Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

ออกแบบบ้าน-ปรับปรุงเมือง รับมือวิกฤตฝุ่นพิษ

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

ท่ามกลางการรับมือกับปัญหาวิกฤติฝุ่นละอองในระดับ Pm 2.5 จากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน หนึ่งบทบาทที่ออกมาจุดประกายความคิดและแนวทางการรับมือในสถานการณ์ครั้งนี้ มาจากคนในแวดวงสถาปัตยกรรมและภูมิสถาปนิก ด้วยการสะท้อนมุมมองด้านสถาปัตยกรรมให้คนเมืองทั้งกรุงเทพฯและต่างจังหวัดที่ต้องเจอกับมลภาวะฝุ่นคลุมเมืองต้องปฏิบัติตัวอย่างไร ทั้งในระดับของการอยู่อาศัยระดับบุคคล ที่เป็นบ้านพักอาศัย คอนโดมิเนียม และการแก้ปัญหาในระดับเมือง

ปรับวิธีคิดออกแบบที่อยู่อาศัย
ผศ.ดร.อันธิกา สวัสดิ์ศรี ประธานสภาคณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย และคณบดีคณะสถาปัตยกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่า สิ่งสำคัญคือการปรับความคิดใหม่ด้านการออกแบบ สำหรับการอยู่อาศัยในแนวราบที่เป็นบ้านเดี่ยว และทาวน์เฮ้าส์ จะได้รับผลกระทบจากฝุ่นละอองมากกว่าเมื่อเทียบกับคนที่อยู่อาศัยในคอนโดมิเนียม สาเหตุจากพื้นที่เปิดโล่งมากกว่า อากาศได้รับการถ่ายเทมาจากหลายทิศทาง ในขณะที่คอนโดมิเนียมส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ปิด ทั้งยังมีตัวช่วยต่างๆ เช่น เครื่องกรองอากาศ

เมื่อมองถึงการใช้ชีวิตในที่อยู่อาศัย อาจต้องเริ่มปรับวิธีคิดกันใหม่ จากที่ผ่านมา การวางทิศทาง หากออกแบบโดยสถาปนิก ต้องกำหนดให้ห้องไปทางทิศตะวันออก เพื่อรับลมหนาว แต่ทุกวันนี้อาจต้องปรับวิธีคิดใหม่ เช่น มีช่องปิดรับอากาศ  หรือปลูกต้นไม้ให้มากขึ้น ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อสกัดกั้นลมที่พัดพาฝุ่นละออกมาในทิศทางนี้

นอกจากนี้ ยังสามารถทำได้โดยการจัดหาต้นไม้ที่จะมาทำหน้าที่ฟิวเตอร์ หรือตัวกรองอากาศให้กับทุกคนภายในบ้าน  โดยงานวิจัยที่น่าสนใจในต่างประเทศพบว่า ปลูกต้นไม้เพราะช่วยกรองฝุ่น แต่อาจต้องเลือกต้นไม้ที่กรองฝุ่นเล็กๆ ได้ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง วิจัยไว้น่าสนใจ การเลือกใช้ต้นไม้แบบไหนที่ช่วยกักเก็บฝุ่นให้ดูที่ลักษะใบเหมือนกับใบสน คือเล็กและแหลม ตัวใบจะมีร่องลึก ซึ่งจะกักฝุ่นไว้ในต้นไม้ได้

สำหรับคนที่พักอาศัยอยู่ในกทม. อาจไม่มีต้นสน ก็ต้องปรับมาเป็นต้นเข็ม หรือต้นไม้ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับที่งานวิจัยระบุเช่น  ไทร หมาก เยอบีร่า นี่เป็นเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ที่แต่ละบ้าน โดยเฉพาะบ้านในเมืองทำได้ อีกด้านเป็นการเลือกใช้วัสดุเล็กๆ น้อยที่ต้องปรับรับกับสถานการณ์นี้ เช่น บ้านที่ปูพรมจะกักฝุ่นเยอะมาก อาจมีทางเลือกไปใช้วัสดุที่เป็นไวนิล ซึ่งจะไม่เก็บฝุ่น  ในกรณีบ้านพักอาศัยในต่างประเทศทำกันเยอะ คือสร้างสวนแนวตั้ง ช่วยช่วยกรองฝุ่นเข้าสู่บ้านและอาคารได้

เร่งเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้เมือง
ขณะที่การรับมือในระดับเมือง  ผศ.อาสาฬห์ สุวรรณฤทธิ์ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และภูมิสถาปนิก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ภูมิสถาปนิกมีบทบาทในการพัฒนาพื้นที่ภายนอกอาคาร ตั้งแต่สเกลเล็ก ได้แก่ อาคาร บ้านเรือนต่างๆ  หรือสเกลที่ใหญ่ขึ้นมาก็คือ เออเบิร์น แลนด์สเคป เมืองที่มีความหนาแน่นสูง เช่น กทม. มีข้อมูลจากสำนักสิ่งแวดล้อมกทม. ได้รวบรวมพื้นที่สีเขียวในปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 150 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็น 10% ของพื้นที่กทม.ทั้งหมด เมื่อเทียบกับเมืองอย่าง สิงคโปร์ วันนี้มีพื้นที่สีเขียวแล้ว 47%

นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยบอกด้วยว่า ควรมีการจัดวางอาคารในเมือง หรือกลุ่มอาคารให้ที่ช่องว่างเพื่อให้เป็นพื้นที่สีเขียวแทรกอยู่ คอยเป็นฟิวเตอร์ ช่วยกรองฝุ่นละอองให้เมืองได้ ซึ่งสิงคโปร์ ใช้คอนเซ็ปต์นี้ในการออกแบบเมือง  บางจุดที่ไม่มีพื้นที่แนวราบ แต่จะใช้การออกแบบในคอนเซ็ป การ์เดนท์ซิตี้ เน้นปลูกต้นไม้บนอาคารแทน ทำให้ภาพรวมของเมืองในสิงคโปร์ เป็นไปในลักษณะของเมืองในสวน

ย้อนกลับมามองที่ กทม. เมืองที่มีความหนาแน่นสูงแต่มีช่องว่างของเมืองน้อยมาก เป็นเหตุว่า ช่วงเวลาที่มีมลภาวะอากาศเคลือนที่ผิดปกติ เช่น ฤดูหนาว ความกดอากาศจะเปลี่ยนไป ทำให้ฝุ่นตกตะกอนกรองอยู่พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่งกระทบอย่างเช่นที่ประเทศไทยเจออยู่ในตอนนี้

สิ่งที่ทำได้ในตอนนี้ คือ ทุกคนร่วมกันปลูกต้นไม้เติมออกซิเจนเข้าไปในอากาศ และกรองฝุ่นละอองให้มากที่สุด เป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องทำในระดับสเกลของเมือง โดยให้มีการบริหารจัดการพื้นที่สีเขียวให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น     

“อย่างไรก็ดี ทางกรุงเทพมหานครได้มีการกำหนดยุทศาสตร์ 20 ปี ส่วนหนึ่งได้มีการกำหนดถึงยุทธศาสตร์การสร้างพื้นที่สีเขียวเอาไว้ด้วย แต่อยู่ในช่วงเริ่มต้น ผมได้มีโอกาสเข้าไปมีส่วนร่วมในการทำเรื่องนี้ ซึ่งปัจจุบันพื้นที่สีเขียวในกทม.มีประมาณ 6 ตารางเมตรต่อคน ขณะที่ควรจะอยู่ที่ 9 ตารางเมตรต่อคน ซึ่ง กทม.กำลังผลักดันในเรื่องนี้”

ในวันนี้ พื้นที่สีเขียวใน กทม.เกิดขึ้นอย่างกระจัดกระจาย ไม่เป็นระบบ หากเราสามารถออกแบบระบบผังเมืองให้เป็นระบบมากขึ้น แทรกสีเขียวเข้าไปในพื้นที่ที่มีการอยู่อาศัยหนาแน่นจะเป็นตัวกรองฝุ่นละอองให้กับคนในกทม.ได้

กรณีศึกษาจาก เบอร์ลิน
ด้าน ผศ.ดร.พลเดช เชาวรัตน์ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวว่า สังคมไทยตอนนี้ วิตกกังวลกับเรื่องฝุ่นละอองในอากาศในประเด็นต่างๆ เยอะแยะไปหมด ก็ค้นหาและศึกษาพบกรณีศึกษาที่น่าสนใจของเมืองขนาดใหญ่ ก็คือ เบอร์ลิน ในเยอรมนี จากที่ผู้อยู่อาศัยต้องเจอกับมลภาวะฝุ่นละอองจำนวนมาก แค่เดินออกไปที่ระเบียงก็เจอกับฝุ่นหนา หิมะตกเป็นสีดำ วันนี้เบอร์ลิน จัดการปัญหามลภาวะเมืองได้เป็นที่เรียบร้อย แล้วกำลังเดินหน้าเข้าสู่เฟสสองของการทำงาน

เริ่มที่การจัดการระบบสาธารณะรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงดีเซลลดลง ซึ่งผู้นำประเทศเยอรมนีประกาศแล้วว่า ประเทศจะปลอดจากรถใช้น้ำมันในอนาคต นี่เป็นยุทธศาสตร์ระดับประเทศ

นอกจากนี้ การออกแบบเมืองให้สำนักงาน และบ้านพักอาศัยต้องใช้เวลาในการเดินทางในระยะใกล้ จากจุดหนึ่งไปถึงอีกจุดเพื่อลดมลภาวะที่เกิดจากรถยนต์  ทำให้เมืองคอมเพล็กซ์ ลดสเกลเมืองให้เล็กลง วิธีนี้ใช้ได้กับเมืองที่มีความหนาแน่น เช่น กทม. สำหรับทิศทางต่อไปในอนาคต มองว่าหากเมืองจะเติบโต กรีนหรือพื้นที่สีเขียวก็ต้องโตด้วย ซึ่งในเบอร์ลินได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่า ใน 1 กิโลเมตรต้องมีต้นไม้ 82 ต้น หรือระยะการเดินด้วยเท้า 500 เมตรต้องเจอสวน เป็นต้น

ที่สำคัญ การป้องกันรับมือกับฝุ่นพิษ และอาจจะรวมไปถึงมลพิษด้านอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบกับทุกๆ คน คงต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วนในสังคม ช่วยผลักดันให้เกิดขึ้นอย่างจริงจังเสียที
 

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร