Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

8 วิธีการล้างหม้อไหม้ยังไงให้เอี่ยมเหมือนใหม่

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

เป็นอีกปัญหาชวนปวดหัวของแม่บ้านมือใหม่สำหรับวิธีการล้างหม้อไหม้ อย่างไรให้กลับมาใสเหมือนใหม่อีกครั้ง เพราะเมื่อผ่านการใช้งานไปนานๆ ความร้อนจะทำให้ตัวก้นภาชนะไหม้ วันนี้จะพาไปรู้จักกับหม้อประเภทต่าง ๆ และวิธีการล้างหม้อที่ไหม้ ให้กลับมาสะอาดเหมือนใหม่อีกครั้ง

ทำความรู้จักประเภทของหม้อต่างๆ

  1. หม้อสเตนเลส

สำหรับหม้อประเภทนี้มีราคาไม่แพงและหาซื้อง่ายตามท้องตลาดทั่วไป ตัววัสดุมีความคงทนและเงางามน่าใช้งาน ปัจจุบันหม้อสเตนเลสจะมีสองแบบ คือรุ่นที่สามารถใช้กับเตาธรรมดาทั่วไป และรุ่นที่ใช้กับเตาแม่เหล็กเท่านั้น ข้อเสียของหม้อประเภทนี้คือติดก้นหม้อได้ง่าย ดังนั้นควรเลี่ยงอาหารที่ส่วนประกอบเป็นกรด เช่น อาหารประเภทยำต่าง ๆ เป็นต้น และหากแช่อาหารไว้ในหม้อนานๆ จะทำให้ตัวหม้อเสื่อมสภาพไว

  1. หม้อหูสองชั้น

หม้อประเภทนี้นิยมใช้กันตามครัวฝรั่ง เหมาะสำหรับการลวกเส้นพาสต้าและสปาเกตตี เพราะตัวหม้อสะดวกต่อการเทน้ำออก แต่ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับครัวไทยได้เช่นกัน จะไว้เป็นภาชนะสำหรับประกอบอาหารประเภทต้มหรือนึ่งก็สะดวก

     3. หม้อเหล็ก

จุดเด่นของหม้อเหล็กอยู่ที่ความแข็งแรง และมีความทนทานในการใช้งานสูง โดยส่วนมากหม้อเหล็กจะมีสารอีนาเมลซึ่งไม่ก่อให้เกิดอันตรายเมื่อเจอกับความร้อน แต่จะเป็นตัวช่วยนำความร้อนทำให้เกิดไอน้ำกลั่นตัว ส่งผลให้อาหารมีความชุ่มมากขึ้น การใช้หม้อเหล็กจะเป็นการลดขั้นตอนในการเปลี่ยนภาชนะ หม้อประเภทนี้เหมาะกับการนำมาประกอบอาหารที่มีความซับซ้อน หรือใช้หลายขั้นตอนอย่างเช่น ต้องอบก่อนแล้วนำไปทอด เป็นต้น

      4. หม้อแก้วทนความร้อน

มีดีไซน์ที่สวยงามนำมาประกอบอาหารได้หลายอย่าง ข้อเสียคือ ไม่สามารถใช้กับเตาแม่เหล็กได้ แต่จุดเด่นอยู่ที่ความสะดวกสบาย เมื่อปรุงเสร็จสามารถยกเสิร์ฟได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนภาชนะ กักเก็บความร้อนได้ดี ใช้ประกอบอาหารและสามารถใช้อุ่นอาหารได้

       5. หม้อเคลือบ

หม้อประเภทนี้จะใช้ผงแก้วผสมสีมาเคลือบ โดยวัสดุที่นำมาเคลือบนั้นปลอดภัยต่อร่างกาย เหมาะกับการนำมาประกอบอาหารได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นต้ม ผัด แกง ทอด จุดเด่นอยู่ที่เวลาใช้ จะทำให้อาหารไม่ติดก้นหม้อ ดังนั้นอาหารประเภทที่ต้องใช้ไฟแรงหรือต้องปรุงนานๆ อย่างการทอดหรือการต้มจึงเหมาะกับการใช้หม้อเคลือบมากที่สุด แต่ข้อควรระวังคืออย่าให้หม้อหล่นบ่อย เพราะสีที่เคลือบจะหลุดลอกออกได้

        6. หม้ออัดความดัน

เป็นหม้อที่อำนวยความสะดวกให้กับแม่ครัวสมัยใหม่ ที่อาจจะมีเวลาปรุงอาหารน้อย หม้ออัดความดันจะช่วยทำให้อาหารสุกไวขึ้น เหมาะกับการนำไปประกอบอาหารประเภทตุ๋นหรือต้ม ซึ่งแรงดันในหม้อจะทำให้อาหารเปื่อยไว ช่วยลดเวลาในการปรุงอาหารอีกด้วย

ประเภทของหม้อ

8 วิธีการล้างหม้อไหม้

เมื่อใช้งานไปนาน ๆ ก้นหม้อมักจะเกิดรอยไหม้หรือคราบดำ ไม่ว่าจะออกแรงขัดแค่ไหนก็เอาออกไม่หมด ใครที่เจอปัญหานี้อยู่ล่ะก็ วันนี้เรามี 8 วิธีการ ‘ล้างหม้อไหม้’ มาแนะนำ เพื่อให้หม้อดูสะอาดเหมือนใหม่อีกครั้ง

  1. เบกกิ้งโซดาและน้ำส้มสายชู

เบกกิ้งโซดามีฤทธิ์เป็นด่างอ่อนๆ จึงนิยมนำมาผสมกับกรดอย่างน้ำส้มสายชู เพื่อสร้างคุณสมบัติการขจัดคราบต่างๆ สำหรับหม้อไหม้ก็ใช้ได้เช่นกัน โดยนำเบกกิ้งโซดามาผสมกับน้ำส้มสายชู คนให้เข้ากันจนมีลักษณะเป็นเนื้อครีมข้น จากนั้นนำมาขัดลงบริเวณรอยไหม้ดำ และทิ้งไว้ประมาณ 1 วัน ค่อยนำมาขัดล้างออก เท่านี้หม้อก็จะกลับมาสะอาดเหมือนใหม่

  1. มันฝรั่งคู่กับเบกกิ้งโซดา

นอกจากอร่อยและมีประโยชน์ต่อร่างกายแล้ว มันฝรั่งยังสามารถนำมาแก้ไขรอยไหม้ของหม้อได้ด้วย ให้โรยเบกกิ้งโซดาลงที่รอยไหม้ แล้วใช้มันฝรั่งหั่นครึ่งมาขัดวนให้ทั่ว ขัดจนเห็นว่ารอยไหม้หลุดลอกออก จากนั้นล้างออกด้วยน้ำสะอาด

  1. ซอสมะเขือเทศ

สำหรับบ้านไหนที่ใช้หม้อทองแดง ให้ใช้ซอสมะเขือเทศทาลงไปตรงบริเวณที่ไหม้ ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาทีหรือหากรอยไหม้มีเยอะ ก็ทิ้งไว้สักครึ่งชั่วโมง จากนั้นใช้แปรงขัดให้สะอาด กรดในมะเขือเทศจะทำให้รอยไหม้หลุดออกอย่างง่ายดาย

  1. น้ำร้อนผสมกิ้งโซดา

ให้นำเบกกิ้งโซดาประมาณ 4 – 5 ช้อนโต๊ะมาผสมกับน้ำร้อนในปริมาณที่พอท่วมหม้อ จากนั้นให้นำหม้อที่ไหม้ลงไปแช่ทิ้งไว้ประมาณ 30 – 50 นาที แล้วนำมาขัดให้สะอาด รอยไหม้ก็จะหลุดออกมา

  1. ครีมออฟทาร์ทาร์

ให้นำครีมออฟทาร์ทาร์มาโรยลงบนรอยไหม้ จากนั้นเทน้ำเปล่าลงไปเล็กน้อยแล้วถูวนส่วนผสมให้เข้ากัน ทิ้งเอาไว้ประมาณ 10 นาที แล้วค่อยใช้ฟองน้ำขัดคราบไหม้ออก

  1. น้ำส้มสายชูกับเกลือ

นอกจากนำมาประกอบอาหารแล้ว น้ำส้มสายชูยังมีคุณสมบัติในการขจัดคราบได้ดีเยี่ยม ให้นำน้ำส้มสายชูมาผสมกับเกลือเล็กน้อย จนได้เนื้อข้นแบบสครับ จากนั้นนำมาปาดตรงรอยไหม้แล้วใช้ฟองน้ำขัดวนให้สะอาด

  1. น้ำร้อนและน้ำยาล้างจาน

หากต้องการขจัดรอยไหม้และขัดเงาไปพร้อมกัน ให้นำน้ำยาล้างจานมาผสมกับน้ำร้อนในอ่างขนาดพอดี แล้วนำหม้อสเตนเลสลงไปแช่เพื่อขจัดคราบมัน นำฝอยขัดหม้อจุ่มน้ำยาล้างจานที่ผสมน้ำร้อน เอามาขัดส่วนที่ไหม้และรอบ ๆ หม้อ เพื่อขจัดคราบและสร้างความเงางาม

  1. แป้งสาลีและน้ำส้มสายชู

นำแป้งสาลีผสมกับน้ำส้มสายชูอย่างละ 1 ช้อนโต๊ะ จากนั้นนำมาขัดลงบนบริเวณหม้อที่มีรอยไหม้ ใช้ฟองน้ำขัดวนให้คราบหลุดออก จากนั้นล้างออกด้วยน้ำยาล้างจานที่ผสมน้ำร้อนเป็นอันเรียบร้อย

วิธีการล้างหม้อไหม้

วิธีการดูแลรักษาหม้อ

สำหรับการดูแลหม้อเพื่อยืดเวลาการใช้งานนั้น ทุกครั้งหลังใช้ให้ทำความสะอาดอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงการใช้ฝอยขัดหม้อในการขัดล้างประจำวัน เพราะจะทำให้เกิดรอยขีดข่วนดูไม่สวยงาม สำหรับวิธีล้างแนะนำให้ใช้น้ำอุ่นและแช่หม้อทิ้งไว้ 2 ชั่วโมงก่อนนำมาทำความสะอาด ที่สำคัญอย่าปล่อยให้รอยไหม้ติดค้างนาน หากเกิดรอยไหม้ที่หม้อ ควรรีบทำความสะอาดทันที เพื่อไม่ให้คราบฝังลึก เมื่อทำความสะอาดหม้อเรียบร้อยแล้ว ควรเช็ดให้แห้งและเก็บในที่สะอาดอย่างมิดชิด

วิธีการดูแลรักษาหม้อ

สำหรับวิธีการล้างหม้อไหม้ล้วนใช้วัสดุใกล้ตัวที่หาง่าย ดังนั้นจึงสามารถทำได้ด้วยตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องทิ้งหม้อหรือไปซื้อใหม่ให้เปลืองเงิน

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร