Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

9 ความจริงของสายดิน รู้ไว้เพื่อความปลอดภัยของทุกคนในบ้าน

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

สายดิน หากติดตั้งไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน เมื่อเกิดไฟฟ้ารั่วไหลในอาคาร อาจสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินและชีวิตของผู้อาศัยได้ มาทำความรู้จักหลักการทำงานของสายดิน ว่าควรติดตั้งกับอะไร ติดตั้งที่ไหน และตรวจสอบอย่างไรว่าปลอดภัย ตามกฎเกณฑ์ของการไฟฟ้านครหลวง ตามขั้นตอนดังนี้

1. ทำไมต้องติดสายดิน?

สายดิน ช่วยป้องกันผู้อยู่อาศัยภายในบ้านเมื่อกระแสไฟฟ้ารั่วจากตัวสายไฟ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ชำรุดเสียหายไม่ได้มาตรฐาน โดยลักษณะของสายดินจะเป็นเส้นสีเขียว หรือสีเขียวสลับเหลือง ขนาดอยู่ที่ 0.5-2 เซนติเมตร วางตามหลังปลั๊กไฟที่มีสามตา หรือด้านล่างเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำจากเหล็ก หรือตัวนำไฟฟ้า 

การติดตั้งสายดินจำเป็นต้องนำปลายสายไฟลงดินจริง หรือจุดที่มีการเชื่อมลงหลักดิน หรือกราวด์ (Ground) เอาไว้จึงจะสามารถป้องกันไฟดูดได้ ควรติดตั้งพร้อมกับเครื่องตัดไฟรั่ว จะช่วยให้ไฟฟ้าที่เกิดการรั่วไหลไม่ไปทำอันตรายกับเครื่องใช้ไฟฟ้า เพราะการมีสายดินเพียงอย่างเดียวไม่สามารถจัดการปัญหาของไฟฟ้าที่เกิดขึ้นมาได้อย่างตรงจุด

ประโยชน์2. การทำงาน

สายดินจะนำกระแสไฟฟ้าที่รั่วไหลออกมาจากเครื่องใช้ไฟฟ้าลงสู่พื้นดิน หลักการทำงานจะใช้ศักย์ไฟฟ้า (Electric Potential) เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งไฟฟ้าจะมีค่าศักย์เป็นขั้วบวก และพื้นดินจะมีค่าศักย์เป็นขั้วลบ ธรรมชาติทั้งสองขั้วจะวิ่งเข้าหากันเสมอตามศักย์ที่มีค่าสูง นั่นคือไฟฟ้าวิ่งไปหาค่าศักย์ต่ำคือพื้นดิน 

ด้วยเหตุนี้เมื่อไม่มีการติดตั้งสายดินและเกิดไฟฟ้ารั่วไหล มันจะพยายามหาวิธีทำให้ตัวเองลงสู่พื้นดินให้ได้ จึงใช้ร่างกายของผู้ที่สัมผัสเครื่องใช้ภายในบ้านเป็นตัวนำไฟฟ้า แต่หากมีการติดตั้งสายดินแล้วเมื่อมีไฟฟ้ารั่วไหล จะวิ่งเข้าหาตัวนำไฟฟ้าที่ดีที่สุดนั่นคือสายดินและลงสู่พื้นดินโดยตรง ทั้งนี้เป็นเพราะร่างกายของมนุษย์เป็นตัวนำไฟฟ้าได้ไม่ดีเท่ากับสายดิน และเดินทางผ่านลำบากกว่ามาก

การทำงาน3. ส่วนประกอบ

สายดินสามารถแบ่งได้ 2 ส่วนด้วยกันคือ สายดินที่ติดตั้งในบ้าน และเสาหลักดินที่ติดตั้งนอกบ้าน โดยมีรายละเอียดสำคัญที่ต้องปฏิบัติเล็กน้อยเพื่อทำให้เกิดความปลอดภัยภายในบ้าน มีการใช้งานที่ยาวนาน และตรงตามมาตรฐาน

สายดินที่ใช้ติดตั้งภายในตัวบ้าน มักมีแกนเดียว ภายในเนื้อสายเป็นทองแดง และหุ้มด้วยฉนวนกันความร้อนประเภท PVC หรือสาย VCT สามารถแยกสายออกมาได้อีก 2 แบบคือ สายดินที่ใช้ในวงจรย่อยจะเป็นตัวเชื่อมระหว่างเครื่องใช้ไฟฟ้าไปหาสายกราวด์ และลงสู่พื้นดิน จะมีขนาดเล็กสังเกตได้ง่ายตามด้านหลังของอุปกรณ์ต่าง ๆ สายต่อหลักดิน มีขนาดใหญ่ มักอยู่นอกบ้าน ทำหน้าที่รวมสายย่อยทั้งหมดภายในบ้านก่อนจะนำไปผูกเชื่อมกับเสาหลักดิน สายดังกล่าวจำเป็นต้องเลือกขนาดให้เข้ากับกระแสไฟฟ้าที่จ่ายมาจากการไฟฟ้า สามารถตรวจเช็กได้กับตัวนำประธาน โดยตัวสายต้องมีขนาดของทองแดงอยู่ที่ 10-95 ตารางมิลลิเมตร

เสาหลักดิน หลักดินแนวดิ่ง หรือกราวด์ (Ground) มีลักษณะเป็นแท่งเหล็กยาวสีทองแดง มีหัวล็อกด้านบนของแท่ง ทำหน้าที่เป็นตัวนำประจุไฟฟ้าที่รั่วไหลภายในบ้านลงสู่พื้นดิน ในปัจจุบันนิยมใช้แท่งเหล็กที่หุ้มด้วยทองแดง (Copper-Clap Steel) เพราะมีความทนทาน และมีอายุการใช้งานยาวนานที่สุด โดยมีมาตรฐานของขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ที่ ⅝ นิ้ว และความยาวตั้งแต่ 2.4 เมตรขึ้นไป

ส่วนประกอบ4. การติดตั้ง

ตามมาตรฐานกฎการเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าของการไฟฟ้า จะต้องแบ่งสายไฟฟ้าที่ผ่านมาจากการไฟฟ้า และจากบ้านเรือน หรืออาคารอย่างชัดเจน ไม่นำมารวมกัน ซึ่งมีรายละเอียดในการติดตั้งสายดินดังนี้

สายนิวทรัลที่ต่อมาจากการไฟฟ้าต้องอยู่ในฝั่งด้านไฟเข้าของเครื่องตัดวงจรตัวแรกในตู้สวิตช์บอร์ดหลัก หรือไม่ไปรวมกับตู้สวิตช์บอร์ดอื่น ๆ ในบ้าน นอกจากผ่านนิวทรัลบอร์ดก่อน แล้วจึงต่อเข้ากราวด์บอร์ดโดยตรง

สายดินของอุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต้องต่อกับเมนสวิตช์ แล้วจึงนำสายดินของเมนสวิตช์มาเชื่อมสายต่อหลักดินอีกครั้งหนึ่ง ไม่จำเป็นต้องติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วหรืออุปกรณ์ป้องกันไฟดูด เพราะเป็นมาตรการรองลงมาเพื่อเพิ่มความปลอดภัยเท่านั้น

เสาหลักดินกำหนดให้มีเพียง 1 เสาภายในบ้านหนึ่งหลัง ยกเว้นกรณีของบ้านที่มีความต้านทานสูงและการไฟฟ้าอนุมัติแล้ว ซึ่งเสาต้องมีระยะห่างออกจากตัวบ้านอย่างน้อย 0.6 เมตร และลงใต้พื้นดินให้มีความลึก 0.3 เมตรขึ้นไป 

วงจรสายดินต้องไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน ใช้เซอร์กิตเบรกเกอร์ หรือสะพานไฟให้ตรงตามกระแสไฟฟ้าที่จ่ายผ่านการไฟฟ้า สายไฟที่รวมในท่อโลหะต้องมีสายดินร่วมเข้าไปด้วย และอุปกรณ์โลหะหากไม่มีสายดินต้องติดตั้งให้ห่างจากการสัมผัส โดยมีความสูง 2.4 เมตร และพื้นที่โดยรอบ 1.5 เมตร

การติดตั้ง5. เครื่องใช้ไฟฟ้า

เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีโครงห่อหุ้มเป็นโลหะ เช่น เครื่องซักผ้า เครื่องอบผ้า ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง หรือเตาอบที่ใช้ไฟฟ้า ควรทำการติดตั้งสายดินทั้งหมด เพื่อให้เกิดความปลอดภัยมากที่สุดต่อผู้อาศัยภายในบ้าน 

สามารถสังเกตได้ที่หัวปลั๊กไฟของอุปกรณ์ไฟฟ้า หากมีสามแท่งแสดงว่ามีการต่อสายดินเอาไว้อยู่แล้ว จึงนำไปเสียบกับปลั๊กสามตา หรือเต้าเสียบของบ้านที่ได้มาตรฐานรางปลั๊กไฟ-ปลั๊กพ่วงของประเทศไทย มอก. (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม) 2432-2555 ได้เลย 

อีกทั้งให้ตรวจสอบสัญลักษณ์ของเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยมีสัญลักษณ์ด้วยกัน 2 แบบคือ รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 2 อันซ้อนกันโดยมีขนาดเล็กอยู่ภายใน และวงกลมมีอักษรตัวทีกลับหัวในครึ่งบน มีเส้นตรง 2 เส้นครึ่งล่างไล่ระดับจากยาวไปสั้น และปิดเส้นกากบาททับออกมาจากวงกลมเล็กน้อย โดยสัญลักษณ์ทั้งสองแบบนี้มีหมายความว่าไม่เป็นอันตรายจากไฟฟ้ารั่วไหล จึงไม่จำเป็นต้องต่อสายดินเช่นกัน

เครื่องใช้ไฟฟ้า6. การใช้ร่วมกัน

สามารถนำสายดินภายในบ้านมาใช้ร่วมกันได้ จะช่วยให้ปรับปรุงแก้ไขระบบการเดินสายดินได้ง่าย ประหยัดทั้งเรื่องของเวลาและงบประมาณ เพราะนำมารวมไว้ที่จุดเดียวกัน หากผ่านตู้คอนซูมเมอร์ เมื่อเกิดไฟฟ้ารั่วจะทำให้รู้จุดที่เกิดเหตุได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น และเป็นการทำตามมาตรฐานกฎการเดินสายและติดตั้งอีกด้วย

การใช้ร่วมกัน7. ไม่มีสายดิน

แบ่งออกได้ทั้งสิ้น 2 ขั้นตอนด้วยกันคือ การตรวจสอบ และปรับปรุงแก้ไข เนื่องจากบ้านที่เก่าจะมีสายไฟฟ้าที่เดินระบบไว้อยู่แล้ว จึงทำให้การวางสายดินทำได้ง่ายยิ่งขึ้นโดยการเดินตามเส้นสายไฟเก่า และเจาะเพิ่มเติมในส่วนของสายต่อดิน ซึ่งรายละเอียดมีดังนี้

1. การตรวจสอบ รวมไปถึงงบประมาณในการเปลี่ยนแปลงระบบไฟฟ้าของบ้าน ก่อนอื่นควรเช็กสภาพการทำงานของเต้าเสียบในแต่ละจุดของบ้านก่อน โดยใช้ไขควงตรวจสอบไฟฟ้าเพื่อดูว่าสายใดในตัวบ้านมีปัญหา ต่อมาเช็กสายไฟฟ้าโดยการเปิดช่องเต้าเสียบออกมาดูหนังหุ้มภายนอก หากมีรอย กรอบ งอ หรือเกิดการหัก จำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่ สุดท้ายเครื่องจัดการระบบไฟฟ้า หากเป็นไปได้ควรมีตู้คอนซูมเมอร์ (Consumer Unit) จะช่วยในเรื่องไฟฟ้าได้ง่ายยิ่งขึ้น เนื่องจากถูกวางระบบมาแล้ว

2. การปรับปรุงแก้ไข ทำได้โดยการติดตั้งตู้คอนซูมเมอร์เพื่อให้ทราบทางส่งสายไฟฟ้าของส่วนต่าง ๆ ภายในบ้าน สร้างระบบในการจัดการใหม่ หากการเดินสายเก่าไม่เป็นไปตามความต้องการขั้นต้นสามารถรื้อได้ แต่ต้องใช้งบประมาณมากยิ่งขึ้น เปลี่ยนเต้าเสียบให้มี 3 ขาตามกฎเกณฑ์มาตรฐานของไทย และเริ่มเดินสายดินควบคู่ไปกับสายไฟฟ้าอื่น ๆ หากต้องการความปลอดภัยควรเริ่มทำระบบสายดิน สาย N ให้เรียบร้อยเสียก่อนจึงมาเดินระบบสาย L ในภายหลัง

ไม่มีสายดิน8. ย้ายตำแหน่ง

สามารถย้ายตำแหน่งสายดินได้ หากพื้นที่ดังกล่าวไม่เอื้ออำนวยในการติดตั้งสายดิน หรือเสาหลักดิน ก่อนการเคลื่อนย้ายควรปิดระบบไฟฟ้าภายในบ้านก่อน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้เปลี่ยน หากเป็นไปได้ควรทำในช่วงเช้าจะทำให้มองเห็นเสา และความเสียหายอื่นที่เกิดขึ้น อาจใช้ไขควงตรวจสอบไฟฟ้า เมื่อไม่สามารถปิดระบบไฟฟ้าในช่วงเวลาดังกล่าว หรือเพิ่มการป้องกันในการย้ายเสาหลักดิน

เมื่อนำเสาขึ้นมาแล้วควรเช็กสภาพสายต่อหลังดิน และหัวต่อเสาเดินดิน ว่ายังคงความสามารถนำไฟฟ้าได้อยู่ หรือมีจุดใดเกิดความเสียหาย เพื่อทำการเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงใหม่ก่อนนำไปติดตั้งในตำแหน่งอื่น ควรคำนึงถึงระยะห่างจากตัวบ้าน ความลึกที่ถูกบังคับไว้เพื่อให้เกิดความปลอดภัย และเดินสายไฟให้เป็นระเบียบไม่ให้รับผลกระทบจากสภาพอากาศ หรือเป็นอันตรายต่อผู้พักอาศัย

ย้ายตำแหน่ง9. ข้อระวัง

ห้ามลองทำในสิ่งที่ไม่รู้ และอย่าทำในช่วงที่เปิดระบบไฟฟ้าอยู่ เนื่องจากไฟฟ้าเป็นสิ่งอันตรายที่สามารถจบชีวิตของผู้ติดตั้ง หรือสัมผัสมันได้ การทำงานอยู่บนหลักความปลอดภัยจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ไม่ควรทำในสิ่งที่ไม่เข้าใจ หรือไม่มั่นใจ หากเป็นเช่นนั้นแล้วควรให้ช่างมาเดินสายดินช่วยจะดีกว่า เพื่อให้ระบบเป็นไปอย่างถูกต้อง ใช้งานได้จริง ยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานยิ่งขึ้น

ข้อระวังการติดตั้งสายดินถือเป็นความเสี่ยงที่สามารถทำลายชีวิตของผู้ติดตั้งได้ หากไม่มีความชำนาญมากพอ ด้วยขั้นตอนที่ให้ไว้จะช่วยป้องกันและตรวจสอบอันตรายจากไฟฟ้าที่รั่วไหล จนสามารถแก้ไขปัญหาได้ในระดับหนึ่งเพื่อให้ผู้อาศัยภายในบ้านปลอดภัย และมีความสุข

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร