Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

ปตท.ชู Big Data ลุยค้าปลีก

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

ในวันที่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ตัดสินใจลงทุนกับ baania หลายคนอาจจะสงสัยว่า ธุรกิจพลังงาน ซึ่งอาจจะไม่เหมือนกับพันธมิตรรายอื่นของ baania ทั้งในสายไฟแนนซ์ อย่างกรุงศรี ฟินโนเวต ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา และสายซีเมนต์ และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างอย่าง เอสซีจีที่เกี่ยวพันกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในระยะใกล้ ส่วนปตท. ซึ่งไม่ได้เกี่ยวอะไรกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แบบตรงๆ แต่ทำไมถึงสนใจลงทุนกับบริษัทเทคโนโลยีด้านข้อมูลอสังหาริมรัพย์ ปตท.กำลังคิดอะไรอยู่ วันนี้ลองมาฟังแนวคิดของ ปตท.กับการใช้ big data กำหนดอนาคตขององค์กร ผ่าน เปรมปรีดี กิติรัตน์ตระการ Principal ,PTT CVC ของ บริษัท ปตท.

เปรมปรีดี เริ่มต้นเล่าเกี่ยวกับแนวทางการใช้ big data ของปตท. ว่า ปตท.ได้ใช้เรื่อง big data มานานแล้ว ตั้งแต่ยุค 20-30 ปีที่แล้ว แต่ว่า big data ในอดีต มันก็จะเป็นระบบ analog  อย่างเช่น ปตท. จะขยายสถานีบริการในอดีต สิ่งที่ต้องทำก็คือต้องส่งคนไปเก็บ data ที่หน้าไซต์ ต้องจ้างคนที่คุ้นเคยไปเก็บข้อมูล ซึ่งก็จะมีข้อมูลทั้ง structured และ unstructured data อย่าง structured data ก็ส่งคนไปยืนดู แล้วก็จดมาว่าใน 1 วันรถผ่านมีกี่คัน เข้า-ออก ช่วงเวลาไหน ส่วน unstructured data ก็จะเป็น คนที่ขับรถมาเป็นรถประเภทไหน พื้นที่เป็นอย่างไรมีการไปคุยกับชุมชนต่างๆ  ซึ่งในอดีตมันเราก็มี ai เหมือนกัน แต่เป็น ai จริง ก็คือเอาคนที่ทำหน้าที่เหล่านั้นเข้ามาประมวลผลต่างๆ

คุณเปรมปรีดี กิติรัตน์ตระการ Principal ,PTT CVC ของ บริษัท ปตท.

การเก็บข้อมูลก็จะมีทั้งส่วนที่เป็น data และส่วนที่เป็นประสบการณ์ของผู้ทำหน้าที่เหล่านั้นมานานพอสมควรแล้ว แต่ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันที่ทำให้เราสามารถเก็บข้อมูลต่างๆ ในรูป digital ได้มากขึ้น เราสามารถแปลผล unstructured data เปลี่ยนมาเป็นตัวเลข ประกอบการวิเคราะห์ได้มากขึ้น ทำให้กระบวนการต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้นได้รวดเร็วขึ้น ด้วยต้นทุน ที่ถูกลง ซึ่งก็เป็นกระบวนการที่ปตท. ได้ปรับตัวมาต่อเนื่อง

ถามว่า เราเอามาใช้เพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างไรบ้าง สิ่งที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คือเรื่องธุรกิจค้าปลีกที่อาจจะจับต้องได้ และค่อนข้างจะเกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ด้วยกระบวนการของการทำก็คือ มันต้องมีการเลือกพื้นที่ที่เหมาะสม และลงทุนแต่ละครั้งมันคือ do right or die เพราะต้นทุนในการซื้อที่ดินเพื่อสร้างปั๊มแต่ละครั้งค่อนข้างสูง เงินลงทุนในสาธารณูปโภคต่างๆ เพื่อให้มีปั๊มและร้านค้าปลีกก็ค่อนข้างสูง เพราะฉะนั้นกว่าจะผ่านกระบวนการวิเคราะห์ต่างๆ จนสามารถตัดสินใจเพื่อที่จะตั้งปั๊มแต่ละปั๊มมีการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ที่เยอะมาก

สิ่งที่เราเห็นจาก Baania ก็คือ ข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์มาแล้ว ผ่านการตรวจสอบ และมีการ up-to-date มาแล้ว มันก็ช่วยให้เราร่นระยะเวลาได้ นอกเหนือจากนั้น สิ่งที่เราเห็น insight ที่ Baania พยายาม extract ก็ช่วยประเมินไปในอนาคตว่า movement ของที่อยู่อาศัยของคนจะเป็นอย่างไร เพราะว่าสิ่งที่ ปตท. พยายาม serve ก็คือความต้องการของคน เพราะว่าเรื่องของพลังงานมันคือส่วนประกอบเล็กๆ ในทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้น เราก็พยายามเข้าใจว่าคนมีไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปเป็นอย่างไร ที่อยู่อาศัยเป็นอย่างไร เขาใช้พลังงานเปลี่ยนแปลงเป็นอะไร และด้วยข้อมูลเหล่านี้เราจะนำมาปรับเป็น solution ใหม่ให้กับทุกคนอีกทีหนึ่ง     
 
การได้ใช้ baania ข้อแรกคือ ต้นทุนถูกลงแน่นอน ข้อ 2 คือประหยัดเวลามากขึ้น แต่ตอนนี้ยังอยู่ในกระบวนการที่ให้เปรียบเทียบอยู่ พอมันเป็นอะไรที่ใหม่ก็ต้องใช้เวลาในการสร้าง trust พอสมควร ที่ผ่านมาเราพยายามรวบรวม big data จากหลายๆ ที่ อย่างที่เห็นก็จะมี Blue card  ข้อมูลอื่นๆ สิ่งหนึ่งที่ค่อนข้างหายากก็คือเรื่องของอสังหาริมทรัพย์ อย่างที่ทุกท่านทราบว่ามันหนักหนาสาหัสขนาดไหนที่จะได้ up-to-date และ ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง  สิ่งที่ Baania ทำก็ค่อนข้างตรงกับสิ่งที่ปตท.กำลังมองหา เพื่อการวางกลยุทธ์ในระยะยาวของบริษัท

Baania มี Line แล้วนะ
ติดตามเรื่องราวอสังหาริมทรัพย์แบบอินเทรนด์ ได้ทุกวันผ่าน Line ID @baania

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร