Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

ปูพื้นหน้าบ้าน วิธีเปลี่ยนที่แคบหน้าบ้านให้เป็นประโยชน์

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

การปูพื้นหน้าบ้าน ถือเป็นอีกพื้นที่หนึ่งเราทุกท่านควรให้ความสำคัญและไม่ควรละเลย เพราะถือว่าเป็นจุดต้อนรับด่านแรกก่อนผู้มาเยือนนั้นเข้าไปยังตัวบ้าน ซึ่งหลายท่านอาจเน้นแค่ความสวยงามและทันสมัย จนเผลอลืมใส่ใจเรื่องความปลอดภัยและประโยชน์การใช้สอย มาดูกันสิว่าทาง Baania นำมาฝาก มีเคล็ดลับและเทคนิคอะไรบ้าง ที่จะช่วยเปลี่ยนพื้นที่แคบหน้าบ้าน ให้มาพร้อมกับประโยชน์ในการใช้สอยอีกมากมาย  

รูปแบบการปูพื้นหน้าบ้าน

เปลี่ยนพื้นที่ว่างเปล่าหน้าบ้าน ให้กลับมามีสีสัน แถมยังช่วยลดความร้อนและยังเพิ่มพื้นที่ใช้สอย กับ 4 แบบการปูพื้นหน้าบ้าน ที่เราได้นำมาฝากทุกท่าน

  • แบบบล็อกปูพื้น หรือกระเบื้องซีเมนต์ คือการนำบล็อกนั้นมาปูลงบนหญ้า เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม ให้ความทันสมัย สบายตา แต่แข็งแรงทนทานเทียบเท่ากับคอนกรีต เหมาะกับท่านที่ไม่มีเวลามากนัก เพราะดูแลง่าย ระบายน้ำได้ดี แถมยังเป็นพื้นจอดรถได้อีกด้วยและที่สำคัญไม่ต้องรื้อสวนหญ้าหน้าบ้านอีกด้วย 

  • แบบปูด้วยไม้ จะให้ความเป็นธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นไม้ชนิดใดก็ตาม แถมยังเพิ่มพื้นที่การใช้สอย เป็นพื้นทางเดิน หรือจัดเป็นสวนหรือพื้นที่นั่งเล่นก็ได้อีกต่างหาก 
  • แบบปูด้วยกรวดล้าง ทรายล้าง ซึ่งให้ผิวสัมผัสของหินธรรมชาติ ให้ความสวยงามแต่ยังคงความคลาสสิคไว้ เหมาะกับการปูพื้นทางเดิน ผนัง หรือลานจอดรถ
  • แบบคอนกรีตปูน วัสดุทดแทน ที่อัดขึ้นเป็นรูปทรงต่าง ๆ รับแรงอัดได้มาก ราคาถูกกว่าหินธรรมชาติ เหมาะกับการปูนอกบ้าน เป็นทางเดินหรือทางเข้าโรงจอดรถ ก็เหมาะสม 
    ทั้งหมดนี้เป็นเพียงการหยิบยกตัวอย่างแบบง่าย ๆ และกำลังเป็นที่นิยมมาฝากแก่ทุกท่าน แต่ถึงอย่างไร ท่านควรทำการศึกษาข้อมูลด้านอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อเป็นพื้นฐานก่อนตัดสินใจ

ประโยชน์จากพื้นที่วิธีการปรับพื้นที่หน้าบ้าน

วิธีการปรับพื้นที่หน้าบ้าน ทำได้ง่าย ๆ ไม่ยากกับ 6 ขั้นตอน 

  1. ตรวจสอบว่าพื้นต้องใช้สอยแบบใด ถ้าหากเป็นโรงจอดรถ ให้ทำมุมลาดเอียง จากนั้นทำการปรับพื้นที่โดยการใช้จอบถากดินพร้อมกำจัดวัชพืชต่าง ๆ โดยทำการเกลี่ยผิวดินให้เสมอ

  2. วางโครงสร้างและวัดระดับ สำหรับแนวทางเดินให้ทำการกั้นขอบด้วยอิฐขอบปูน หรือขอบสำเร็จรูป เพื่อง่ายต่อการปูพื้นและเพิ่มความแข็งแรงมากขึ้น
  3. รองพื้นด้วยแผ่นใยสังเคราะห์ (Geotextile) เพื่อป้องกันไม่ให้ทรายไหลรวมกับดิน 
  4. โรยทรายหยาบแล้วเกลี่ยให้ทั่ว ตามด้วยการบดอัดแน่นด้วยลูกกลิ้ง ถ้าไม่มีสามารถใช้จอบหรือคราดแทนได้ โดยความหนาของพื้นที่จะประมาณ 3-6 เซนติเมตร
  5. ทดลองวางแผ่นปูพื้น เพื่อตรวจสอบระดับความสูง หากไม่เท่ากัน ให้ให้เกรียงปาดทรายออก
  6. วางแผ่นปูพื้น แล้วกดให้แน่น เคาะเบา ๆ ด้วยค้อน หรือเกรียงให้แน่น ให้ได้ตามระดับที่ต้องการ 

คำแนะนำ หากเป็นพื้นที่ที่ใช้งานหนัก เช่น โรงจอดรถ ทางเดินที่มีการสัญจร หรือเคลื่อนย้ายสิ่งของเป็นประจำ ควรเพิ่มคอนกรีตโครงสร้างเพื่อเสริมความแข็งแรงและทนทานมากยิ่งขึ้น 

ปรับพื้นที่หน้าบ้านวัสดุที่ใช้ในการปูพื้นหน้าบ้าน

สำหรับวัสดุปูพื้นเราได้รวบรวบข้อมูลฉบับย่อมาฝากแก่ทุกท่าน รวมถึงข้อดีข้อเสียของวัสดุปูพื้น 7 ประเภท

  1. พื้นลามิเนต ผิวสวย เลือกสีได้ น้ำหนักเบา ปูทับกระเบื้อง หรือเซรามิกได้เลย แต่ไม่ทนน้ำและปลวกสามารถกัดกินได้ 
  2. พื้นกระเบื้องเซรามิก แข็งแรง ทนความร้อน กันรอยขีดข่วน มีหลายลวดลายให้เลือก แต่ไม่ชอบน้ำและลื่นง่าย 
  3. พื้นไม้จริงสำเร็จรูป ให้ความอบอุ่นสบายตา ติดตั้งได้เร็ว โดยไม่ต้องขัดสี แต่ราคาสูง ไม่ทนไฟ ไม่ชอบน้ำและปลวกชอบกัดกิน
  4. พื้นกระเบื้องยาง ยึดเกาะดี ลดการลื่น ทนความชื้น และไม่เกิดฝุ่น แต่ไม่ทนกรดและด่าง เกิดรอยขีดข่วนได้ง่าย 
  5. พื้นไม้เอนจิเนียร์ ให้ความอบอุ่น เป็นธรรมชาติ มีหลากหลายลวดลายให้เลือก ราคาแพงและไม่ทนต่อความชื้น
  6. พื้นไม้คอร์ก ลดแรงกระแทก ทนทาน เป็นฉนวนกันความร้อน สามารถนำมารีไซเคิลใหม่ได้ แต่ไม่สามารถซ่อมแซมได้ กันความชื้นได้จำกัดและราคาแพง
  7. พื้นหินอ่อน ให้ความงาม คงความหรูหรา ติดตั้งและทำความสะอาดง่าย แถมใช้งานได้ยาวนาน แต่ไม่ทนกรดและความร้อน น้ำหนักค่อนข้างมาก รวมไปถึงพื้นผิวลื่นเมื่อโดนน้ำ 

ทั้ง 7 ประเภทวัสดุปูพื้นนั้น ท่านสามารถพิจารณาตามความต้องการและกำลัง รวมถึงอาจจะทำการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อคำนวณค่าใช้จ่ายก่อนตัดสินใจ ซึ่งทำอย่างไรนั้น ก็มาต่อกันในหัวข้อถัดไป 

วัสดุปูพื้นหน้าบ้านแบบประหยัด วิธีการคำนวณค่าใช้จ่ายไม่ให้งบบาน

สำหรับหัวข้อสุดท้าย ขอจบด้วยวิธีการคำนวณค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพื่อช่วยให้งบไม่บานปลาย โดยมีทั้งหมด 5 ข้อ ดังนี้ 

  1. วัสดุและอุปกรณ์ที่ต้องใช้มีอะไรบ้าง เช่น กระเบื้อง หิน ปูน ทราย 
  2. วัดขนาดพื้นที่ใช้สอยเพื่อคำนวณวัสดุที่ใช้ต่าง ๆ อย่างคร่าว ๆ
    ยกตัวอย่างการคำนวณกระเบื้อง 
    ใช้สูตรพื้นที่ = กว้าง X ยาว 
    สมมติว่าวัดขนาดพื้นที่ได้ 10 * 10 = 100 ตารางเมตร เท่ากับเราต้องใช้กระเบื้องประมาณ 100 กล่อง เพราะส่วนใหญ่กระเบื้อง 1 กล่องจะบรรจุกล่องละ 1 ตารางเมตร แต่ทั้งนี้ต้องทำการวัดพื้นที่และแจ้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายอีกครั้ง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องมากที่สุด และขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ช่วยท่านประหยัดงบได้เป็นอย่างมาก 
  3. พิจารณาว่าสามารถลงมือทำเองได้ทั้งหมด หรือต้องมีการจ้างบางส่วน เพราะการจ้างถือเป็นค่าใช้จ่ายเช่นกัน แต่ถ้าหากมีส่วนใดที่ท่านต้องการความละเอียด หรือต้องใช้เทคนิคพิเศษ ก็ควรให้ผู้เชี่ยวชาญปฏิบัติงานดีกว่า 
  4. ตั้งงบประมาณจากการคำนวณ และให้บวกลบ 5% เผื่องบบานปลาย โดยอาจจะเข้าเว็บไซต์ร้านค้าต่าง ๆ เพื่อเทียบราคา  
  5. คำนึงถึงคุณภาพ ต้องเหมาะสมกับราคา รวมไปถึงปรึกษาฝ่ายขาย หรือผู้เชี่ยวชาญก่อนตัดสินใจซื้อเสมอ เพื่อท่านจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและได้รับวัสดุตรงตามที่ต้องการ  

ปูพื้นหน้าบ้านแบบประหยัด

จบกันไปแล้ว กับ การปูพื้นหน้าบ้าน ด้วยวิธีการเปลี่ยนที่แคบให้เป็นประโยชน์ ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร มีความรู้เรื่องช่างหรือไม่ ก็สามารถปูพื้นด้วยตนเองได้ แค่รู้จักกับการออกแบบพื้นตามการใช้งานต่าง ๆ เข้าใจหลักการปรับพื้นที่ และรู้จักประเภทวัสดุ เพียงเท่านี้ ท่านก็สามารถปูพื้นได้ด้วยตนเอง แถมคุมงบให้เงินในกระเป๋าไม่บานปลายได้อีกด้วย 

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร