Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

ลุยตั้งอาร์พีเอส ภาคใต้ส่อเลิกหนุนก๊าซหันมุ่งชีวมวล

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

หลังจากเกิดกระแสต่อต้านการจัดตั้งบริษัท RPS หรือ Regional Power System Company โดยให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพื่อจัดการโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลในเขตพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จากกลุ่มสหภาพแรงงาน กฟภ. ที่กังวลถึงผลกระทบต่อประเทศชาติและประชาชน

นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รมว.พลังงาน เผยว่า กระทรวงพลังงานมีแผนจัดทำโครงการผลิตไฟฟ้าชีวมวลใน 3 จังหวัดภาคใต้ ปริมาณ 260-300 เมกะวัตต์ ผ่านการจัดตั้งบริษัท อาร์พีเอส ซึ่งเป็นการร่วมลงทุนระหว่าง กฟผ. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ทำหน้าที่บริหารจัดการไฟฟ้าในพื้นที่ หากประสบความสำเร็จภาคใต้ก็ไม่จำเป็นต้องนำเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิล รวมทั้งไม่ต้องสร้างคลังรับจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวลอยน้ำ (เอฟเอสอาร์ยู) เพื่อนำเข้าแอลเอ็นจีป้อนโรงไฟฟ้าอีกต่อไป


นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รมว.พลังงาน

โดยสืบเนื่องจากการประชุมพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันที่ 4 เม.ย. 2561 ที่ผ่านมา นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รมว.พลังงาน ได้นำเสนอรายงานสถานการณ์ความมั่นคงทางพลังงาน และการบริหารจัดการกิจการด้านพลังงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อที่ประชุม โดยมี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ซึ่งที่ประชุมมีมติรับทราบการนำเสนอรายงานสถานการณ์ความมั่นคงทางพลังงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และข้อเสนอแนวทางการบริหารจัดการใหม่และเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยกระทรวงพลังงานสนับสนุนผ่านกองทุนอนุรักษ์พลังงาน และนายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำให้ดำเนินการให้เร็ว เกิดผลเป็นรูปธรรมภายในระยะเวลาการบริหารงานของรัฐบาลนี้ให้ได้

ทางด้าน สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (สร.กฟภ.) นำโดยนายสมชาย อักษรภักดิ์ ประธาน สร.กฟภ. ภาคใต้ เขต 3 มีความกังวลโดยเฉพาะการโอนย้ายผู้ใช้ไฟ 5 แสนรายเข้ามายังอาร์พีเอสเพราะไม่มั่นใจว่ารัฐจะดูแลผู้ใช้ไฟได้จริงในอนาคต หากเกิดกรณีบริษัทมีปัญหาขาดทุนเพราะบริษัทดังกล่าวมีความเสี่ยง


นายสมชาย อักษรภักดิ์ ประธาน สร.กฟภ.

อย่างไรก็ตาม นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รมว.พลังงาน ได้กล่าวอีกว่า สำหรับกรณีที่มีผู้กังวลว่าจะต้องมีการโอนย้ายผู้ใช้ไฟจำนวน 5 แสนราย ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้เข้ามาไว้ในบริษัทอาร์พีเอสนั้น หากบริษัทนี้ขาดทุน จะกระทบต่อประชาชนดังกล่าวนั้น ยืนยันว่ารัฐบาลจะต้องรับผิดชอบและจะต้องไม่เป็นภาระของคนทั้งประเทศอย่างแน่นอน

จากนโยบายนี้มีการคาดการกันว่าจะมีการจัดตั้งในรูปแบบของ 'บริษัท RPS' หรือ Regional Power System Company โดยให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ถือหุ้นในอัตรา 24.5% และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ถือหุ้นในอัตรา 24% และกลุ่มทุนในนามของวิสาหกิจชุมชน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ถือหุ้นในอัตรา 51%

ทั้งนี้ล่าสุด รมว.พลังงาน เปิดเผยในการปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “นโยบายการพัฒนาด้านพลังงานอย่างยั่งยืน ในบริบทของประเทศไทยสู่การ ขับเคลื่อนการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยังยืน” ว่า ไทยมีกำลังการผลิตไฟฟ้าเพียงพอกับความต้องการใช้ โดยเป็นกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่จะเพิ่มขึ้นเป็น 1 หมื่นเมกะวัตต์ หรือประมาณ 20% ของกำลังผลิตไฟฟ้าในปีหน้า ทำให้ภาครัฐไม่มีความจำเป็นต้องรับซื้อไฟฟ้าเพิ่ม โดยเฉพาะโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ภาคใต้ และรัฐบาลมีแนวทางแก้ไขปัญหาไฟฟ้าในภาคใต้ โดยให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ลงทุนขยายสายส่งไฟฟ้าคู่ขนาด 4 คู่ เพื่อดึงกำลังผลิตไฟฟ้าจากภาคกลางลงไปเสริม ผ่านการจัดตั้งบริษัท อาร์พีเอส

อย่างไรก็ตามคงต้องติดตามบทสรุปในเรื่องนี้กันต่อไปว่าจะลงเอยอย่างไร

Baania มี Line แล้วนะ
ติดตามเรื่องราวอสังหาริมทรัพย์แบบอินเทรนด์ ได้ทุกวันผ่าน Line ID @baania

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร