Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

เปิดตัวเจ้าของโครงการ-ที่ตั้งสำนักงานใหญ่-ไทม์ไลน์ ก่อนมาเป็น “มูลนิธิหอชมเมืองกรุงเทพมหานคร”

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

       

       เปิดตัวเจ้าของโครงการ-ที่ตั้งสำนักงานใหญ่-ไทม์ไลน์ ก่อนมาเป็น “มูลนิธิหอชมเมืองกรุงเทพมหานคร” ภายหลังคณะรัฐมนตรี อนุมัติให้ยกเว้นโครงการพัฒนาที่ดินราชพัสดุ เลขที่ทะเบียน กท.3275 เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร เพื่อก่อสร้าง “โครงการก่อสร้างหอชมเมืองกรุงเทพมหานคร” มูลค่า 4,600 ล้านบาท สามารถดำเนินการคัดเลือกเอกชนได้ โดยไม่ใช้วิธีประมูล
       
       ภายหลังคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ยกเว้นโครงการพัฒนาที่ดินราชพัสดุ เลขที่ทะเบียน กท.3275 เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร เพื่อก่อสร้าง “โครงการก่อสร้างหอชมเมืองกรุงเทพมหานคร” มูลค่า 4,600 ล้านบาท สามารถดำเนินการคัดเลือกเอกชนได้ โดยไม่ใช้วิธีประมูลตามประกาศของคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) ที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานฯ ให้ใช้ที่ดินราชพัสดุของกรมธนารักษ์ จัดสร้าง และคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2559 ได้อนุมัติให้ดำเนินโครงการก่อสร้าง บนที่ดินราชพัสดุแปลงหมายเลข กท.3275 เขตคลองสาน กรุงเทพฯ โดยพื้นที่โครงการนี้จะตั้งอยู่ในซอยเจริญนคร 7 ถนนเจริญนคร
       
       ต่อไปนี้คือไทม์ไลน์ และบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ “มูลนิธิหอชมเมือง” ซึ่งจดทะเบียนกับกระทรวงมหาดไทย มีสำนักงานของมูลนิธิตั้งอยู่ที่ เลขที่ 989 อาคารสยามพิวรรธน์ทาวเวอร์ ชั้น 20 ยูนิตบี ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
       
       วันที่ 8 ตุลาคม 2557 ก่อตั้งโดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ ก่อสร้างและบริหารวัตถุเพื่อเป็นเอกลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร มีทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 500,000 บาทถ้วน มีนายวิสิษฐ์ มาลัยศิริรัตน์ เป็นประธานกรรมการ และกรรมการอีก 4 คน
       
       วันที่ 15 ตุลาคม 2558 นายปรีชา มงคลหัตถี รองอธิบดีกรมธนารักษ์ ลงตรวจพื้นที่ “แปลงกองบังคับการตำรวจน้ำ” พื้นที่ก่อสร้างแปลงโครงการหอชมเมือง เขตคลองสาน กรุงเทพฯ
       
       วันที่ 18 ส.ค. 2559 จดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของ “มูลนิธิหอชมเมืองกรุงเทพมหานคร” เปลี่ยนสำนักงานของมูลนิธิตั้ง
       
       วันที่ 10 มกราคม 2560 “มูลนิธิหอชมเมือง” มีการจดทะเบียนแก้ไขวัตถุประสงค์มูลนิธิฯ ข้อ 1 เป็น ก่อสร้างและบริหารหอชมเมืองกรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นเอกลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร
       
       มี ประธานกรรมการมูลนิธิฯ จดทะเบียน ประกอบด้วย “นายวิสิษฐ์ มาลัยศิริรัตน์” มีชื่อเป็นซีอีโอของบริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในเครือ “ซีพี” หรือเครือเจริญโภคภัณค์
       
       โดยมีแต่งตั้ง กรรมการมูลนิธิฯ คนที่ 2 “นายสุทธิลักษณ์ วินทุพราหมณกุล” มีชื่อเป็นเป็นกรรมการบริษัท ดีซี พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ผู้พัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเครือซีพี เช่นกัน
       
       กรรมการมูลนิธิฯ คนที่ 3 “นางสาวอารยา จิตตโรภาส” มีชื่อเป็นเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัดเนียรนพ ซึ่งในปลายปี 2559 ศาลล้มละลายได้ประกาศพิทักษ์ทรัพย์
       
       กรรมการและเลขานุการมูลนิธิฯ “นายชลชาติ เมฆสุภะ” มีชื่อเป็นรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ของบริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด เป็นบริษัทที่พัฒนาโครงการ “ไอคอนสยาม” (Icon Siam) ที่อยู่ใกล้ที่ดินแปลงนี้
       
       ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงประธานกรรมการมูลนิธิฯ เป็นนายพนัส สิมะเสถียร ปัจจุบันเป็น “กรรมการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” ถือหุ้นในบริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด เป็นบริษัทที่พัฒนาโครงการ “ไอคอนสยาม” (Icon Siam) ที่อยู่ใกล้ที่ดินแปลงนี้
       
       8 มิถุนายน 2560 “ธนาคารไทยพาณิชย์” ทำหนังสือถึงอธิบดีกรมการปกครอง ในฐานะนายทะเบียนการขอจัดตั้งมูลนิธิ เพื่อขอรับทราบข้อเท็จจริง โดยแจ้งว่า “มูลนิธิหอชมเมืองกรุงเทพมหานคร” ได้ติดต่อกู้ยืมเงิน จำนวน 2,500 ล้านบาท เพื่อนำเงินมาดำเนินการก่อสร้างหอชมเมืองกรุงเทพมหานคร แต่จากการตรวจสอบข้อบังคับแล้วพบว่า วัตถุประสงค์ของมูลนิธิไม่ได้ระบุให้มูลนิธิขอสินเชื่อหรือก่อหลักประกันใดๆ ธนาคารจึงเกรงว่าการทำนิติกรรมกู้ยืมเงิน ตลอดจนการจำนองและการก่อหลักประกันใดๆ จะเป็นการดำเนินการนอกขอบเขตวัตถุประสงค์ของมูลนิธิและไม่มีผลผูกพันมูลนิธิตามกฎหมาย
       
       ทั้งนี้ ธนาคารไทยพาณิชย์ระบุคำถามถึงกรมการปกครองว่า หลังจากได้พิจารณาร่างแก้ไขข้อบังคับแล้ว เห็นว่า การกู้ยืมเงินเป็นการดำเนินการในเชิงพาณิชย์ซึ่งขัดต่อการจัดตั้งมูลนิธิที่เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร การให้สินเชื่อ รวมทั้งการทำนิติกรรมจำนองและการก่อหลักประกันใด ๆของมูลนิธิดังกล่าว จะมีผลผูกพันมูลนิธิตามกฎหมายหรือไม่
       
       “จากข้อกฎหมายดังกล่าว มูลนิธิจะขอเปลี่ยนแปลงข้อบังคับเพื่อให้สามารถกู้เงินได้ ประกอบด้วย ร่างข้อบังคับ ข้อ 4.6 เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมเงินบริจาค หรือรับความช่วยเหลือจากสถาบันหรือโครงการต่างๆ เพื่อการก่อสร้างและบริหารหอชมเมืองกรุงเทพมหานคร และร่างข้อบังคับ ข้อ 13.1 คณะกรรมการมูลนิธิ มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการกิจการของมูลนิธิให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิและภายใต้ข้อบังคับนี้ ให้มีอำนาจหน้าที่ ควบคุมและพิจารณาให้ความเห็นชอบในการกู้ยืมเงิน และขอหลักประกันใดๆ จากสถาบันการเงิน หรือบุคคลอื่น โดยมีคณะกรรมการให้ความเห็นชอบและมีมติของที่ประชุมไม่น้อยกว่าสองในสามขณะกรรมการทั้งหมด”
       
       “และร่างข้อบังคับ ข้อ 14.3 ประธานกรรมการมูลนิธิทีอำนาจหน้าที่ เป็นผู้แทนของมูลนิธิในการติดต่อกับบุคคลภายนอก และในการทำนิติกรรมใดๆ ของมูลนิธิ หรือการลงลายมือชื่อในเอกสาร ข้อบังคับ สัญญากู้ยืมเงิน และสรรพหนังสืออันเป็นหลักฐานของมูลนิธิในการอรรถคดีนั้น ทั้งนี้ประธานกรรมการมูลนิธิอายจมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้ใดผู้หนึ่งกระทำการแทน”
       
       คณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงมหาดไทย คณะที่ 1 ระบุว่า มูลนิธิหอชมเมืองกรุงเทพมหานคร จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2557 มีวัตถุประสงค์ในการก่อสร้างหอชมเมืองกรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นเอกลักษณ์ของกรุงเทพฯ และเพื่อเฉลิมพระเกียรติฯ โดยการก่อสร้างเป็นอาคารสูงซึ่งมีความสูงที่สุดในประเทศกลุ่มอาเซียน
       
       “เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิฯ จึงต้องมีการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินมาใช้ดำเนินการ มูลนิธิฯได้ยกร่างขอแก้ไขข้อบังคับเพื่อให้มูลนิธิ มีความสามารถและมีผลผูกพันตากฎหมาย ตามสัญญากู้เงิน และสถาบันการเงินได้พิจารณาแล้ว”
       
       กรมการปกครองเห็นว่า กรณีมูลนิธิขอเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมเงินบริจาค หรือขอความช่วยเหลือจากสถาบันหรือโครงการต่างๆ นั้น สามารถดำเนินการได้ ถือเป็นการแก้ไขวัตถุประสงค์ที่มีความใกล้ชิดกับวัตถุประสงค์เดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 126
       
       ส่วนอีก 2 ร่างที่เสนอมานั้น กรมการปกครองเห็นว่าเนื่องจากการที่มูลนิธิประสงค์จะขอกู้ยืมเงินเพื่อนำไปดำเนินการตามวัตถุประสงค์ โดนกำหนดให้คณะกรรมการมีอำนาจลงนาในสัญญากู้ยืมเงินเพื่อให้มีผลผูกพันกับมูลนิธิ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวถือเป็นการดำเนินการจัดการทรัพย์สินของมูลนิธิอันเป็นกรณีที่มิได้มีแนวทางปฏิบัติมาก่อน
       
       ขณะที่ คณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงมหาดไทย คณะที่ 1 พิจารณาว่า ตามเงื่อนไขที่มาตรา 115 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อนายทะเบียนได้รับคำขอและเห็นว่าข้อบังคับของมูลนิธิหากแก้ไขแล้วต้องมีรายการครบทั้ง 6 รายการ ประกอบด้วย ชื่อ วัตถุประสงค์ ที่ตั้งสำนักงานใหญ่และสาขา ทรัพย์สินขณะจัดตั้ง ข้อกำหนดเกี่ยวกับคณะกรรมการ และข้อกำหนดในการจัดการ
       
       “ตามมาตรา 110 กำหนดเพื่อการกุศลสาธารณะ การศาสนา ศิลปะ วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา หรือเพื่อสาธารณะประโยชน์อย่างอื่นโดยมิได้มุ่งหาประโยชน์มาแบ่งปันกัน และในการจัดการทรัพย์ของมูลนิธิ ต้องมิใช่การแสวงหาผลประโยชน์เพื่อบุคคลใดนอกจากดำเนินตามวัตถุประสงค์ ต้องไม่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี ไม่เป็นภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชนหรือความมั่นคงของรัฐ และเมื่อผู้เป็นกรรมการ มีฐานะและความประพฤติเหมาะสมในการดำเนินตามวัตถุประสงค์ โดยนายทะเบียนต้องพิจารณาตามเงื่อนไขที่มาตรา 115 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนด” 

ที่มา : manager

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร