Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

โรคระบาดกับการออกแบบเมือง

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

ในบริบทของ COVID-19 ที่ระบาดกันทั่วโลกในเวลานี้ บางคนได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับอนาคตของชีวิตในเมือง เมืองในแต่ละที่มีความหนาแน่นและลักษณะที่แตกต่างกันไป นับตั้งแต่บ้านเดี่ยวชานเมืองไปจนถึงอาคารอพาร์ตเมนต์คอนโดสูงในเมืองใหญ่

  • ประเด็นเรื่องความแตกต่างระหว่างความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นที่ และการเบียดเสียดของประชากรต่อที่พักอาศัยหรือครัวเรือน
  • ตั้งคำถามถึงการออกแบบเมืองเพื่อรับมือกับโรคติดต่อร้ายแรงที่จะเกิดขึ้นอีกครั้ง

การอุบัติใหม่ของ COVID-19 จึงนำมาสู่การตั้งคำถามของนักออกแบบเมืองที่สำคัญอีกครั้งในอนาคต ในฐานะคนทำงานด้านเมือง การกลับมาคิดทบทวนถึงบทบาทการวางผังและออกแบบที่มีต่อการระบาดใหญ่จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องนำมาพูดถึงกันอย่างรอบด้าน

“อยู่บ้านเพื่อชาติ”

หนังสือพิมพ์ New York Times จัดทำโดยสมาชิกของมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียอธิบายกลยุทธ์ที่ทั่วโลกกำลังใช้อยู่ นั่นก็คือ “การบรรเทา” และ “ปราบปราม” ไว้อย่างน่าสนใจ

“การบรรเทา” และ “การปราบปราม” เป็น 2 วิธีที่ถูกนำมาใช้ในสถานการณ์ตอนนี้ นอกจากการบรรเทาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อชะลอการเกิดโรคโดยใช้มาตรการต่างๆ เช่น การแยกผู้ป่วยออกจากสมาชิกในครัวเรือนและดำเนินการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) สำหรับผู้ที่มีอายุมากกว่า 70 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีโอกาสได้รับเชื้อง่ายถูกนำกลับมามาใช้อีกครั้ง

ส่วน “การปราบปรามหรือป้องกัน” อย่างการประกาศปิดสถานศึกษา ทั้งโรงเรียนและมหาวิทยาลัยและงดเว้นการรวมตัวกันของกลุ่มคนได้นำกลับมาใช้เช่นกัน จนเกิดการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เป็นแพลตฟอร์มกลางในหลายๆ กิจกรรม เช่น การเรียนการสอนออนไลน์ การทำงานจากบ้านที่ต้องมีการประชุม หรือแม้แต่การเพิ่มขึ้นของบริการรับส่งอาหาร  

รูปแบบการดำเนินชีวิตแบบนี้จะยังคงเกิดขึ้นต่อไปจนกว่ามนุษย์จะคิดค้นวัคซีนหรือร่างกายมีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นเองได้ เพราะในช่วงเวลาของการงดและป้องกันการปฏิสัมพันธ์กันนั้น ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นเองได้  ดังนั้น ทั้ง 2 มาตรการจึงเป็นเพียงการยืดระยะเวลาในการทดลองใช้วัคซีนภูมิคุ้มกัน

ชีวิตคนเมืองที่ต้องปรับตัว

“ชีวิตคนเมือง” มีการหยุดชะงักที่เห็นได้ชัดในระดับโลก ทั้งเที่ยวบินที่ลดน้อยลงไปจนถึงปิดทำการของบางสายการบิน ชายแดนแต่ละประเทศถูกปิดและต้องมีมาตรการในระดับสากลมากขึ้นเพื่อพยายามหยุดยั้งโรคที่ข้ามจากสัตว์มาสู่มนุษย์  การศึกษาเรื่องเมืองจึงเกิดความท้าทายจากองค์ประกอบต่างๆ ทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน และจำนวนคนที่ย้ายเข้ามาอยู่ในเมืองที่กำลังเป็นพื้นที่ศูนย์กลางรวมกันของโรคระบาดนี้ 

สิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ ต้องแยกความแตกต่างระหว่างความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นที่ และการเบียดเสียดของประชากรต่อที่พักอาศัยหรือครัวเรือน ตัวอย่าง เช่น ห้องเช่า 1 ห้องของครอบครัวที่อยู่กัน 4 คน สิงคโปร์เป็นประเทศแรกๆ ที่หลีกเลี่ยงสถานการณ์นี้ด้วยการทดสอบการแยกกักตัวอยู่บ้านของประชาชนและการสื่อสารที่ชัดเจนต่อประชาชนของประธานาธิบดี ในอิตาลีที่มีการใช้มาตรการป้องกันอย่างเต็มที่ได้แสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งของพลเมืองทางสังคมที่อยู่อาศัยบนอาคารที่มีความหนาแน่นสูง อย่างการออกมาร้องเพลงจากระเบียงของแต่ละห้อง 

นอกจากรูปแบบการดำเนินชีวิตด้านที่อยู่อาศัยแล้ว  COVID-19 กำลังเปลี่ยนแปลงระบบขนส่งสาธารณะในหลายๆ เมืองและการขนส่งเองก็อยู่ในช่วงเปลี่ยนด้วยระบบอัตโนมัติ อย่างรถยนต์โดยสารไร้คนขับ

COVID-19 ยังกระทบต่อการตั้งถิ่นฐานและที่อยู่อาศัยในชุมชนแออัดมากขึ้นโดยเฉพาะการขาดแคลนแหล่งน้ำและสุขาภิบาลที่สะอาดเพียงพอทั้งในเขตเมืองและในเขตชนบท ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนมาเป็นเวลานานแต่ยังไม่เคยได้รับการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง การลดการพบปะของผู้คนกำลังเป็นตัวการเปลี่ยนรูปแบบชีวิตคนเมือง

 

การใช้ชีวิตในบ้าน

เมื่อคนต้องทำงานจากที่บ้าน (work from home) มากขึ้น เกิดการส่งอาหารและสินค้าบริการถึงที่พักมากขึ้น ย่านจึงกลายเป็นพื้นที่ที่จะมีส่วนในการเผชิญกับความท้าทายของรูปแบบชีวิตแบบใหม่ เช่น การสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสุขภาพเพื่อผ่อนคลายจิตใจและความเครียด สำหรับมาตรการการหลีกเลี่ยงผู้คน หากยังสามารถออกไปทำกิจกรรมรอบๆ บ้านได้

ในสถานการณ์นี้ ผู้คนจะอยู่บ้านมากขึ้น โดยสมาชิกในครอบครัวรวมตัวกันมากขึ้น สำหรับคนส่วนใหญ่บ้านจึงเป็นพื้นที่ที่ต้องให้ความรู้สึกปลอดภัย ความสุขเพื่อรักษาสุขภาพกายและสุขภาพจิต

แต่ไม่ใช่ว่าบ้านทุกหลังจะสามารถให้ความรู้สึกนี้ได้ ตัวอย่างเช่น คุณภาพอากาศภายในอาคารหรือบ้านที่เกิดจากเชื้อราหรือการระบายอากาศไม่ดีเป็นอันตรายต่อสุขภาพ การออกกำลังกายยังคงสามารถทำได้ภายในอาคารแต่อาจเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบพฤติกรรม นี่คือปัญหาในการออกแบบและเป็นข้อจำกัดของผู้ที่มีรายได้น้อย หรือแม้แต่การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต เช่นเดียวกับพื้นที่สาธารณะทางกายภาพ การวางผังและออกแบบที่สำคัญควรคำนึงถึงเรื่องสุขภาพของผู้อยู่อาศัย

 

การออกแบบพาเมืองห่างโรคได้แค่ไหน?

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้เกิดการถกเถียงถึงการวิจัยในเรื่องพื้นที่ของสถานที่ที่มีสุขภาพดีหรือเมืองสุขภาวะ ในศตวรรษที่ 19 การวางผังและออกแบบได้ให้ความสนใจหลักในเรื่องโรคติดต่อ จึงเกิดกฎระเบียบอาคารและระบบสุขาภิบาล ปัจจุบันนี้โรคติดต่อกลายมาเป็นปัญหาอีกครั้งและยังคงเป็นปัญหาต่อเนื่องเรื้อรังกับผู้มีรายได้น้อยที่ยังคงเบียดเสียดกันอยู่ในห้องเช่าที่ยังขาดสุขอนามัยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ในทศวรรษที่ผ่านมา การมองหาจุดร่วมของการวางผังและการออกแบบกับสาธารณสุขได้ให้ความสำคัญกับโรคติดต่อร้ายแรงน้อยลงและให้ความสนใจในกรณีต่างๆเพิ่มมากขึ้น เช่น การออกแบบต่อพฤติกรรมมนุษย์ การออกแบบที่ลดผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศอย่าง น้ำท่วม ภัยแล้ง

ดังนั้น การเกิดขึ้นของโรคระบาดอีกครั้งในปัจจุบันจึงทำให้เกิดการตั้งคำถามของการออกแบบการรับมือกับโรคติดต่อร้ายแรงอีกครั้ง และกำลังจะกลับมาเป็นคำถามสำคัญในการวิจัยต่อไปในอนาคต

 

ที่มา :  ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC)

เรื่อง :  กัญรัตน์ โภไคยอนันต์

แปลและเรียบเรียงจาก
What role do planning and design play in a pandemic? Ann Forsyth reflects on COVID-19’s impact on the future of urban life, โดย Ann Forsyth

ภาพ : www.pexels.com

          www.pixabay.com

 

 

 

 

 

 

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร