Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

รู้ก่อนซื้อ! บ้านน็อคดาวน์แล้วจะไม่เสียใจทีหลัง

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

ปัญหาการสร้างบ้านที่หลายๆ คนเจอคือ ใช้ระยะเวลายาวนาน เสียงบประมาณมากมาย ทั้งในส่วนค่าแรง ค่าอุปกรณ์ และปัญหาหน้างานอื่น ๆ บ้านน็อคดาวน์จึงเป็นทางเลือกแนวคิดใหม่ในการสร้างบ้าน เพราะมีการเลือกวัสดุ การตรวจสอบสภาพบ้านที่ได้มาตรฐาน ทั้งยังสามารถดูแลรักษาบ้านแบบนี้ให้มีอายุยาวนานได้ บทความนี้มาพร้อมกับขั้นตอนการเลือกบ้านน็อคดาวน์ที่ช่วยให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

1. บ้านน็อคดาวน์คืออะไร?

บ้านน็อคดาวน์ คือ บ้านสำเร็จรูป ที่แข็งแรงก่อสร้างได้รวดเร็ว รื้อถอนและเคลื่อนย้ายสะดวก เป็นนวัตกรรมใหม่ที่ได้รับการบัญญัติชื่อขึ้นมาเมื่อ 3-5 ปีที่ผ่านมา ถือเป็นทางเลือกในงานออกแบบสถาปัตยกรรมรูปแบบหนึ่ง ว่า Finished home โดยจุดเด่นของงานจะไม่มีการวางเสา หรือคานลงกับพื้นดิน แต่จะใช้ผนังเป็นตัวยึดโครงสร้างของบ้านแทน ซึ่งเป็นที่นิยมในประเทศญี่ปุ่น และแถบทวีปยุโรปเป็นอย่างมาก เนื่องจากบ้านเกิดความเสียหายจากภัยธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟ หรือพายุไต้ฝุ่นชนิดต่าง ๆ จึงทำให้ต้องสร้างบ้านพักอาศัยบ่อยครั้ง ใช้เวลาและงบประมาณสูง หากเกิดภัยดังกล่าวอีกครั้งอาจก่อสร้างไม่ทันจนทำให้ไม่มีบ้านพักอาศัยได้

บ้านน็อคดาวน์

2. ข้อดีและข้อเสียบ้านน็อคดาวน์

ข้อดี

  • ก่อสร้างรวดเร็ว เนื่องจากนำโครงสร้างที่มีการจัดทำไว้อยู่แล้วมาประกอบกันใหม่ให้มั่นคง 
  • สามารถเลือกแบบบ้านด้วยตนเองจากผู้ขายซึ่งมีหลากหลายรูปแบบตามงบประมาณของผู้ซื้อ 
  • สามารถดูยอดค่าใช้จ่ายทั้งหมดได้ก่อนตัดสินใจ สะดวกสบาย ไม่จำเป็นต้องไปควบคุมงานใด ๆ เพราะมีระบบการจัดการผ่านผู้ขายหมดแล้ว 
  • มีการติดตั้งน้ำ เดินสายไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ไว้ให้อย่างเรียบร้อย เพียงรอตรวจสอบงานเมื่อเสร็จเรียบร้อยเท่านั้น

ข้อเสีย

  • ขาดอิสระในการออกแบบรายละเอียดปลีกย่อยในการก่อสร้าง เช่น เลือกวัสดุทำพื้น ผนัง หลังคา หรืออุปกรณ์ 
  • หากวัสดุที่ใช่ไม่มีคุณภาพจะทำให้บ้านมีอายุการใช้งานน้อยลงได้ พื้นที่มีขนาดจำกัด 
  • เมื่อเลือกขนาดตามที่ต้องการไปแล้วจะทำการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม หรือต่อขยายเป็นเรื่องยากกว่าสร้างบ้านขึ้นมาใหม
  • เมื่อมีการตกแต่งส่วนอื่นเข้ามาอาจเกิดการทรุดตัวได้ เนื่องจากบ้านไม่สามารถรับน้ำหนักได้มากนัก 
  • การปรับปรุงซ่อมแซมมีความซับซ้อนมากกว่าปรกติ ด้วยบ้านสำเร็จรูปมีการจัดวางทุกอย่างเอาไว้แล้ว เมื่อเกิดสายไฟรั่ว หรือน้ำซึมจึงเป็นเรื่องยากในการตรวจสอบและเปลี่ยนใหม่ อาจต้องจากช่างที่เชี่ยวชาญมาจัดการ ซึ่งทำให้เสียค่าใช้จ่ายมากยิ่งขึ้น

เมื่อมีการตกแต่งส่วนอื่นเข้ามาอาจเกิดการทรุดตัวได้ เนื่องจากบ้านไม่สามารถรับน้ำหนักได้มากนัก 
การปรับปรุงซ่อมแซมมีความซับซ้อนมากกว่าปรกติ ด้วยบ้านสำเร็จรูปมีการจัดวางทุกอย่างเอาไว้แล้ว เมื่อเกิดสายไฟรั่ว หรือน้ำซึมจึงเป็นเรื่องยากในการตรวจสอบและเปลี่ยนใหม่ อาจต้องจากช่างที่เชี่ยวชาญมาจัดการ ซึ่งทำให้เสียค่าใช้จ่ายมากยิ่งขึ้น

ข้อดีและข้อเสีย

3. บ้านน็อคดาวน์เหมาะกับใคร?

สามารถแบ่งได้เป็น 2 จุดประสงค์ด้วยกันคือ เพื่อทำธุรกิจ และเพื่อทำบ้านที่รวดเร็ว โดยทั้งสองแบบนี้มักเป็นพื้นที่ช่วงคราวเพื่อใช้เป็นที่พักอาศัย หรือที่ทำงาน โดยมีรายละเอียดดังนี้

เพื่อทำธุรกิจ ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ธุรกิจใหม่และเก่าที่เกิดขึ้นจึงต้องปรับตัวให้ทันเหตุการณ์แม้ในพื้นที่ที่จำกัด จึงเป็นตัวเลือกที่ดีต่อการสร้างร้านค้า สำนักงาน เช่น ร้านกาแฟ ร้านสะดวกซื้อ หรือจุดบริการช่วงคราว เป็นต้น เพราะสามารถตกแต่งตามความต้องการหรือทันเหตุการณ์นั้น ๆ ได้อย่างรวดเร็ว 
ทั้งนี้ยังทำเป็นบูธในบางกิจกรรมได้อีกเช่นกัน เมื่อจุดดังกล่าวไม่ทำกำไรหรือสิ้นสุดกิจกรรมแล้วก็สามารถรื้อถอนไปใช้ในกิจกรรมอื่นต่อได้

เพื่อทำบ้านที่รวดเร็ว ด้วยการก่อสร้างที่สามารถรื้อถอนและขนย้ายไปตั้งที่อื่นได้ไว ทำให้เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยเป็นอย่างดี เช่น บ้านพักชั่วคราว บ้านรับรองต่อมาจากบ้านหลักเพื่อทำกิจกรรม หรือห้องบางอย่าง หากมีที่ดินอยู่แล้วยิ่งทำให้งบประมาณในการสร้างบ้านน็อคดาวน์ถูกลงไปด้วย

เหมาะกับใคร

4. ขนาดของบ้านน็อคดาวน์

บ้านน็อคดาวน์มีขนาดตั้งแต่ 4-28 ตารางเมตร เนื่องจากนิยมนำบ้านที่มีขนาดเล็กมาใช้เป็นร้านบริการในธุรกิจต่าง ๆ หากมีขนาดใหญ่จะนำมาใช้เป็นบ้านพักชั่วคราว เช่น บ้านตากอากาศ บังกาโล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ซื้อด้วย

รูปแบบบ้านจะแบ่งออกได้เป็น 3 อย่างด้วยกัน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะใช้เหล็กเป็นโครงประกอบของทุกส่วนของบ้าน และใช้แผ่นสมาร์ทบอร์ด หรือใช้ไม้เทียมประกอบเป็นพื้น หรือผนังอีกครั้ง เพื่อให้มีน้ำหนักเบาเคลื่อนย้ายได้สะดวก หากผู้ซื้อต้องการความสวยงามสามารถติดกระเบื้อง หรือวัสดุอื่นทับต่อจากผนังและพื้นได้ 

บ้านน็อคดาวน์ที่ทำด้วยไม้ มักพบเห็นตามพื้นที่นอกเมืองเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีสภาพอากาศดี เมื่อเปิดต่างหน้าออกมา ใช้เป็นบ้านพักต่างจังหวัด หรือบ้านเช่าเป็นส่วนใหญ่ ตู้คอนเทนเนอร์ จะมีขนาดเล็กมักนำมาใช้เป็นพื้นที่ประกอบกิจการงานต่าง ๆ ในพื้นที่แบบปิด และบ้านสั่งทำจากโรงงาน เป็นการออกแบบของผู้ซื้อผ่านผู้ขาย เมื่อตกลงเรียบร้อยจะนำอุปกรณ์และแรงงานมาติดตั้งให้

ทุกการติดตั้งทางผู้ซื้อจำเป็นต้องจัดการพื้นที่ให้เรียบร้อยก่อนเสมอ เช่น ทำความสะอาด จัดการหญ้า ทำดินให้แข็งแรง รวมไปถึงการทำฐานรากของบ้านด้วย โดยขึ้นอยู่กับผู้ซื้อด้วยว่าต้องการฐานอย่างไร

ขนาด

5. วัสดุของบ้านน็อคดาวน์

จะใช้วัสดุที่มีขนาดเบาเป็นอันดับแรก เนื่องด้วยบ้านลักษณะนี้เป็นการก่อสร้างแบบแห้ง ซึ่งมีการฉาบ ลงปูน หรือก่อสร้างค่อนข้างน้อยจนถึงไม่มี จึงทำให้บ้านสร้างเสร็จไว อุปกรณ์ทุกอย่างจึงต้องเตรียมมาทั้งหมดแล้ว และขนย้ายสะดวก โดยมีสิ่งหนึ่งที่มีน้ำหนักและสำคัญมาก คือ เสาทำโครงบ้านควรเป็นเหล็กที่มีความหนา 2.5 มิลลิเมตรขึ้นไปเพื่อคงสภาพบ้านให้แข็งแรง

ผนังเบา ช่วยลดน้ำหนักของโครงบ้าน และมีคานเข้ามาช่วยเสริมจึงนิยมใช้กันเป็นอย่างมาก ได้แก่ แผ่นยิปซัม ไม้ระแนง หรือไม้อัดมักนำมาใช้เป็นผนังประกอบความสวยงามให้กับบ้าน และสมาร์ทบอร์ด หรือไฟเบอร์ซีเมนต์ ให้ความแข็งแรงคล้ายคลึงผนังก่ออิฐ ติดตั้งง่ายและไว จึงนิยมนำมาใช้กับผนังเช่นเดียวกัน

วัสดุ

6. งบประมาณสร้างบ้านน็อคดาวน์

ใช้งบประมาณอยู่ที่ 130,000-600,000 บาทรวมทุกอย่างเบ็ดเสร็จสามารถเข้ามาอยู่อาศัยได้ทันที โดยแบ่งรายละเอียดพอสังเขปได้แก่ แบบบ้านน็อคดาวน์จะมีราคาอยู่ที่ 30,000-80,000 บาท ส่วนงบประมาณที่เหลือจะนำไปลงกับอุปกรณ์ เครื่องใช้ต่าง ๆ รวมถึงค่าแรง และบริการของผู้ขายทั้งหมด โดยราคาอาจลดน้อยลงได้ตามขนาดของบ้านที่ผู้ซื้อต้องการ 

ตัวอย่าง นายเบียร์ต้องการซื้อบ้านน็อคดาวน์ ขนาด 20 ตารางเมตร เพื่อนำไปใช้เป็นบ้านพักตากอากาศ เขาจะใช้งบประมาณไปทั้งสิ้น 170,000 บาท โดยในตัวบ้านมีห้องนอน ห้องน้ำ และห้องรับแขก อย่างละ 1 ห้อง พร้อมติดตั้งระบบน้ำ ไฟฟ้า อุปกรณ์ และของตกแต่งให้เรียบร้อย สามารถเข้าพักอาศัยได้ทันที

งบประมาณ

7. กฎหมายก่อนสร้างบ้าน

ต้องคำนึงอยู่ 2 ส่วน ได้แก่ พื้นดินที่จะใช้ทำบ้าน และระยะห่างที่ต้องเว้นไว้ตามกฎเกณฑ์ที่ถูกกำหนดเอาไว้ เพื่อความปลอดภัยของผู้อาศัย ง่ายต่อการซ่อมแซมปรับปรุงของเจ้าบ้านและบุคคลอื่น

ส่วนที่ดิน ควรตรวจสอบขนาดของพื้นที่ และความสูงของดินต้องอยู่ในระดับเดียวกันกับถนน และมีทางระบายน้ำ โดยการถมหรือลดดินมีกฎหมายพระราชบัญญัติการขุดดินและการถมดิน พ.ศ. 2543 เรื่องการถมดินที่มีขนาดเกิน 2,000 ตารางเมตร หรือตามประกาศในพื้นที่กำหนด จำเป็นต้องแจ้งเจ้าพนักงานก่อนเสมอ และการขุดหรือถมดินน้อยเกิน 3 เมตรต้องไม่สร้างความเสียหายต่อผู้อื่นรอบบ้าน

การตั้งบ้าน หลังจากได้พื้นที่ตามข้อบังคับแล้ว ต้องแจ้งพนักงานในทำบ้านอีกครั้ง การสร้างบ้านหากจ้างผู้รับเหมาเอาไว้มักจะดำเนินการให้แล้ว โดยพระราชบัญญัติการควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544 ระบุเกี่ยวกับระยะห่างของบ้านเอาไว้ว่า หากบ้านสูงน้อยกว่า 15 เมตรให้รอบบ้านห่างจากรั้ว 1 เมตร และบ้านสูงเกินกว่า 15 เมตรต้องมีระยะรอบบ้านห่างจากรั้ว 2 เมตร บ้านที่มีช่องระเบียง ประตู หน้าต่าง และมีความสูง ไม่เกิน 9 เมตรต้องห่างจากที่ดินผู้อื่น 1 เมตร แต่หากสูงกว่า 9 เมตรต้องห่าง 2 เมตรแทน เมื่อบ้านมีถนนทอดผ่านความกว้างไม่เกิน 6 เมตร บ้านต้องหากจากถนนอย่างน้อย 3 เมตร 

กฎหมายก่อนสร้างบ้าน

8. บ้านน็อคดาวน์สร้างเสร็จได้ในกี่วัน?

ใช้เวลาในการทำบ้านอยู่ประมาณ 1-30 วันขึ้นอยู่กับแบบบ้านที่ให้ไว้กับผู้ขาย ขนาด และระยะทางของจุดที่จะทำการสร้าง โดยแบบบ้านที่มีขนาดเล็กจะใช้งบประมาณน้อย เสร็จเร็วโดยใช้เวลาเฉลี่ย 1-7 วัน หากมีขนาดใหญ่ขึ้นจะใช้กำลังแรงงาน อุปกณ์มากยิ่งขึ้นด้วย หากมีรายละเอียดในส่วนอื่น ๆ ภายในตัวบ้านเพิ่มเติมจะทำให้ผู้ขายหาวัสดุ และเตรียมอุปกรณ์นานยิ่งขึ้น

สำหรับเส้นทางการขนส่ง หากพื้นที่จัดวางของผู้ซื้อมีความซับซ้อน หรือเส้นทางเข้าถึงมีข้อจำกัด ควรวางแผนเรื่องของเวลา หรือจัดการทางให้สะดวกมากยิ่งขึ้น ในกรณีผู้ให้บริการสร้างบ้านน็อคดาวน์ไม่มีการขนส่งให้ จำเป็นต้องจัดหารถขนส่งเองจะทำให้ผู้ซื้อเสียงบในส่วนดังกล่าวเพิ่มเข้ามา จึงควรตรวจสอบกับทางผู้ขายให้ดีเพื่อให้ได้คงงบประมาณตามที่กำหนดไว้

สร้างเสร็จได้ในกี่วัน

9. ตรวจงานสร้างบ้าน

การตรวจสอบสามารถแบ่งออกได้ 2 แบบคือ การสังเกต และการทดสอบ โดยการมองดูอุปกรณ์ และส่วนประกอบของบ้าน เช่น ผนังมีสีไม่สม่ำเสมอกันหรือไม่ เสาและคานมีการทาสีกันสนิม หรือสีกันปลวกให้เรียบร้อยแล้วหรือเปล่า หลังคามีการจัดวางเป็นระเรียบไม่มีส่วนใดบิ่นงอ เครื่องใช้ต่าง ๆ ภายในบ้านแน่นหนา และพื้นทางเดินวางเสมอกัน ไม่เอนเอียงไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ยกเว้นพื้นห้องน้ำ

การทดสอบ ควรตรวจสอบระบบไฟ้ฟ้าก่อนว่าสามารถใช้งานได้ทุกปลั๊ก หลอดไฟฟ้าเปิดติดทุกดวง หากเป็นไปได้ให้นำไขควงตรวจสอบไฟฟ้ามาใช้เพื่อให้สะดวกต่อการตรวจ ระบบระบายน้ำในบ้านใช้ได้ทั้งหมด รวมไปถึงเครื่องใช้ไฟฟ้า และสุขภัณฑ์ หลังคาเมื่อรดน้ำลงไปมีน้ำไหลรั่วเข้ามาสู่ตัวบ้านหรือไม่ หากพบปัญหาจึงสามารถแจ้งไปทางผู้ขายให้ส่งช่างมาจัดการได้ทันท่วงที ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงในการใช้บริการ

ตรวจงานสร้างบ้าน

10. ติดตั้งสาธารณูปโภค

การขอและติดตั้งจะแบ่งออกมาทั้งสิ้น 2 อย่างคือ การขอระบบไฟฟ้า และการขอระบบประปา 

ขอไฟฟ้า แบบถาวรสำหรับบ้านใหม่ หรือขอมิเตอร์ไฟฟ้าใหม่นั้น สิ่งที่ต้องเตรียมคือ

  1. สำเนาบัตรประชาชน 
  2. ทะเบียนบ้านที่อยู่ของบ้านที่สร้างใหม่ 
  3. ทะเบียนบ้านที่อยู่ปัจจุบันของผู้ขอ 
  4. แผนที่การเดินทางไปยังบ้านที่สร้างใหม่ 
  5. รายการอุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้าภายในบ้านใหม่ 

หากเป็นไปได้ควรระบุเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีกำลังไฟฟ้าแรงสูงประกอบลงไปด้วย เพื่อให้เจ้าหน้าที่ประเมินมิเตอร์ไฟฟ้าได้ตามความต้องการของผู้ขอ หลังจากนั้นจะมีการนัดหมายเข้าไปตรวจสอบบ้านอีกครั้งหนึ่ง โดยมีค่าธรรมเนียมเริ่มต้นอยู่ที่ 10,000 บาท ใช้เวลาดำเนินการ 7-30 วันทำการ

ขอระบบประปา มีขั้นตอนคล้ายคลึงกับการขอระบบไฟฟ้าคือ 

  1. สำเนาบัตรประชาชน 
  2. ทะเบียนบ้านที่อยู่ของบ้านที่สร้างใหม่ 
  3. ทะเบียนบ้านที่อยู่ปัจจุบันของผู้ขอ 
  4. แผนที่การเดินทางไปยังบ้านที่สร้างใหม่ 

จากนั้นเจ้าหน้าที่จะทำการประเมินมิเตอร์ และนัดหมายเข้าไปสำรวจ โดยมีค่าธรรมเนียมเริ่มต้นอยู่ที่ 250-7,000 บาท และใช้เวลาดำเนินการ 7-30 วันทำการเช่นกัน

ติดตั้งสาธารณูปโภค

11. การต่อเติมบ้านน็อคดาวน์

การต่อเติมบ้านน็อคดาวน์ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากตัวบ้านถูกออกแบบมาเรียบร้อยแล้ว ซึ่งอุปกรณ์ทั้งหมดถูกจัดสรรมาจากผู้ให้บริการ และอาจถูกกำหนดมาจากคู่ค้าอีกต่อหนึ่ง หากทำการต่อเติมอาจทำให้บ้านเสียหายจนไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ เมื่อสร้างบ้านรูปแบบดังกล่าวครั้งหน้า ควรสอบถามทางผู้ให้บริการก่อนว่ามีส่วนต่อเติมที่สามารถทำกับบ้านรูปแบบที่เลือกได้หรือไม่

การต่อเติม

12. ความแข็งแรงของบ้านน็อคดาวน์

ความแข็งแรงของบ้านขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาก่อสร้าง และการติดตั้ง โดยตัวบ้านน็อคดาวน์เองไม่ได้ทำมาจากปูน จึงไม่สามารถทนทานเท่ากับบ้านที่สร้างด้วยการก่ออิฐวางเสาได้ หากมีการเลือกวัสดุที่ดีมีคุณภาพจะช่วยทำให้ความทนทานสูงขึ้น ประกอบการติดตั้งโดยช่างที่มีฝีมือจะช่วยให้บ้านน็อคดาวน์เทียบเท่าบ้านก่อปูนขึ้นมาได้  

ความแข็งแรง

13. บ้านน็อคดาวน์อยู่ได้นานกี่ปี

โดยเฉลี่ยมีอายุของบ้านอยู่ที่ 35-60 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา วัสดุที่ใช้ และสภาพแวดล้อมของบ้าน โดยหมั่นตรวจสอบดินไม่ให้ทรุดไปในทางใดทางหนึ่ง อย่าให้สีของบ้านจืดลง ใช้สีบำรุงที่ตรงกับเนื้อวัสดุ และรับมือกับพายุฝน ความร้อนอย่างถูกวิธีจะทำให้บ้านมีอายุที่ยาวนานมากยิ่งขึ้น 

อยู่ได้นานกี่ปี

14. การดูแลบ้านน็อคดาวน์

มีขั้นตอนง่าย ๆ เพียง 2 อย่างด้วยกันคือ การซ่อมแซม และบำรุงให้รวดเร็วและทันที บ้านน็อคดาวน์หากเกิดปัญหาขึ้น จะกระทบไปถึงส่วนอื่น ๆ ให้เสียหายมากกว่าบ้านปกติ เพราะมีการออกแบบและระบบของบ้านที่ซับซ้อน โดยใช้วิธีการตรวจงานที่ให้ไว้เมื่อหัวข้อที่แล้วนำมาปฏิบัติ 2-5 ครั้งต่อเดือน หากพบวัสดุ หรืออุปกรณ์ที่เสียหายควรเปลี่ยนแปลงโดยเร็ว เมื่อมีปัญหาที่ไม่อาจแก้ไขได้ สามารถเรียกช่างให้เข้ามาช่วยเพื่อความปลอดภัยสูงสุด

การบำรุงรักษาบ้านให้คงอยู่ยาวนาน ควรทำการลงสีกันปลวก สีกันสนิม หรือสีกันแดดให้วัสดุอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี และลงสีใหม่ให้กับผนัง พื้น ส่วนต่าง ๆ ที่ให้สีเจือจางไปจากครั้งแรกที่ติดตั้ง จะทำให้บ้านสวยงามทั้งผู้อาศัย และผู้พบเห็น

การดูแล

15. ขนย้ายบ้าน

สามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบในการย้ายบ้านคือ ยกมาทั้งหลัง และการแยกชิ้นส่วน 
การยกมาทั้งหลัง จะใช้เวลาน้อยในการติดตั้ง โดยการวางบนรถบรรทุก และอาจใช้เครนยกมาวางหากพื้นที่ติดตั้งไม่อำนวยให้เข้าไปได้ มักนำมาใช้กับบ้านที่มีขนาดเล็ก แต่อาจทำให้เกิดความเสียหายระหว่างขนย้ายได้ หากขับรถไม่ดีพอ

การแยกชิ้นส่วน เป็นวิธีที่ปลอดภัยและใช้เวลาในการติดตั้งนานพอสมควรขึ้นอยู่กับแบบบ้าน และขนาดที่ผู้ซื้อต้องการ มักใช้กับบ้านน็อคดาวน์ที่มีขนาดใหญ่ 

ขนย้ายบ้าน

บ้านน็อคดาวน์เป็นการสร้างบ้านแนวใหม่ ที่ใช้เวลา และงบประมาณน้อยไปจนถึงมาก แต่ไม่เหมาะนำมาทำเป็นบ้านพักอาศัยที่มีครอบครัวขนาดใหญ่ ด้วยอายุการใช้งานที่น้อย และพื้นที่อันจำกัด หากนำมาใช้เป็นบ้านพักชั่วคราวจะถูกต้องเสียมากกว่า

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร