Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

รีวิวย่านที่อยู่อาศัย อุดรธานี ย่านบ้านช้าง โซนใต้สนามบิน

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

โซนใต้สนามบิน ส่วนมากเป็นโซนที่อยู่อาศัยที่มีทั้งชุมชนดั้งเดิมและชุมชนบ้านจัดสรร สามารถจำแนกออกเป็น 3 ย่าน หลักๆ ได้แก่ ย่านชุมชนทางเข้าสนามบิน ย่านชุมชนบ้านช้าง และย่านชุมชนหนองใหญ่ ตั้งอยู่พื้นที่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ภายในเขตเทศบาลนครอุดรธานี อยู่ถัดจากพื้นที่สนามบินนานาชาติอุดรธานีไปทางทิศใต้

การเดินทาง และ อาณาเขต

  • ระยะทางไม่เกิน 2 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง ในระยะเวลาไม่เกิน 5 นาที จากโรงเรียนอุดรพิชัยรักษ์พิทยา (อพร.) และ กองบิน23
  • ระยะทางจากศูนย์กลางเศรษฐกิจของเมือง ศูนย์ราชการและสถาบันการศึกษาในระดับจังหวัดประมาณ 6 กม. ซึ่งใช้เวลาเดินทางประมาณ 15 นาที โดยใช้เส้นทางลัดถนนพรหมประกาย
  • การเดินทางเชื่อมต่อไปยังจังหวัดอื่น ๆ ในภูมิภาค และ สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญได้ง่าย เช่น ถนน 210 ไปภูฝอยลม  จังหวัดหนองบัวลำภู และถนน 216 ไปยังถนนมิตรภาพเพื่อเดินทางต่อไปยัง หนองคายกับขอนแก่น

ภาพรวมของโซน

  • มีการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยขึ้นมาอยู่ร่วมกับชุมชนดั้งเดิมมากขึ้น
  • ชุมชนบ้านช้างอยู่ในย่านที่อยู่อาศัยเขตเมือง (อยู่ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี)
  • ลักษณะชุมชนชานเมือง พื้นที่เป็นเกาะ ล้อมรอบด้วยพื้นที่เกษตรกรรม
  • ตั้งอยู่ใกล้กับสถานที่สำคัญ สถานที่ราชการ หรือแหล่งงาน คือ โรงเรียนอุดรพิชัยรักษ์พิทยา (โรงเรียนขนาดใหญ่ในจังหวัดอุดรธานี ถือเป็น 1 ใน 3 ของโรงเรียนขนาดใหญ่ที่มีนักเรียนมากกว่า 5,000 คน) และ กองบิน 23
  • เป็นชุมชนที่มีสาธารณูปโภคและสาธารณูปการครบครัน เช่น สถาบันศาสนา (วัดป่าเจริญศรีรัตนมงคล) สถาบันการศึกษา (โรงเรียนบ้านช้าง) พาณิชยกรรม ที่อยู่อาศัย  เป็นต้น

การใช้ชีวิต

  • คนที่อาศัยอยู่ในโซนนี้มีทั้งกลุ่มคนที่ทำงานในเมือง สถานที่ราชการ และเกษตรกร มีการเช่าพื้นที่รอบๆชุมชนทำเกษตรกรรม
  • คนที่อาศัยมีทั้งแบบอยู่ประจำและขาจรสำหรับพักค้างคืนเพื่อเดินทาง
  • การใช้ชีวิตของคนในชุมชนนี้ยังคงมีลักษณะของวิถีชนบท ควบคู่ไปกับวิถีคนเมืองที่เริ่มเข้ามาอยู่อาศัยในโครงการบ้านจัดสรร ช่วงเวลากลางวัน จันทร์-ศุกร์ จะมีกลุ่มวัยทำงาน,นักเรียน เดินทางไปทำงานและเรียน ส่วนในช่วงวันหยุดเสาร์ -อาทิตย์ จะพักอยู่ที่บ้านตามวิถีชีวิต

สิ่งที่คาดหวังจากโซนนี้

เพิ่มความเจริญให้กับพื้นที่ ด้วยโครงสร้างพื้นฐานและความหลากหลายของกิจกรรม เนื่องจากเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ใกล้ node ของการเดินทางขนาดใหญ่ที่สำคัญ คือ สนามบินอุดรธานี แต่มีอุปสรรคอยู่ที่ พื้นที่ชุมชนดังกล่าวอยู่ในเขตชุมชนชนบทและเกษตรกรรมของกฎกระทรวงผังเมืองรวมเมืองอุดรธานี (พื้นที่สีเขียว) ทำให้นักลงทุนไม่สามารถลงทุนทำกิจกรรมในพื้นที่เพิ่มเติมได้ เนื่องจากติดปัญหาเรื่องสัดส่วนการประโยชน์ที่ดินประเภทอื่นๆ หรือมีกิจกรรมที่ห้ามประกอบในพื้นที่เกินกว่ากำหนด แต่แนวโน้มในอนาคตอาจมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากในช่วงนี้ผังเมืองรวมอุดรธานีกำลังอยู่ในช่วงปรับปรุงผังเมือง โดยจะมีความเคลื่อนไหวจากนักลงทุนจำนวนมากที่ต้องการลงทุนในพื้นที่ โดยเฉพาะโครงการบ้านจัดสรรและโครงการที่อยู่อาศัย

ตลาดที่อยู่อาศัยของย่านนี้

เนื่องจากชุมชนบ้านช้างมีลักษณะเด่นเป็นชุมชนที่อยู่อาศัย ตลาด ร้านค้า และพาณิชยกรรมอื่นๆ จะมีขนาดตอบสนองต่อคนในชุมชนมากกว่าคนจากภายนอกพื้นที่ชุมชน


สิ่งที่คุณไม่เคยรู้เกี่ยวกับโซนนี้

          ชุมชนบ้านช้างสามารถเดินทางเข้าเมืองได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว โดยใช้เส้นทางลัด 2 ทาง ด้วยกัน คือ 1) เส้นทางลัดเข้าเมืองข้างโรงเรียนอุดรพิชัยรักษ์พิทยา (อพร.) และ 2) เส้นทางผ่านกองบิน 23 (ต้องทำบัตรผ่านพื้นที่ เสียค่าใช้จ่ายเป็นรายปี)

 

โครงการและการพัฒนาในพื้นที่

         เป็นโซนที่ห่างไกลจากความวุ่นวายในตัวเมือง แต่มีระยะทางไม่ห่างจากตัวเมืองมากนัก เหมาะแก่การอยู่อาศัยโครงการ ในอนาคตจะมีบริการรถซิตี้บัส วิ่งผ่านสนามบิน (สาย20) และ กองบิน23 (สาย21) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ใกล้กับชุมชนนี้ สามารถจอดแล้วจรได้ อาจมีแนวโน้มว่า พื้นที่แห่งนี้อาจจะเป็นชุมชนที่รองรับคนเมืองได้มากขึ้นตามการขยายตัวของเมือง


 

 

รสิตา ดาศรี

ปริญญาเอก : กำลังศึกษา หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ปริญญาโท : หลักสูตรการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต สาขาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ปริญญาตรี : วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาภูมิสารสนเทศศาสตร์ ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ประวัติการทำงาน

-อาจารย์ช่วยสอน หลักสูตรการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น

-จัดทำฐานข้อมูลเชิงพื้นที่และวิเคราะห์ใน “โครงการปรับปรุงผังเมืองรวมเมืองอุดรธานี ครั้งที่ 3”

-จัดทำฐานข้อมูลเชิงบูรณาการเพื่อจัดทำผังเมืองรวม (กองช่าง) และแผนที่ภาษี (กองคลัง) ทต.หนองบัว อ.เมือง จ.อุดรธานี ร่วมกับ

-โครงการการประเมินผลผังเมืองรวมเมืองอุดรธานี โดยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บทความทางวิชาการ

-รสิตา ดาศรี พันทิวา ศรีศิลป์ และสุปราณี อินสำราญ. 2556. การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อจัดทำแผนที่แสดงศักยภาพที่มีความชื้นดินหลังเก็บเกี่ยวข้าวนาน้ำฝนในพื้นที่รับน้ำห้วยใหญ่. โครงการ Mini Project on Geospace Tech Challenge. จัดขึ้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2556 โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน).

-รสิตา ดาศรี และมนสิชา เพชรานนท์. 2558. การหาค่าน้ำหนักองค์ประกอบที่มีผลต่อสภาพแวดล้อมของพื้นที่ในเมืองที่ส่งเสริมให้คนเดินเท้าในพื้นที่เขตเทศบาลนครอุดรธานี. การประชุมวิชาการด้านการวางแผนภาคและเมือง (URPAS 2015) ภายใต้แนวคิด Resilient City. จัดขึ้นเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2558 โดยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต.

-รสิตา ดาศรี และมนสิชา เพชรานนท์. 2559. การประเมินศักยภาพพื้นที่ที่เอื้อต่อคนเดินเท้าในเขตเทศบาลนครอุดรธานี. วารสารวิชาการการวางแผนภาคและเมือง (URPAS 2016) ภายใต้แนวคิด Partnership for New Urbanization. จัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2559 โดยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร