Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

10 วิธีเดินสายไฟเองได้ง่าย ๆ ไม่ต้องรอช่าง

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

การเดินสายไฟผิดวิธีจะทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ มากมายจนอาจทำให้บ้านเกิดอัคคีภัยได้ ด้วยวิธีเลือกสายไฟอย่างถูกต้อง คุณสามารถศึกษาการเดินสายไฟที่ตรงตามมาตรฐาน และตรวจสอบงาน ด้วยเคล็ดลับง่าย ๆ ด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. ประเภทของสายไฟ

แบ่งออกเป็น 2 แบบด้วยกันคือ สายสำหรับไฟแรงดันต่ำและสำหรับไฟแรงดันสูง โดยบ้านเรือนปกติจะใช้สายไฟแรงดันต่ำ ในประเทศไทยมีการกำหนดมาตรฐานตาม มอก.11-2553 ของสายตัวนำทองแดงที่หุ้มฉนวนต้องมีแรงดันไฟฟ้าอยู่ที่ 450/750 โวลต์ อุณหภูมิการใช้งานที่ 70 องศาเซลเซียส และ 90 องศาเซลเซียส ทั้งนี้อาจมีข้อยกเว้นกับบางสายไฟที่สามารถใช้ได้อยู่ โดยสายไฟแรงดันต่ำมีด้วยกัน 5 อย่างดังนี้

สายไอวี (IV) หรือ IEC 05 เป็นสายเดี่ยวแกนเดียว ขนาดสายจะอยู่ที่ 0.5-1 ตารางมิลลิเมตร แรงดันไฟฟ้า 300/750 โวลต์ ใช้ได้ทั้งสถานที่แห้งและสถานที่เปียก แต่ต้องยึดด้วยฉนวน ใส่ท่อเมื่อใช้ที่แห้ง และห้ามร้อยท่อฝังดินโดยตรง สามารถใช้ในบ้านเรือนทั่วไป

สายวีเอเอฟ (VAF) และ VAF/G มีทั้งเป็นสายเดี่ยว สายคู่ และแบบมีสายดิน ฉนวนหุ้มและเปลือกหุ้มอีกชั้นหนึ่ง แรงดันไฟฟ้า 300/500 โวลต์ นิยมนำสายคู่มาใช้ในบ้าน เนื่องจากมีขนาดให้เลือกเยอะ ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ สามารถนำมาตอกรัดสายติดเกาะกับอาคาร หรือพื้นที่ชื้นแฉะได้

สายทีเอชดับเบิลยู (THW) และ THW-f หรือ IEC 01-02 เป็นสายเดี่ยวคล้ายกันกับสายไอวี แต่มีขนาดใหญ่กว่าที่ 1.5-400 ตารางมิลลิเมตร แรงดันไฟฟ้า 450/750 โวลต์ จึงมักนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ใช้เดินลอยด้วยตัวยึดกับวัสดุฉนวน หรือเดินในช่องเดินสาย

สายเอ็นวายวาย (NYY) หรือ IEC 10 มีทั้งสายเดี่ยว และหลายแกน เป็นสายชนิดกลม ขนาดมากกว่า 50 ตารางมิลลิเมตร แรงดันไฟฟ้า 450/750 โวลต์ มีหลายขนาด มักใช้กันทั่วไปโดยการฝังดินโดยตรง แต่ควรระวังพื้นที่ที่ฝัง หากมีแรงกดทับหรือแรงกระแทกมากเกินไปอาจเกิดการชำรุดได้

สายวีซีที (VCT) และ VCT/G หรือ IEC 52-53 เป็นสายกลมมีแกนตั้งแต่ 1-4 แกน แรงดันไฟฟ้ามี 3 แบบคือ 300/300 โวลต์ 300/500 โวลต์ และ 450/750 โวลต์ ด้วยตัวสายมีความอ่อนตัวและทนแรงสั่นสะเทือนได้ดี จึงนำไปเครื่องมือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เคลื่อนย้ายบ่อยครั้ง 

สำหรับไฟแรงดันสูง จะใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อส่งไฟฟ้าไปให้เครื่องจักรมีพลังงานที่เพียงพอ โดยแบ่งออกเป็น 2 แบบด้วยกันคือ สายเปลือย เป็นเส้นโลหะที่ให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน ไม่มีฉนวนหุ้ม ได้แก่ สายอะลูมิเนียมตีเกลียวเปลือย (AAC) สายอะลูมิเนียมผสม (AAAC) และสายอะลูมิเนียมแกนเหล็ก (ACSR) สายหุ้มฉนวน เป็นสายเปลือยที่มีฉนวนหุ้ม ได้แก่ สาย Partial Insulated Cable (PIC), สาย Space Aerial Cable (SAC), สาย Preassembly Aerial Cable, และสาย Cross-linked Polyethylene (XLPE)

ประเภทสายไฟ2. อุปกรณ์เดินสายไฟ

มีด้วยกัน 16 อย่าง เป็นมาตรฐานในการเดินสายไฟภายในบ้าน อาจมีบางอย่างที่ใช้ในการเดินสายแบบอื่นด้วย หากเป็นไปได้ควรมีไว้ทั้งหมดเผื่อในการติดตั้งครั้งหน้า โดยมีอุปกรณ์มีดังต่อไปนี้

  • ค้อน สำหรับตอกตะปูใช้ในงานไฟฟ้ามีหลายชนิด เช่น ค้อนหงอน ทำจากเหล็ก ด้านหน้าเรียบ หงอนด้านหลังใช้ถอนตะปู และค้อนเหลี่ยมขนาดเล็ก ใช้ตอกเข็มขัดรัดสายไฟ
  • คีม ใช้ในการตัด ดัด งอ โค้ง และสามารถนำมาปอกสายไฟได้ เนื่องจากด้ามเป็นฉนวนหุ้ม จึงไม่ถูกไฟฟ้าเมื่อรั่วไหลจากการซ่อมแซม หรือเดินสายไฟ คีมที่นิยมใช้ได้แก่ คีมปอก ใช้ตัดเปลือกหุ้มและตัดสาย, คีมปากจระเข้ ใช้สำหรับจับและตัดสายไฟ, คีมปากจิ้งจก จะใช้ในพื้นที่มีขนาดเล็กมักนำมาดัด โค้ง งอสาย, และคีมย้ำหัวต่อสายไฟให้แน่น
  • ไขควง ใช้ขันสกรูและนอตให้ยึดติดแน่นกับวัสดุอื่น ไขควงมีหลายชนิดตามการใช้งาน เช่น ไขควงปากแบน, ไขควงปากสี่แฉก, และ ไขควงบล็อก
  • สว่านเจาะไม้ ใช้เพื่อร้อยสายยึดอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยมีให้เลือกหลายแบบและขนาด ตามสภาพพื้นผิว เช่น สว่านเฟือง, สว่านมือบิดหล่า, และสว่านไฟฟ้า
  • เลื่อยลอปากไม้ ฟันละเอียดใช้บากปากทำเดือยเข้าไม้แบบต่าง ๆ  และเก็บงานไม้ให้มีความเรียบร้อยสวยงาม ในงานเดินสายไฟฟ้า
  • มีดปอกสายไฟ ใช้ทำความสะอาด ปอก และขูดสาย
  • บักเต้า เป็นกล่องใส่ด้ายสีสำหรับตีเส้นก่อนตอกตะปูเดินสายไฟฟ้า ด้วยการตีเส้นให้สีตกกระทบกับพื้นเป็นรอยยาว
  • เข็มขัดรัดสาย ทำจากอะลูมิเนียม มีรูตรงกลาง 1-2 รู ใช้สำหรับยึดติดสายไฟกับผนังให้แน่น โดยขนาดที่นิยมใช้คือเบอร์ 1 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของสายด้วย
  • ฟุตเหล็กกับดินสอ ใช้ทำเส้นระยะสั้น
  • เหล็กนำศูนย์ สำหรับตอกทำจุดก่อนลงสว่านเจาะ ไม่จำเป็นต้องใช้หากผนังเป็นไม้
  • เทปพันสายไฟ ทำมาจากฉนวน ใช้พับสายไฟเมื่อติดตั้งเสร็จแล้วให้มีความเรียบร้อย และป้องกันไฟฟ้ารั่ว

ทั้งนี้ยังมี หัวแร้ง ไว้เชื่อมและประสานเหล็ก สิ่ว ใช้ในงานไม้เพื่อเซาะร่องทำทางเดินสายไฟ และเครื่องมือวัดระยะของสายไฟ เพื่อให้งานออกมามีประสิทธิภาพ 

อุปกรณ์เดินสายไฟ3. การรีดสายไฟ

จะช่วยให้สายไฟที่นำมาเดินมีความตรงเป็นแนวสวยงาม เมื่อนำมาติดกับเข็มขัดรัดสายจะช่วยให้รัดได้แน่นยิ่งขึ้น โดยปัจจุบันยังไม่มีอุปกรณ์ที่วางขายอย่างเป็นทางการในเรื่องนี้ ปกติจะใช้เพียงผ้าชุบน้ำมาคลุมเส้น นำมืออีกข้างหนึ่งจับที่ปลายสาย และมืออีกข้างหนึ่งดึงสายให้คลี่ออกมาตามระยะที่ต้องการใช้

ช่อง ช่างแขก จัดให้ จากเว็บไซต์ชื่อดัง ได้เสมอวิธีการรีดสายไฟด้วยการนำท่อ PVC ที่มีขนาดเล็กประมาณ 3 นิ้ว มายัดด้วยสายยางรดน้ำต้นไม้แบบนิ่มเข้าไปโดยให้มีความแน่นพอสมควร ขนาดประมาณ 5 เซนติเมตร แต่ให้เหลือหัวของสายยางไว้เล็กน้อย 1-2 เซนติเมตร 

วิธีการใช้ให้นำสายที่มีความคด งอ หรือโค้งใส่เข้าไปในช่องท่อ PVC โดยให้ปลายสายขึ้นมาทางสายยางที่มีหัวออกมาจากท่อเล็กน้อย นำมือข้างหนึ่งจับที่ปลายสายแล้วดึงเป็นมุมฉากกับมือที่ถือท่อ เพื่อให้สายไฟรีดไปกับ PVC และสายยาง ประมาณ 2-4 ครั้ง จะได้เส้นที่ตรงสวยงาม

อีกหนึ่งนวัตกรรมของนักศึกษาจากวิทยาลัยการอาชีพพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ที่คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ในการรีดสายไฟมีชื่อว่า เครื่องมือรีดสายไฟฟ้า VAF (VAF Tool rolled cable) โดยมีลักษณะเป็นเครื่องจับและมีลูกกลิ้งสองตัวอยู่ที่หัวจับ วิธีการเพียงนำสายไฟมาใส่ระหว่างทางเข้าและทางออกที่แตกต่างกัน จะทำให้เส้นเกิดความตรงได้ อุปกรณ์ชิ้นนี้อาจมีการพัฒนาและนำมาวางจำหน่ายในอนาคต

การรีดสายไฟ4. การเดินสายไฟแบบเดินลอย

เป็นการเดินสายไฟอย่างง่าย รวดเร็ว และใช้งบประมาณน้อย ชื่อหนึ่งที่เรียกกันคือ การเดินสายไฟแบบติดกิ๊บยึดผนัง เป็นการนำเส้นมาติดตามกำแพง ขอบเสาเป็นทางยาวไปหาจุดที่สำคัญของบ้าน เช่น ปลั๊กไฟ สวิตช์ หรือโคมไฟฟ้า ใช้เวลาน้อยเนื่องจากไม่ต้องทำช่องในผนัง หรือเจาะให้มีรูมาก ตรวจสอบง่ายเพราะสายนั้นอยู่ภายนอกกำแพง หากมีปัญหา หรือชำรุดก็สามารถซ่อมได้เอง หรือให้ช่างมาดูให้ได้ การเดินสายไฟแบบเดินลอยยังแบ่งออกได้อีก 2 แบบคือ

1. การเดินสายไฟในท่อร้อยสายไฟ เป็นการนำเส้นเข้าไปในท่อโลหะ หรือท่อพลาสติก ยึดติดกับผนัง วิธีการนี้จะทำให้สายไฟมีความปลอดภัย เมื่อเกิดปัญหาเกี่ยวข้องกับท่อก็สามารถตรวจเช็กได้ง่ายดาย และที่สำคัญติดตั้งได้ง่ายกว่าการตีกิ๊บยึดผนัง แต่แลกมาด้วยค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น ในการซื้อท่อ สีนำมาทาปกปิดให้กลมกลืนกับผนัง และจุดวางปลั๊กไฟ หรือที่กระจายไฟฟ้าอื่น ๆ ต้องยกสูงขึ้นมาให้เท่ากับท่อด้วย

2. การเดินสายไฟแบบตีกิ๊บ วิธีการนี้ถือเป็นวิธีที่ยอดนิยม เนื่องจากใช้งบน้อยที่สุด และซ่อมแซมได้ง่ายกว่าแบบแรก ด้วยการนำเส้นที่ทำการรีดให้เรียบ แล้วนำมาติดกับเข็มขัดรัดสาย ระนาบไปผนัง โดยปกติจะมี 1-4 เส้น แต่การติดตั้งแบบนี้ต้องมีความชำนาญ หากสายที่ติดไปแล้วมีจุดใดที่หลวม หรือไม่แน่นพอจะทำให้ส่วนอื่น ๆ ต้องแก้ไขตามไปด้วย

แบบเดินลอย5. การเดินสายไฟแบบฝังผนัง

ทำให้บ้านสวยงาม มีระบบการจัดวางเรื่องไฟฟ้าที่ดี โดยการนำเส้นไปไว้หลังผนัง โดยการเจาะผนังบางส่วนให้สามารถวางท่อร้อยสายไฟ และกล่องไฟฟ้าได้ จะทำให้บ้านดูเป็นระเบียบ ไม่มีจุดของปล้๊ก หรือเส้นต่าง ๆ ออกมาตามผนัง สำหรับการติดตั้งแบ่งออกไปเป็น 2 แบบ คือ

  • การเดินสายไฟฝังผนังเบา เป็นการติดตั้งภายในโครงคร่าว วิธีการนี้จะง่ายกว่าแบบเดินสายไฟผนังอิฐ และเจาะช่องเพียงบางจุดเท่านั้น เพียงวางปลั๊ก 
  • การเดินสายไฟฝังผนังอิฐ เป็นการทำที่ใช้งบประมาณมากที่สุด โดยการเจาะผนังแล้วนำท่อร้อยสายไฟลงไปในช่อง วิธีการนี้จำเป็นต้องมีการวางแผนกันตั้งแต่ก่อสร้างกับช่างผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ได้งานที่ตรงตามความต้อง และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน

ข้อเสียของการเดินสายฝังผนังอย่างหนึ่งคือ การซ่อมแซม และบำรุงรักษา เมื่อบ้านมีอายุที่มากขึ้นสายไฟก็เสื่อมสภาพลง หากมีสายบางเส้นชำรุดเสียหาย และต้องนำสายดังกล่าวออกเพื่อนำสายใหม่มาเปลี่ยน

แบบฝังผนัง6. การเดินสายไฟแบบยึดผนัง

สามารถแบ่งได้ 2 แบบคือ การเดินสายแบบติดผนัง และการเดินแบบสายในท่อร้อยสาย โดยจะมีความแตกต่างกันในเรื่องงบประมาณ และอุปกรณ์ โดยสายแบบท่อร้อยจะค่อนข้างสูง แต่การเดินสายแบบติดผนังจะทำยากกว่า และต้องมีฝีมือมากพอสมควร 

สำหรับการแบบติดผนัง จำเป็นต้องมีอุปกรณ์สำหรับวัดระดับน้ำเพิ่มเข้ามา โดยการตีเส้นให้เป็นทางให้เรียบร้อยเพื่อทำจุดวางเข็มรัดเส้นให้มีระยะห่างอยู่ที่ 2.5-3 เซนติเมตร หากมีมุมแยก หรือเป็นจุดวางอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ ให้เว้นไว้ 3 เมตร ควรหันหน้าหยาบของเส้นเข็มรัดให้เข้าหาสายไฟเพื่อช่วยในการยึด

การเดินแบบสายในท่อร้อยสาย จำเป็นต้องมีอุปกรณ์พิเศษได้แก่ ท่อ, ตัวยึดท่อ, ข้อต่อ, ท่ออ่อนร้อยสายไฟ, กล่องสแควบ๊อกซ์, และคอนเนคเตอร์ โดยตัวยึดท่อต้องมีระยะห่างไม่เกิน 5 เมตร ทุกทางแยกต้องมีกล่องสแควบ๊อกซ์ และอุปกรณ์ทางไฟฟ้าต้องติดคอนเนคเตอร์ทุกช่องที่ใช้อยู่เสมอ หากมีทางชันให้ติดข้อต่อกับท่ออ่อนร้อยสายไฟขนาดประมาณ 1 เมตรให้ผ่านไปได้

สำหรับผนังปูน จะเปลี่ยนจากดินสอเป็นบักเต้าในการวาดเส้น และใช้เหล็กนำศูนย์เจาะจุดเพื่อให้ตีเส้นอย่างถูกต้อง

การยึดผนัง7. ท่อร้อยสายไฟ

แบ่งออกเป็น 2 แบบด้วยกันตามวัสดุที่ผลิต ได้แก่ ท่อโลหะ และท่อพลาสติก โดยมีความแต่งต่างกันในเรื่องคุณภาพ และราคาตามที่ผู้ซื้อต้องการ นอกจากนี้ยังแบ่งเป็นชนิดได้ดังต่อไปนี้

ท่อโลหะ ทำจากเหล็กชุบสังกะสี แบ่งออกมา 6 ชนิด ได้แก่ 

  • ท่อโลหะชนิดบาง (EMT, Electrical Metallic Tubing) ซึ่งผ่านการชุบสังกะสีอย่างดี นิยมใช้การติดตั้งเแบบเดินลอยหรือฝังในผนัง ท่อชนิดนี้มีเนื้อบางและสามารถนำไฟฟ้าได้ จึงไม่ควรนำไปฝังดินหรือคอนกรีต โดยปกติจะมีขนาดประมาณ 1.2-2 นิ้ว
  • ท่อโลหะชนิดกลาง (IMC, Intermediate Conduit) มีความหนาและขนาดใหญ่กว่าท่อโละหะชนิดบาง จึงมักจะนำมาใช้ในการเดินลอยนอกบ้าน ฝังในผนัง หรือคอนกรีต ท่อชนิดนี้มีกระบวนการผลิตเหมือนท่อโลหะชนิดบางทุกประการ แต่จะมีขนาด 1.2-4 นิ้วและทนทานมากกว่า
  • ท่อโลหะหนาพิเศษ (RSC, Rigid Steel Conduit) มีขนาด 1.2–6 นิ้ว ผ่านการชุบสังกะสีด้วยวิธีจุ่มร้อนมาเช่นกัน มักใช้เดินลอยภายนอกบ้าน หรือฝังในผนัง เนื่องจากมีขนาด และความหนามาก จึงมีความทนทานสูง สามารถกับพื้นคอนกรีตได้เช่นกัน
  • ท่อโลหะอ่อน ชนิดสแควร์ล็อค (EFF-Squarelocked) มีขนาด 1.2-4 นิ้ว เป็นท่ออ่อนหมุนเป็นเกลียวยืดหยุ่นสูง และทนความร้อนและรอยขีดขวนได้เป็นอย่างดี จึงถูกนำมาใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในโรงงานใหญ่ ๆ มากมาย
  • ท่อโลหะอ่อน ชนิดอินเตอร์ล็อค (EFF–Interlocked) มีขนาด 1.2-4 นิ้ว เป็นโลหะอ่อนที่ผ่านการชุบสังกะสีให้มีความหนาเป็นพิเศษ จึงมีประสิทธิภาพมากกว่าท่อโลหะอ่อน ชนิดสแควร์ล็อค ไม่ควรติดตั้งตามสถานที่มีน้ำ หรือชื้นแฉะ
  • ท่อโลหะอ่อนกันน้ำ (LFMCL, iquidtight Flexible Metal Conduit) มีขนาด 1.2-4 นิ้ว เป็นโลหะเนื้ออ่อนหุ้มด้วย PVC ต้านทานความชื้นได้เป็นอย่างดี นิยมใช้ในพื้นที่อันตราย และไม่มีกระแสไฟฟ้าแรงสูงเกินไปจะทำให้ท่อเกิดความเสียหายได้
  • ท่อพลาสติก แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดคือ ท่อพีวีซีซึ่งมีขนาดที่ 1.2-4 นิ้ว สามารถป้องกันความชื้น และไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี หาซื้อได้ง่าย จึงนิยมใช้กันทั่วไป สามารถนำไปติดตั้งแบบเดินลอย หรือฝังผนังได้ แต่ไม่ควรเป็นจุดที่รับแรงกดทับ หรือกระแทกมากเกินไป เพราะท่อมีความเปราะบาง หากถูกแสงแดด หรือความร้อนนาน ๆ จะทำให้เสื่อมสภาพไว มีด้วยกัน 2 สีคือ สีเหลือง ที่ใช้เดินท่อฝังผนังให้มองเห็นง่าย และสีขาว มักใช้การเดินลอยเมื่อให้ปรับแต่งทาสีทับได้ง่าย
  • ท่อ HDPE (High Density Polyethylene) มีขนาดตั้งแต่ 1.2 นิ้วขึ้นไป วัสดุทำจากพลาสติกที่มีความหนาแน่นสูง จึงต้านทานความร้อน และยืดหยุ่นได้ดี แต่มีสีขุ่น มักทำไปใช้เดินสายใต้ดิน หรือพื้นที่มีแรงกดทับสูง
  • ท่อ EFLEX (EFLEX Pipe – Corrugated Hard Polyethylene Pipe) คือท่อเดียวกันกับ HDPE มีลักษณะเป็นปล้อง หรือเรียกว่าแบบลูกฟูก แตกต่างกันเพียงการใช้งานในพื้นที่นั้นมีความเหมาะสมกับท่อแบบใด

ท่อร้อยสายไฟ8. วิธีเปลี่ยนสายไฟใหม่

มีวิธีตรวจสอบง่าย ๆ เพียง 2 วิธี โดยไม่ใช้อุปกรณ์เฉพาะทาง เพียงแค่มองเท่านั้น ขั้นตอนแรก เช็กอายุของบ้านและการเดินสายไฟ โดยปกติสายไฟจะมีอายุอยู่ที่ 15-20 ปี หากติดตั้งการเดินสายแบบท่อร้อยสายไฟจะมีอายุมากขึ้นอีก 5-10 ปี โดยประมาณและการถอดแผงสวิทช์ หรือปลั๊กไฟออกมาตรวจสอบ โดยการดูสภาพของสายไฟยังเป็นเหมือนเดิมหรือไม่ หากเริ่มแข็งกรอบ แตกลาย จับบีบงอแล้วหัก จึงจำเป็นต้องเปลี่ยน

เปลี่ยนสายไฟใหม่9. วิธีเดินสายไฟ

โดยวิธีที่สามารถทำได้คือการเดินไฟฟ้าแบบเดินลอย มี 2 แบบคือการเดินแบบสายในท่อร้อยสาย และการเดินสายแบบติดผนัง

  • การเดินสายแบบติดผนัง จะเริ่มต้นที่ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต (Consumer Unit) โดยใช้สายไฟ VAF ควรได้รับการรีดมาอย่างดีแล้ว นำมาติดไปกับเครื่องและทิ้งระยะไว้ 30 เซนติเมตรเพื่อให้สามารถยืด หรือแก้ไขได้หากมีส่วนที่เกิน โดยนำสายมาเรียงกันเป็นแนวสวยงามให้รัดด้วยเข็มขัดตัวแรกจนแน่น จะเป็นแนวในการเดินสายไฟเข็มขัดตัวต่อ ๆ ไป ระวังอย่างให้โก่งออกมาจากผนัง อาจรีดให้บ่อยครั้งขึ้นเพื่อไม่ให้เส้นงอระหว่างเดินสาย เมื่อทำมาถึงทางแยกให้ใช้วิธีเข้าโค้ง 90 องศาทีละสายโดยการงอ อย่าหักจะทำให้สายชำรุดได้ เมื่อเข้าโค้งได้ครบหนึ่งเส้นให้รัดเข็มขัดไว้ก่อนจึงโค้งเส้นอื่น ๆ ต่อมาจนครบ เพื่อความแน่นของเส้นรัดเข็มขัด หรือทำให้สายโก่งเข้าหาผนัง สามารถใช้ค้อนทุบเบา ๆ บนจุดดังกล่าวได้ แต่ต้องมีผ้ารองไม่ให้สกปรก
  • การเดินสายแบบร้อยในท่อ จะเริ่มต้นที่ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต (Consumer Unit) โดยใช้สายไฟ VAF เหมือนกันแต่ร้อยสายหลังจากลงท่อเรียบร้อยแล้ว โดยเริ่มต้นรีดให้เรียบก่อนเพื่อเพิ่มพื้นที่ในท่อให้สายเคลื่อนที่สะดวก หากร้อยลงไปแล้วติดขัดสามารถใส่ในท่ออ่อนที่มีขนาดเล็กกว่าแล้วร้อยท่อใหม่อีกครั้ง ควรระวังอย่าดึงสายไฟจะทำให้เกิดความเสียหายได้

วิธีเดินสายไฟ10. วิธีการตรวจระบบเดินสายไฟ

แบ่งได้ 3 วิธีด้วยกันคือ การตรวจเช็คมิเตอร์ โดยการปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดภายในบ้านและนอกบ้าน แล้วสังเกตที่มิเตอร์ว่ามีการเคลื่อนไหวของไฟฟ้าหรือไม่ ควรทำทุกอย่างให้มีความปลอดภัยอยู่เสมอ

เช็คปลั๊กไฟด้วยไขควงไฟฟ้า เพียงนำปลายของไขควงลงไปในช่องของปลั๊กที่มีโลหะอยู่ ภายในไขควงจะแสดงไฟออกมาถ้าปลั๊กช่องนั้นปกติ และจะไม่แสดงผลเลยหากปลั๊กช่องนั้นไม่มีไฟฟ้าไหลผ่าน ไขควงไฟฟ้ามี 2 แบบ คือแบบกดเช็คไฟฟ้า และแบบไม่ต้องกดเช็คไฟฟ้า

และการเช็คเครื่องใช้ไฟฟ้า เมื่อเปิดทำงานแล้วมีไฟฟ้าสถิตและช็อคตัวผู้ใช้แสดงว่า เกิดการรั่วไฟของไฟฟ้าภายในบ้าน ควรเรียกช่างมาตรวจสอบ

การตรวจเดินสายไฟการเดินสายไฟนั้นจำเป็นต้องมีฝีมือ และความรู้เกี่ยวกับสายไฟพอสมควรเพื่อให้เลือกได้ถูกต้องตามจุดประสงค์ของผู้ซื้อ และต้องมีความละเอียดในการติดตั้งไปจนถึงตรวจสอบ จะทำให้บ้านมีไฟฟ้าใช้ไปอย่างยาวนาน

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร