Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

ปฏิวัติอุตสาหกรรมก่อสร้างด้วย ‘BIM’

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

ปัญหาที่นำมาสู่ต้นทุนที่สูงเกินแผนที่วางเอาไว้ในแต่ละโครงการเกิดขึ้นได้ในหลายส่วน หนึ่งในนั้นอยู่ในส่วนของงานออกแบบ

ที่ผ่านมา การออกแบบสองมิติ ในคอมพิวเตอร์ เป็นการทำงานที่แยกส่วน การทำงานในส่วนของการออกแบบโครงสร้างสถาปัตยกรรม โครงสร้าง ไฟฟ้า เครื่องกล ต่างคนก็ต่างทำในคอมพิวเตอร์ตัวเอง เมื่อทุกคนนำงานที่รับผิดชอบมารวมกันอาจทำให้เกิดปัญหา เช่น ท่อชนคาน และอื่นๆ จนต้องปรับแก้งาน ทำให้เกิดความสูญเสียตามมา ทั้งเรื่อง เวลาการก่อสร้าง และ เงิน

การรวมตัวของกลุ่มคนวิชาชีพ สถาปนิก และวิศวกร  ภาครัฐ ภาคการศึกษา และเอกชน เป็นสมาคมแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Thai Building Information Modeling Association; TBIM) เป้าหมายก็เพื่อ ช่วยให้การทำงานร่วมกันง่ายขึ้น และถูกต้องแม่นยำมากขึ้น ระหว่างสถาปนิก วิศวกร ผู้รับเหมาและคนที่เกี่ยวข้อง ทั้งยังทำให้การถอดแบบข้อมูลต่างๆ ของอาคาร ทำเป็นเอกสารรายงานง่ายขึ้น

“วันนี้ ไม่ใช่แค่จำลองแบบ แต่สามารถเอาข้อมูลใส่เข้าไปในแบบได้ด้วย ที่ผ่านมา สองมิติ เป็นการออกแบบแค่ลายเส้น แต่ระบบ BIM สามารถ ใส่ดาต้าเข้าไปได้ เช่น วัดอัตราการไหลของน้ำเท่าไหร่ หรือ ระดับความสว่างของไฟในอาคารว่าเป็นเท่าไหร่ เป็นต้น  ข้อดีคือ เจ้าของอาคาร สามารถทดลองในคอมพิวเตอร์เปิดไฟให้ดูได้เลยว่าความเป็นเข้มของแสงพอมั้ย และด้วยเทคโนโลยี VR /AR สามารถทำให้เข้าไปดูรายละเอียดในอาคารได้เลย” ศ.ดร.อมร พิมานมาศ ศาสตราจารย์สาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะนายกสมาคมแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (TBIM) กล่าว

ประโยชน์หลักๆของเทคโนโลยี BIM คืออะไร ทำไมสำคัญต่อการก่อสร้างมากขึ้นนับจากนี้ เริ่มจาก ลดเวลาด้านเขียนแบบไปได้เร็วขึ้นอย่างน้อย 30% ทำให้โครงการก่อสร้างเสร็จเร็วกว่าเดิม ถัดมา เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานที่เร็วขึ้นด้วยทีมงานเท่าเดิม ,ลดความผิดพลาดงานแก้แบบ, ลดข้อผิดพลาดและลดเวลาการทำงาน และที่สำคัญคือ ลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการก่อสร้างผิดแบบ

โดยระบบ BIM จะสร้างแบบจำลองเสมือนจริงใน Computer ทำให้ผู้ทำงานเกี่ยวข้องสามารถเห็นส่วนประกอบทุกส่วนตรงกัน

BIM จะสร้างเป็นโมเดล 3 มิติขึ้นมาพร้อมกับ Intelligent Information อาทิ รายละเอียดวัสดุ เพื่อคำนวนปริมาณวัสดุก่อสร้าง ปรับปรุงกระบวนการออกแบบก่อสร้างและคำนวนพลังงานที่จะใช้ในอาคาร สร้างแบบจำลอง หรือ Digital Prototype Model ที่เสมือนจริง และเปลี่ยนจากการสร้างแบบบนกระดาษมาสู่เทคโนโลยีดิจิทัลและประสานข้อมูลบน Cloud เพิ่มความสะดวกในการทำงานนอกสถานที่โดยสามารถใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่าง Tablet ได้ และจากการทำงานในแนวทางนี้จะนำไปสู่การส่งมอบอาคารที่มีคุณภาพสูงขึ้นจากมาตรฐานของตลาดในปัจจุบัน

“ในอนาคตอุตสาหกรรมก่อสร้างจะขับเคลื่อนจาก 2D ไปเป็น 3D มากขึ้น ด้วยประโยชน์หลักๆในเรื่องการวิเคราะห์เวลาก่อสร้าง ค่าใช้จ่ายต้นทุน และ การบริหารอาคาร (Facility Management) เห็นแนวโน้มชัดเจนขึ้นภายใน 5 ปีข้างหน้านี้ทันทีที่เทคโนโลยี 5G เกิดขึ้นในประเทศไทย” 

สิ่งที่เป็นภารกิจของสมาคมฯ นับจากนี้คือ การเร่งสร้างคน มารองรับเทคโนโลยีตัวนี้ จากนั้นเร่งประสานความร่วมมือกับต่างประเทศ​เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย โดยมีเป้าหมายที่มุ่งหมาย International BIM Association ให้ได้ในอีก 5 ปีนับจากนี้

“ที่ผ่านมา เริ่มทำเอ็มโอยู กับ เอสซีจี และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อกำหนดมาตรฐานการทำงานร่วมกัน มีการระดมความคิดเพื่อทำข้อเสนอสู่รัฐบาล ถึงเวลาแล้วต้องทำให้เกิด Digital Construction Roadmap ให้ได้”

ปัจจุบันมีผู้พัฒนาโครงการก่อสร้างทั้งภาครัฐและเอกชนของไทยได้นำเทคโนโลยีระบบ BIM เข้ามาใช้ในงานก่อสร้างแล้ว อาทิ สถานีโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสายสีส้มของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และโครงการ แอชตัน อโศก ของบริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ส่วนในภูมิภาคอาเซียนมีประเทศสิงคโปร์เป็นผู้นำในการใช้ BIM ในการพัฒนาโครงการก่อสร้าง

ไม่พลาดทุกข่าวสาร ทันทุกเรื่องราวอสังหาริมทรัพย์กับ Baania ได้ที่ Line Official >> @baania

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร