Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

ประตูกระจก เลือกอย่างไรให้ถูกต้อง

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

ปัจจุบันงานตกแต่งทั้งภายในและภายนอก นิยมใช้ประตูกระจก มาเป็นส่วนประกอบสำหรับการใช้งาน เนื่องจากสร้างความสวยงามให้กับบ้านได้มากทีเดียว แต่การใช้วัสดุประเภทนี้ก็มีคำถามคาใจอยู่หลายข้อ ดังนั้นทางเราจึงได้รวมถึงถามและคำตอบที่เป็นประโยชน์รวมมาไว้ให้เพื่อการตัดสินใจ

1. ประตูกระจกมีกี่ประเภท?

วัสดุกระจกเป็นที่นิยมนำมาติดตั้งนอกจากใช้งานสะดวกแล้ว ยังมีความสวยงามส่งเสริมให้บ้านน่าอยู่มากยิ่งขึ้น และปัจจุบันประตูกระจกก็มีให้เลือกหลากหลายวัสดุ ดังนั้นประตูที่เลือกมาจะต้องสอดคล้องกับการใช้งาน ลองมาดูวัสดุของกระจกแต่ละประเภทกันก่อน เพื่อง่ายต่อการตัดสินใจ

1. กระจกธรรมดา (Float Glass) กระจกใสส่วนใหญ่แล้วจะหนา 12 มิลลิเมตร มีค่าตัดแสงประมาณ 8% มีความโปร่งแสงและมองทะลุผ่านได้อย่างชัดเจน กระจกประเภทนี้ดูดกลืนความร้อนได้ดี นิยมใช้กับงานประตูทั่วไป

2. กระจกลามิเนต (Laminated Glass)สำหรับกระจกประเภทนี้เป็นแบบกึ่งนิรภัยที่เน้นความปลอดภัยในการใช้งาน โดยจะประกอบขึ้นด้วยกระจก 2 แผ่นขึ้นไป มีฟิล์มนิรภัยอยู่ชั้นกลาง ค่อนข้างมีความแข็งแรงและออกแบบได้หลากหลายกว่า เช่น เลือกเป็นกระจกกึ่งนิรภัยผสมกระจกตัดแสงเพื่อดูดซับความร้อนได้

3. กระจกเทมเปอร์ (Tempered Glass) หรือที่เรียกกันว่ากระจกนิรภัย มีความปลอดภัยในการใช้งานสูง ผ่านกรรมวิธีอบความร้อนแบบพิเศษ เมื่อกระจกแตกจะเป็นเม็ดเล็ก ๆ คล้ายข้าวโพด มีความคมน้อยกว่ากระจกธรรมดา จึงช่วยลดการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุได้ แต่ข้อเสียคือไม่สามารถกรองแสงได้

4. กระจกฉนวน (Insulated Glass Unit – IGU) เป็นกระจกชนิดที่สะท้อนความร้อนได้ดี ไม่ทำให้เกิดหยดน้ำบนกระจกแม้อุณหภูมิภายนอกกับภายในจะต่างกันมา เหมาะกับการติดตั้งในห้องแอร์หรือห้องที่ต้องการความเย็นสูง

5. กระจกเขียวตัดแสง (Green Tinted Glass) คุณสมบัติเด่นคือเคลือบสารโลหะ ทำทำให้แสงผ่านได้ดีแต่ความร้อนผ่านได้น้อย ป้องกันรังสี UV ได้มากกว่ากระจกประเภทอื่น ๆ ช่วยให้พื้นที่บ้านส่องสว่างแต่ไม่ทำให้ร้อน

6. กระจก Low-E กระจกชนิดนี้มีค่าถ่ายเทต่ำ เคลือบด้วยสารเงินเพื่อสะท้อนความร้อนออกไปด้านนอก แต่ตอบสนองต่อการส่องสว่างค่อนข้างมาก และยังมีคุณสมบัติในการเก็บเสียงด้วย

ประตูกระจก

2. ความปลอดภัย

สำหรับความปลอดภัยในการใช้ประตูกระจกนั้น ขึ้นอยู่กับว่าติดตั้งไว้จุดไหนในบ้าน อย่างเช่นหากติดตั้งในห้องน้ำ ก็ควรใช้เป็นแบบกระจกนิรภัย หรือหากต้องการความสวยงามอยากติดตั้งเป็นประตูหน้าบ้าน ก็ควรหาอุปกรณ์กันขโมยมาติดตั้งเพื่อความปลอดภัย แต่กรณีที่ติดตั้งเป็นประตูกระจกเป็นส่วนกั้นอาณาเขตภายในบ้าน ควรเลือกใช้แบบลามิเนตหรือกระจกนิรภัยเทมเปอร์ เพราะการใช้งานจะเป็นแบบเลื่อนเปิดเพื่อแบ่งพื้นที่ เพื่อความปลอดภัยต่อทรัพย์สินในบ้านหากมีการโจรกรรม ป้องกันการกระแทกอันเป็นเหตุให้สิ่งของเสียหาย  หากเกิดเหตุกระจกแตกขึ้นมา เศษกระจกจะกลายเป็นแบบเม็ดข้าวโพด จึงช่วยลดการบาดเจ็บได้ เพราะแน่นอนว่าต่อให้เป็นประตูนิรภัยที่แข็งแรงแค่ไหน แต่ก็ไม่อาจป้องกันขโมยได้ 100%

ความปลอดภัย

3. ประตูกระจกกันเสียง

วิธีในการกันเสียงจากภายนอกและภายใน ไม่ให้ออกมาจากประตูกระจกนั้น เบื้องต้นควรติดตั้งกระจกหนา 2 ชั้นและต้องมีค่า STC สูง ๆ อย่างเช่นกระจกกันเสียงลามิเนตหรือกระจกกันเสียงอินซูเลท เป็นต้น ซึ่งจะช่วยกันเสียงได้ดีกว่ากระจกประเภทอื่น ๆ

ประตูกระจกกันเสียง

4. กลอนประตูกระจก

สำหรับกลอนประตูกระจกที่ชำรุดหรือเสียหาย และต้องการจะเปลี่ยนใหม่นั้น สามารถทำได้ด้วยตัวเอง ตัวกลอนล็อกนั้นจะมีนอตยึดอยู่ ให้ใช้ไขควงถอดนอตออกให้หมด เพื่อเปลี่ยนตัวเก่าออกมา และติดตั้งกลอนตัวใหม่ลงไปตามรูนอตเดิม

กลอนประตูกระจก

5. ประตูกระจกบานสวิง

ก่อนอื่นต้องทราบปัญหาก่อนว่าเกิดจากสาเหตุอะไร เช่นโช๊คประตูบานสวิงเสีย, บานสวิงตกราง, หรือบานสวิงเดือยหลุด เมื่อวิเคราะห์ปัญหาได้ก็จะแก้ไขได้ตรงจุด หากเป็นเพราะประตูกระจกบานสวิงตกรางสามารถแก้ไขได้ด้วยการถอดบานออกแล้วใส่เข้าไปใหม่ แต่หากเป็นเพราะโช๊คเสีย อาจจะต้องเปลี่ยนประตูใหม่ทั้งหมด เป็นต้น หากว่าเป็นผู้ไม่ชำนาญการก็ควรเรียกช่างเฉพาะทางเข้ามาช่วยเหลือ

ประตูกระจกบานสวิง

6. ประตูกระจกตก

เบื้องต้นการจ้างช่างผู้ชำนาญการเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด แต่หากว่าพอที่จะมีความรู้และทำเป็นอยู่บ้าง ให้ลองปีนขึ้นไปดูบนร่องข้างบน ตรงส่วนแกนกลางมักจะมีนอตยึดอยู่เพื่อดันผนังของทั้งสองฝั่ง เมื่อใช้ไปนาน ๆ นอตส่วนนี้จะคลายทำให้ประตูกระจกตก

ปัญหานี้แก้ไขได้ด้วยการนำวัสดุอะไรก็ได้รองที่ด้านล่างประตูเพื่อให้ลอยขึ้น จากนั้นขึ้นไปขันนอตที่คลายตัวให้แน่นเหมือนเดิม ซึ่งจะต้องทำให้พอดีกับวงกบด้วยไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถปิดได้ เพียงเท่านี้ประตูกระจกก็จะสามารถกลับมาใช้ได้ตามปกติ

ประตูกระจกตก

7. ประตูกระจกแตกเอง 

สาเหตุที่ประตูกระจกแตกเองเกิดจาก 5 สาเหตุใหญ่ ๆ ได้แก่ การเคลื่อนย้ายเพื่อนำไปติดตั้ง, ไม่ได้ตรวจสอบความสะอาดเรียบร้อยก่อนติดตั้ง, การสั่นสะเทือนหรือการเคลื่อนตัวของอาคาร, การปะปนของนิกเกิลซัลไฟด์, การกระจายอุณหภูมิในเนื้อกระจกที่ไม่เท่ากันแบบเฉียบพลัน 

1. เกิดจากการเคลื่อนย้ายเพื่อนำไปติดตั้ง

การเคลื่อนย้ายประตูกระจกนั้นเป็นส่วนที่ต้องระมัดระวัง เพราะว่าหากขนย้ายไม่ดีผิวกระจกด้านนอก อาจจะไปกระทบกับวัตถุอื่น ๆ ในบริเวณจนเกิดเป็นรอยร้าวเล็ก ๆ หรือเกิดรอยบิ่นที่ขอบได้ซึ่งจะเป็นสาเหตุสะสมในระยะยาวทำให้เกิดการแตกของกระจกประตูในอนาคตได้ เพราะว่าเนื้อของกระจกนั้นถูกลดความสมบูรณ์จนถึงจุดที่เสื่อมสภาพ ก็จะแตกได้เอง ฉะนั้นหลังจากขนย้ายเรียบร้อยแล้ว ให้ตรวจสอบทุกจุดบนประตูกระจกอย่างละเอียด เพื่อเช็กครอยร้าวหรือรอยบิ่นต่าง ๆ จนให้แน่ใจว่ากระจกยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ 100% จึงค่อยทำการติดตั้ง

2. ไม่ได้ตรวจสอบความสะอาดเรียบร้อยก่อนติดตั้ง

ก่อนจะติดตั้งประตูกระจกนั้นควรเช็ดความสะอาด และตรวจสอบความเรียบร้อยของเฟรมประตูเสียก่อน ว่ามีเศษหรือมีสิ่งใดเข้าไปติดอยู่หรือไม่ หากว่ามีบางสิ่งติดเมื่อนำประตูไปติดตั้งอาจทำให้ขอบกระจกไปกดทับกับเฟรม พอใช้งานไปนาน ๆ จะมีผลกับขอบกระจกและอาจลามไปถึงตัวของประตูกระจกนั้นเป็นปัจจัยเร่งให้เกิดการแตกเอง

3. การสั่นสะเทือนหรือการเคลื่อนตัวของอาคาร

จะด้วยสาเหตุทางธรรมชาติหรือเหตุที่มาจากการกระทำของมนุษย์เช่น การทุบอาคารในบริเวณใกล้เคียง, มีการก่อสร้างในบริเวณใกล้เคียงรวมไปถึงมีการซ่อมแซมอาคาร บ้านเรือนในละแวกข้าง ๆ ล้วนส่งผลต่อสันหรือขอบกระจกประตู เพราะว่าเป็นส่วนที่บอบบางที่สุด ซึ่งแรงสะเทือนอาจทำให้เฟรมกระจกผิดรูปไปจากเดิม ก็อาจทำให้ประตูกระจกลั่นแตกเองได้

4. เกิดจากการปะปนของนิกเกิลซัลไฟด์

หากเลือกประตูกระจกแบบที่มีนิกเกิลซัลไฟด์ผสมอยู่มาก อาจเป็นตัวเร่งให้กระจกลั่นแตกเองได้ง่าย เพราะว่า เมื่อนิกเกิลซัลไฟด์โดนความร้อนจะเกิดการขยายตัวและดันกระจกให้แตกเองได้ โดยเฉพาะหากเลือกกระจกเทมเปอร์มาใช้ อาจจะต้องเลือกให้ดี ดูแหล่งผลิตและตรวจสอบการผสมของวัสดุจากโรงงานก่อนตัดสินใจซื้อ

5. การกระจายอุณหภูมิในเนื้อกระจกที่ไม่เท่ากันแบบเฉียบพลัน

ในกรณีที่เนื้อกระจกกระจายตัวไม่เท่ากัน หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิแบบเฉียบพลัน ก็อาจจะมีผลกระทบต่อการลั่นแตก หากว่ากระจกมีความไม่สมบูรณ์อยู่ก่อนแล้ว เช่นมีรอยบิ่นหรือรอยร้าว ยิ่งเป็นตัวเร่งให้ลั่นแตกได้ง่ายกว่าเดิมสาเหตุที่เกิดจากธรรมชาตินั้นยากต่อการป้องกัน แต่สามารถที่ระวังได้คือระหว่างเคลื่อนย้าย ไม่ควรให้เกิดรอยขีดข่วนหรือรอยร้าวใด ๆ กับกระจก และต้องตรวจสอบความเรียบร้อยของกระจกก่อนทุกครั้ง

ประตูกระจกแตกเอง 

น่าจะตัดสินใจกันแล้วได้ว่าเราควรติดตั้งประตูกระจก กับบ้านหรือคอนโดของเราหรือไม่ เพราะต่างมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไป หากลองคิดคำนวณแล้วคุ้มค่า ก็น่าเลือกนะครับ

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร