Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

นอภ.ประจวบฯ เตรียมออก นสล.ที่ดินรอบเขาช่องกระจก มอบ “อปท.” ดูแล

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

จากกรณีเจ้าอาวาสวัดธรรมิการามวิหาร ตัดโค่นต้นศรีมหาโพธิ์ ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงปลูก คราวเสด็จพระราชดำเนินขึ้นเขาช่องกระจก ในเขตอภัยทานของวัดธรรมิการามวิหาร ตรงข้ามศาลาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ วันที่ 12 มิถุนายน 2501 ต่อมาผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทำหนังสือขอพระราชทานอภัยทานโทษถึงสำนักพระราชวังพร้อมตั้งกรรมการสอบหาข้อเท็จจริงภายใน 15 วันนั้น

ล่าสุด นางชนิษฐา จันทโชติ หัวหน้าสถานีวนวัฒนวิจัยประจวบคีรีขันธ์ กรมป่าไม้ เปิดเผยว่า ขณะนี้การฟื้นฟูระบบรากของต้นศรีมหาโพธิ์เพื่อให้มีต้นอ่อนแตกใหม่ยังอยู่ในการดูแลของทีมนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด ที่บริเวณด้านหน้าอาคารศูนย์เรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามแนวพระราชดำริ จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยกรมป่าไม้สั่งให้รายงานภาพถ่ายพร้อมสภาพทางกายภาพให้ทราบทุกวัน ขณะเดียวกันห้ามบุคคลใดเข้าไปในบริเวณสถานที่ปลูกที่มีการรักษาความชื้นและกำหนดให้เป็นพื้นที่ปลอดเชื้อ คาดว่า ทราบผลการฟื้นฟูภายในระยะเวลา 3 เดือน ขณะที่สถานที่ปลูกเดิมบนเขาช่องกระจกยอมรับว่าสภาพของต้นศรีมหาโพธิ์อายุ 60 ปี ควรมีสภาพลำต้นที่สมบูรณ์และมีขนาดใหญ่ แต่ที่ผ่านมาพบระบบรากถูกจำกัดด้วยสาเหตุบางประการ นายพงษ์พันธ์ วิเชียรสมุทร รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการครอบครองที่ดินบนเขาช่องกระจก กล่าวว่า หลังจากได้รับคำสั่งให้แสวงหาข้อเท็จจริงภายใน 15 วัน เพื่อหาหน่วยงานที่ดูแลที่ดินบนเขาช่องกระจก จะเชิญประชุมคณะกรรมการฯคาดว่าจะได้ข้อสรุปที่ชัดเจนภายในสัปดาห์หน้า หลังพบว่าวัดไม่ได้ขอใช้ประโยชน์บนเขาช่องกระจก จากนั้นจะหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาทั้งหมดเพื่อให้มีข้อยุติโดยเร็ว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจากการตรวจสอบสาระบบที่ดินของวัดธรรมิการามวรวิหาร ภายหลังตรวจพิสูจน์จาก ส.ค. 1 เลขที่ 401 เนื้อที่ 63 ไร่ 1 งาน วัดครอบครองที่ดินเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2498 ต่อมามีการรังวัดแนวเขตในที่ดินธรณีสงฆ์ ปัจจุบันจากการรังวัดออกโฉนดเมื่อปี 2535 พบในระวาง ส.ค.1กำหนดทิศตะวันออกของวัดจดภูเขาช่องกระจก ขณะที่โฉนดที่ดินทั้งแปลงของวัดด้านทิศตะวันออกพบที่ดินวัดติดทางสาธารณะประโยชน์

แหล่งข่าวระดับสูงจากคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงฯ ระบุว่า จากการตรวจสอบเอกสารหลักฐานที่ปรากฏใน น.ส. 5 หรือใบไต่สวนก่อนออกโฉนด พบมีลายมือชื่อเจ้าพนักงานที่ดินอำเภอเมืองประจวบฯทำหน้าที่แทนนายอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ เพื่อชี้แนวเขตที่ดินแปลงดังกล่าว ทำให้เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 122 พระราชบัญญัติ ( พรบ. ) ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 กำหนดอำนาจหน้าที่ให้นายอำเภอร่วมกับองค์ปกครองท้องถิ่น ( อปท.) เป็นผู้ดูแลพื้นที่ทั้งหมด ในอนาคตกระทรวงมหาดไทยต้องชี้วัดว่าเป็นหน้าที่ขององค์กรใด ระหว่างองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) หรือ เทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ หลังจากนายอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ยื่นสอบรังวัดแนวเขตรอบเขาช่องกระจก เพื่อกำหนดขอบเขตในการออกหนังสือสำคัญที่หลวง (นสล.)

ที่มา : มติชนออนไลน์

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร