Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

เคาะแล้ว! รถไฟไฮสปีดกรุงเทพฯ-ระยอง วงเงิน 2 แสนล้าน

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

3 จังหวัดภาคตะวันออกยังคงเนื้อหอมไม่หยุด ผลจากโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งได้รับความสนใจจากนักลงทุนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้วยความตั้งใจของรัฐบาลที่พยายามพัฒนาและยกระดับของภาคตะวันออกให้เป็นอีกหนึ่งฮับที่สำคัญของภูมิภาคอาเซียน และการคมนาคมถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญในการช่วยผลักดันภาคตะวันออกให้เป็นฮับอาเซียนได้ จึงเป็นเหตุผลที่นายกเห็นชอบอนุมัติโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะทาง 220 กิโลเมตร ด้วยงบ 200,000 ล้านบาทและประกาศเปิดประมูลนานาชาติเดือน มี.ค.นี้ สนามบินอู่ตะเภาจ่อคิวเปิดประมูลต่อเดือน มิ.ย. 

นายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กนศ.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเห็นชอบโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คือ ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา วงเงินลงทุน 200,000 ล้านบาท ระยะทาง 220 กิโลเมตร และให้นำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา ก่อนออกเงื่อนไขการประมูลหรือทีโออาร์ให้ผู้ที่สนใจยื่นข้อเสนอ และเห็นชอบในหลักการให้สำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ไปศึกษาการขยายพื้นที่เชื่อมโยงกับ 3 จังหวัดเดิม ได้แก่ สมุทรปราการ จันทบุรี ตราด สระแก้ว ปราจีนบุรี มีกรอบเวลาศึกษา 4 เดือน

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เดือน มี.ค.นี้จะประกาศเชิญชวนเข้าร่วมประมูลแบบนานาชาติ หรืออินเตอร์เนชั่นแนลบิดดิ้ง สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูง การประมูลจะเป็นรูปแบบเน็ตคอสท์ คือใครยื่นเสนอผลตอบแทนสูงสุดให้รัฐจะเป็นผู้ชนะ ขณะนี้มีผู้สนใจจำนวนมากทั้งจากยุโรป ญี่ปุ่น จีน และนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้สั่งให้เชิญทูตต่างประเทศในไทยทุกประเทศรับฟังความคืบหน้าของโครงการด้วย

ภายใต้อีอีซีจะมี 4-5 โครงการใหญ่เชื่อมโยงกัน ถ้าโครงการใดโครงการหนึ่งไม่เสร็จตามกำหนด โครงการที่เหลือจะเกิดปัญหา จึงตั้งใจขับเคลื่อนการเปิดประมูลสนามบินอู่ตะเภาในเดือน มิ.ย.ให้เสร็จในเวลาใกล้เคียงกัน และโครงการหลักๆ ในอีอีซีให้มีการเซ็นสัญญากับผู้ชนะการประมูลภายในปีนี้ มั่นใจว่ารถไฟความเร็วสูงสายนี้จะมีผู้โดยสารมากพอสมควร เพราะเชื่อมโยงสนามบินดอนเมืองและสุวรรณภูมิ เข้ากับพัทยาซึ่งมีคนมาเที่ยวปีละ 10 ล้านคน การเดินทางปัจจุบันต้องฝ่าปัญหารถติด ค่าใช้จ่ายไปกลับไม่ต่ำกว่า 2,000 บาท แต่ถ้าใช้รถไฟความเร็วสูงจะอยู่ที่ 270 บาทต่อเที่ยว หรือถึงสถานีอู่ตะเภา 330 บาท มั่นใจว่าจะมีคนไม่ต่ำกว่า 10 ล้านคน หรือ 20 ล้านเที่ยว

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ กนศ.กล่าวว่า เมื่อต้องทำโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จึงนำโครงการแอร์พอร์ตลิงก์มารวมและแก้ปัญหาการขาดทุนทีเดียว จึงกำหนดให้เอกชนที่เข้ามาลงทุนในโครงการรถไฟความเร็วสูงจะต้องซื้อกิจการรถไฟแอร์พอร์ตลิงก์ในมูลค่าที่เหมาะสมด้วย โดยปัจจุบันมีผลขาดทุนสะสม 1,785 ล้านบาท ในปี 2560 ขาดทุน 280 ล้านบาท และเป็นหนี้จากการก่อสร้าง 33,000 ล้านบาท โดยได้ประเมินผลตอบแทนทางเศรษฐกิจทั้งโครงการอยู่ที่ 700,000 ล้านบาท ตั้งแต่ก่อสร้างจนถึงพัง และเฉพาะ 50 ปีแรกมูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณ 400,000 ล้านบาท เทียบกับเงินลงทุน 200,000 ล้านบาทถือว่าคุ้ม ซึ่งนายสมคิด ให้ความเห็นว่า ผลตอบแทนที่ 700,000 ล้านบาท น่าจะน้อยไปเพราะมีการพัฒนาในพื้นที่ค่อนข้างมาก นอกจากนั้น เมื่อครบ 50 ปีแล้วโครงการทั้งหมดจะตกเป็นของรัฐ จะมีส่วนที่เป็นผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเหลืออยู่อย่างน้อย 300,000 ล้านบาท ขณะที่การดำเนินการโดยใช้พีพีพี เพื่อลดการใช้งบประมาณโดยไม่จำเป็น และการใช้เงินกู้ก็ไม่สมควร เพราะทำให้ประเทศเป็นหนี้ ความเสี่ยงตกอยู่กับภาครัฐ แต่ความร่วมมือกับเอกชนในรูปแบบพีพีพีนั้น รัฐบาลจะใช้เงินร่วมทุนน้อยกว่า และไม่ต้องรับความเสี่ยง

ทั้งนี้ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จะมีความเร็ว 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาจากกรุงเทพฯไปสนามบินอู่ตะเภา 45 นาที มี 5 สถานี คือฉะเชิงเทรา ชลบุรี ศรีราชา พัทยา และอู่ตะเภา จากนั้นการพัฒนาระยะที่ 2 จะศึกษาเส้นทางไปถึง จ.ระยอง จันทบุรี และตราด คาดว่าจะใช้เวลาจากกรุงเทพฯถึงระยอง 60 นาที ถึงจันทบุรี 100 นาที และตราด 120 นาท

ที่มา : thairath

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร