อาทิตย์ละครั้งก็เพียงพอ

ย้ายกระถางแคคตัส6. วิธีปลูกแคคตัส

สำหรับมือใหม่หัดปลูกแคคตัส ลองมาเรียนรู้การปลูกอย่างถูกวิธี เพื่อหลีกเลี่ยงการเน่าตาย โดยมีวิธีดังนี้
1. เริ่มจากใส่วัตถุดิบเพื่อรองกระถาง อาจจะเป็นกรวดหรือหินแล้วแต่สะดวก ใส่ไปประมาณ1/3 ของกระถางเพื่อให้น้ำไหลผ่านได้
2. เทดินลงไปหลึกพอดีกับต้นและราก
3. วางแคคตัสลงไปโดยจัดให้อยู่ตรงกลางกระถาง เมื่อพอดีแล้วให้ตักดินใส่ให้รอบต้น โดยดินจะต้องต่ำกว่ากระถาง 1 เซนติเมตร
4. ให้ใส่ปุ๋ยแบบละลายช้าในปริมาณน้อย แต่หากไม่ได้เตรียมปุ๋ยมาก็ไม่ต้องใส่ เพราะในดินนั้นมีแร่ธาตุอาหารที่จำเป็นกับ   แคคตัสอยู่แล้ว
5. ปิดหน้าดินด้วยหินหรือกรวดแล้วแต่สะดวก ไม่ต้องโรยหนามากเพราะเดี๋ยวน้ำจะไหลผ่านไม่สะดวก จากนั้นนำแคคตัสที่ปลูกเรียบร้อยแล้วไปวางไว้ในที่ที่แสงแดดเข้าถึงได้ตลอดทั้งวัน

วิธีปลูกแคคตัส7. การให้น้ำและใส่ปุ๋ย

โดยทั่วไปแล้วแคคตัสไม่ต้องการน้ำมากจนเกินไป ควรรดน้ำอาทิตย์ละ 2 ครั้งกำลังดี วิธีรด ควรใช้ฝักบัวรดให้ทั่วถึงไปจนน้ำผ่านก้นกระถาง หรือหากว่าไม่มีฝักบัว ให้นำกระถางไปแช่ในกะละมังที่รองน้ำไว้แล้ว เพื่อให้น้ำไหลย้อนขึ้นจากก้นกระถางไปยังหน้าดิน ในส่วนของการให้ปุ๋ยนั้น ให้อาทิตย์ละครั้งก็เพียงพอแล้ว ในการใส่แต่ละครั้งไม่ควรใส่เยอะเกินไป เพราะอาจทำให้แคคตัสตายได้ ควรใส่น้อย ๆ แต่เน้นให้ถูกแสงแดดและหมั่นดูเชื้อราก็เพียงพอ

การให้น้ำและใส่ปุ๋ย8. วิธีป้องกันโรคและศัตรูพืช

ถึงแม้แคคตัสเป็นต้นไม้ที่ทนต่อโรค แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มี เพราะ  โรครา ดูเหมือนจะชอบแคคตัสมากเป็นพิเศษ ซึ่งหากรดน้ำมากเกินไป หรือนำไปไว้ในพื้นที่อับชื้น ไม่โดนแสงแดดอย่างเพียงพอก็จะทำให้เกิดโรครา ดังนั้นวิธีการป้องกันโรคและศัตรูคือ

  1. รดน้ำแต่พอดีอาทิตย์ละสองครั้ง
  2. หมั่นนำไปวางไว้ในพื้นที่ที่แสงแดดเข้าถึง
  3. เช็คกระถางเป็นประจำว่าระบายน้ำได้ดีหรือไม่ เพราะหากตอนปลูกมีการใส่ดินแน่นเกินไปหรือรองกระถางด้วยหินที่มีความหนาแน่น อาจจะทำให้น้ำถ่ายเทไม่สะดวกจนทำให้เกิดโรคได้
  4. อย่าลืมใช้ยากันเชื้อรา โดยใส่เดือนละหนึ่งครั้ง

วิธีป้องกันโรคและศัตรูพืช9. การขยายพันธุ์แคคตัส

เมื่อประสบความสำเร็จในการปลูกแคคตัสจนออกดอกและอยากจะขยายพันธุ์ด้วยตัวเองก็สามารถทำได้ด้วย 3 วิธีดังนี้

1. วิธีเพาะเมล็ด
เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดและใช้เวลาไม่นานในการงอก และยังได้จำนวนต้นใหม่ในปริมาณมากกว่าเดิมด้วย 
เริ่มต้นจากนำเมล็ดที่ต้องการจะเพาะไปตากให้แห้งสนิท จากนั้นค่อยนำมาโรยลงบนหน้าดินที่ผสมระหว่างทรายกับฮิวมัส เมื่อเรียบร้อยแล้ว โรยทับด้วยทราย และที่สำคัญคือต้องมีการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อราแบบเข้มข้นเพื่อป้องกันราขณะเพาะเมล็ดด้วย

2. วิธีตัดแยกส่วนกิ่ง
เหมาะที่จะทำก่อนช่วงฤดูฝน เพราะว่าต้นที่ถูกตัดแยกนั้นเสี่ยงต่อการเกิดราได้ง่าย ให้นำต้นกิ่งหรือหัวมาผึ่งให้แห้งเสียก่อน แล้วนำไปจุ่มผงอะลูมิเนียมหรือฮอร์โมนเร่งรากอย่างเช่น NAA เพื่อป้องกันการเกิดโรค นำไปชำในกระถางที่มีแร่ธาตุดิน ซึ่งจะต้องเป็นกระถางที่ระบายน้ำได้ดีด้วย

3. วิธีการต่อยอด
มักจะทำกับแคคตัสที่ไม่ใช่พันธุ์สีเขียวอย่างเช่น พันธุ์ Gymnocalycium โดยจะนำมาต่อกับต้นตอของสกุลสีเขียวอย่าง Cereus เนื่องจากว่ามีสารคลอโรฟิลล์ในการสังเคราะห์แสงเพื่อสร้างอาหารและดูดซึมน้ำได้ดี การต่อยอดนั้นจะช่วยร่นระยะเวลาการออกดอกให้เร็วขึ้น

การขยายพันธุ์แคคตัส10. แคคตัสโตช้าหรือไม่ออกดอก 

จริง ๆ แล้วมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้แคคตัสเติบโตช้าไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ ฤดูกาล สภาพอากาศ อายุของต้นและการดูแลเลี้ยงดู ฉะนั้นจะต้องไล่ไปทีละอย่างเพื่อหาสาเหตุว่า เหตุใดแคคตัสที่ปลูกจึงไม่ออกดอก?

ตัวอย่างเช่น การเลือกสายพันธุ์ที่โตช้ามาปลูก ก็อาจจะต้องอดใจรอเพื่อให้ถึงระยะเวลาของพันธุ์นั้น ๆ ในการออกดอก หรือเวลาเลี้ยงดู อาจจะขาดน้ำหรือขาดแสงแดดมากเกินไป หากอาหารในดินไม่เพียงพอเพราะไม่ได้รับปุ๋ย ก็อาจจะทำให้โตช้าหรือไม่ออกดอกได้เช่นกัน ฉะนั้นควรไปหาสาเหตุก่อนเพื่อจะได้แก้ไขให้ตรงจุด

แคคตัสโตช้าการปลูก ‘แคคตัส’ ไม่ยากแต่ก็ไม่ง่ายเช่นกัน เพราะสิ่งมีชีวิตบนโลกนี้ ล้วนต้องการการเอาใส่ใจและดูแลอย่างเพียงพอ จากข้อมูลเบื้องต้นทั้ง 10 เรื่องนี้ น่าจะช่วยให้ตัดสินใจได้ว่าควรนำแคคตัสมาปลูกหรือไม่

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร