Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

คมนาคมเคลียร์คำถาม ม.44 รถไฟฟ้าไทย-จีน ชี้เร่งรัดเพื่อประโยชน์ของชาติ ย้ำสิทธิพิเศษเป็นไปตาม MoU

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

นายจิรุตม์ วิศาลิตร ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม ในฐานะโฆษกกระทรวง ชี้แจงเกี่ยวกับประกาศราชกิจจานุเบกษา คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 30/2560 เรื่อง มาตรการเร่งรัดและเพิ่มประสิทธิภาพการดําเนินการโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพนครราชสีมา ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 มิถุนายนที่ผ่านมา

กรณีดังกล่าวเป็นการใช้อำนาจตามมาตรา 44 ซึ่งก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้าง โดยเฉพาะในสังคมออนไลน์ ซึ่งมีบุคคลต่างๆ ให้ความเห็นและข้อสงสัยเกี่ยวกับประเด็นนี้ อาทิ นายดวงฤทธิ์ บุนนาค สถาปนิกชื่อดัง ซึ่งมีความกังวลว่า การอนุญาตให้สถาปนิกจากจีนเข้ามาทำงานได้โดยไม่ต้องขอรับใบอนุญาตนั้น จะเปิดช่องให้สถาปนิกชาติอื่นเข้ามาเจรจาขอทำงานได้ด้วยเช่นกัน

เนื่องจาก สถาปนิกชาติอื่นสามารถอ้างถึง หลักการว่าด้วยการไม่เลือกปฏิบัติของ องค์การการค้าโลก (WTO) ทำให้สถาปนิกทุกชาติทั่วโลกในสนธิสัญญา WTO เข้ามาปฏิบัติวิชาชีพในไทยได้อย่างเสรีทันที โดยไม่ต้องขอใบอนุญาตปฏิบัติวิชาชีพ ทำให้คนไทยที่ประกอบอาชีพนี้เดือดร้อน  

 

นายจิรุตม์ชี้แจงว่า การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปตามโครงการตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีน ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟในกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558-2565 เท่านั้น ซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องกับประเด็นสนธิสัญญา WTO แต่อย่างใด

ขณะเดียวกัน นายชวลิต วิชยสุทธิ์ อดีตรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทยให้ความเห็นว่า ประเทศไทยจะขาดความเชื่อมั่นในสังคมโลก กระบวนการในระบบกฎหมายของไทยไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรม โดยเฉพาะในการทำนิติสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จากกรณีให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศจีนในครั้งนี้

เกี่ยวกับประเด็นนี้ นายจิรุตม์เปิดเผยว่า ตาม MoU ฉบับดังกล่าว รัฐบาลไทยได้ตกลงให้รัฐบาลจีนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน โดยเฉพาะโครงการรถไฟทางคู่ขนาดมาตรฐาน เส้นทางหนองคาย-แก่งคอย-โคราช-ท่าเรือมาบตาพุด และเส้นทางแก่งคอย-กรุงเทพฯ การดำเนินการจึงมีสอดคล้องกับบันทึกความเข้าใจฯ ดังกล่าวโดยไม่ขัดกับหลักการนิติสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

อีกด้านหนึ่ง นายดิสพล ผดุงกุล นายกสมาคมวิศวกรรมระบบขนส่งทางรางไทย (วศรท.) ได้สอบถามใน 3 ประเด็นหลักได้แก่ การทำโครงการรถไฟความเร็วสูงไม่คุ้มกับการลงทุน คิดเฉลี่ยรัฐบาลจะมีรายได้ประมาณ 10 ล้านบาทต่อวัน จากการให้บริการประชาชนประมาณ 10,000 คนต่อวัน ในขณะที่มีการลงทุนในโครงการประมาณ 200,000-300,000 ล้านบาท

โดยนายจิรุตม์ตอบว่า โครงการรถไฟความเร็วสูง เป็นโครงการให้บริการด้านขนส่งมวลชนซึ่งไม่ได้มุ่งเน้นเพื่อการหารายได้จากค่าโดยสาร แต่การพัฒนาเส้นทางรถไฟเชื่อมโยงพื้นที่ภูมิภาคจะส่งผลต่อการพัฒนาเมืองและการกระจายความเจริญ ซึ่งเป็นผลประโยชน์ในภาพรวมต่อเศรษฐกิจของประเทศ

ประเด็นถัดมาคือ การใช้วิศวกรจีนทั้งหมดเข้ามาทำงาน โดยยกเว้นให้ไม่ต้องขึ้นทะเบียนตาม พ.ร.บ.วิศวกร พ.ศ. 2542 เป็นสิ่งไม่ถูกต้อง 
 

นายจิรุตม์กล่าวว่า ในการยกเว้น พ.ร.บ.วิศวกร พ.ศ. 2542 มาตรา 45 47 และ 49 คำสั่งคณะหัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติ ได้ระบุให้มีการอบรมและทดสอบตามความเหมาะสมเพื่อให้เกิดประโยชน์

และประเด็นสุดท้ายคือ นายดิสพลไม่เชื่อมั่นในเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยของจีน เพราะในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จีนยังเคยมีเหตุการณ์รถไฟตกราง

นายจิรุตม์ชี้แจงว่า รถไฟความเร็วสูงของประเทศจีนมีการดำเนินการมาแล้วถึงกว่า 20,000 กิโลเมตร และเป็นโครงข่ายรถไฟความเร็วสูงขนาดใหญ่ที่สุดโดยมีมาตรฐานความปลอดภัยที่เป็นสากล หากเทียบสถิติการเกิดอุบัติเหตุต่อระยะทางการเดินรถรวมทั้งหมด จะมีสัดส่วนที่น้อยมาก ซึ่งไม่แตกต่างจากระบบที่ได้รับการพัฒนา

 

ขอบคุณภาพจาก  คนนอกคอกท่องเที่ยว และ ผู้จัดการออนไลน์

บทความที่เกี่ยวข้อง:

 

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร