Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

ข่า สมุนไพรคู่บ้านปลูกง่ายได้ประโยชน์

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

ข่าจัดเป็นพืชสมุนไพรอีกหนึ่งชนิดที่สามารถเรียกได้ว่าเป็นสมุนไพรคู่บ้าน คู่ครัว ของคนไทยมาตั้งแต่อดีต ข่านั้นเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ง่าย โตเร็ว ไม่ต้องดูแลรักษามาก สามารถใช้ประกอบอาหาร และเป็นสมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการ รักษาโรค หรือแม้แต่นำมาประดับให้สวนสวยงามก็ได้

1. ที่มาของข่า

“ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด” ทั้งสี่อย่างที่กล่าวมาล้วนได้รับการยอมรับว่าเป็นสมุนไพรพื้นบ้าน เป็นพืชข้างรั้วที่มีแทบทุกบ้าน และทุกภูมิภาคของประเทศไทย เนื่องจากคนไทยนิยมบริโภค และนำสมุนไพรเหล่านั้นมาเข้าตำรับยา ข่านั้นจัดว่าเป็นญาติของขิง เพราะว่าข่า และขิงเป็นพืชล้มลุกที่มีเหง้าในดินคล้ายกันๆ ข่าสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนไม่ว่าจะเป็น เหง้า ราก ดอก ใบ และลำต้น

ข่า2. ข่าเหลือง

ข่าในประเทศไทยนั้นมีหลากหลายสายพันธุ์ แต่หนึ่งในสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากคือ ข่าเหลือง โดยข่าเหลืองนั้นปลูกมากทางภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จุดเด่นของข่าเหลืองคือ เป็นข่าที่มีรสชาติดี มีสีเหลืองสวย มีกลิ่น ให้รสชาติดีกว่าข่าชนิดอื่น จึงนิยมนำข่าเหลืองมาเป็นส่วนผสมในการทำเครื่องแกง เพื่อช่วยให้เครื่องแกงมีสีสวย กลิ่นหอมแรง ไม่มีเสี้ยน

ข่าเหลือง3. ข่าตาแดง

ข่าตาแดง เป็นข่าอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทย หรืออาจจะเรียกได้ว่า มีการปลูกมากที่สุดก็ได้ ข่าตาแดงจัดว่าเป็นข่าขนาดกลาง เหง้ามีสีขาวอมชมพู มีกลิ่นฉุนเป็นเอกลักษณ์ ข่าตาแดงนั้นเป็นพืชที่ทนแล้ง ปลูกง่าย มีความต้านทานโรคได้ดี สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องเทศเพื่อปรุงรสและกลิ่นของอาหาร รวมไปถึงใช้เป็นสมุนไพรได้

ข่าตาแดง4. การปลูกข่า

การปลูกข่าไว้เพื่อกินเองในบ้านนั้นทำได้ไม่ยาก ปลูกง่าย โตไว มีความทนทาน ซึ่งการปลูกข่านั้นเพียงแค่หาหัวหรือเหง้าของข่าที่แก่ มีตาที่พร้อมจะแตกเป็นหน่อ ส่วนจะปลูกลงดิน ปลูกในกระถาง หรือปลูกในยางรถยนต์ก็สามารถทำได้ทั้งสิ้น และที่สำคัญนั้นข่าสามารถปลูกได้ทุกสภาพอากาศ

วิธีการปลูกข่านั้นไม่ยุ่งยาก เมื่อเราหาหัวข่าที่จะใช้ปลูกได้แล้ว ก็นำกาบมะพร้าวแห้งไปรองที่ก้นกระถางแล้วใส่ดินลงไป ซึ่งดินที่เหมาะควรเป็นดินร่วน หรือดินร่วนปนทราย จากนั้นก็นำหัวข่าลงไปวางตามจำนวนที่ต้องการ แต่ควรวางให้ห่างกันประมาณ 1 คืบ แล้วนำดินลงไปกลบ รดน้ำให้ชุ่มแต่ไม่ถึงขนาดน้ำขัง ประมาณ 15 วันก็สามารถนำข่าที่ปลูกไว้มาทานได้

เตรียมตัวปลูก5. การดูแล

ถึงแม้ว่าข่าจะเป็นพืชที่ปลูกง่าย มีความทนทาน ไม่ต้องดูแลอะไรมากนัก แต่ถ้าต้องการให้ข่านั้นออกผลผลิตให้เราอย่างมีคุณภาพก็จำเป็นต้องดูแล หรือบำรุงบ้าง การดูแลข่าให้ถูกวิธีนั้นไม่ได้มีอะไรยาก หรือซับซ้อน เพียงแค่รดน้ำอย่างสม่ำเสมอวันละครั้ง ควรรดแค่พอชุ่มไม่ให้มีน้ำขัง เพราะอาจทำให้ข่าเกิดเชื้อราที่ราก หรือหัวได้

ส่วนการเสริมธาตุอาหารต่าง ๆ ให้กับข่านั้นควรใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยขี้ไก่ เพราะมีธาตุอาหารที่ข่าต้องการมากที่สุด ถ้าต้องการเพิ่มธาตุอาหารด้วยปุ๋ยเคมีก็สามารถทำได้เช่นกัน การใส่ปุ๋ยให้ต้นข่านั้นควรหว่านปุ๋ยรอบๆ โคนต้นห่างประมาณ 10 ซ.ม. ส่วนการบำรุงใบก็ใช้ปุ๋ยน้ำสำหรับบำรุงใบฉีดพ่นได้เหมือนพืชชนิดอื่น ๆ

การดูแล6. การเก็บเกี่ยว

การนำข่ามาใช้งานด้านต่างๆ ส่วนมากจะใช้ส่วนหัว ไม่ว่าจะใช้ประกอบอาหาร หรือทำเป็นยาสมุนไพร ซึ่งหัวข่านั้นจะแบ่งการเก็บเกี่ยวออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือข่าอ่อนและข่าแก่ โดยข่าอ่อนจะเก็บเมื่อข่ามีอายุไม่เกิน 8 เดือน ส่วนข่าแก่จะเก็บเมื่อข่ามีอายุเกิน 1 ปี ซึ่งทั้ง 2 ประเภทนี้มีวัตถุประสงค์สำหรับการนำไปใช้ที่แตกต่างกัน

การขุดหัวข่าขึ้นมานั้น ควรรดน้ำให้ดินชุ่มก่อน ไม่ควรขุดตอนดินแห้ง เนื่องจากหัวข่าจะได้รับความเสียหาย โดยเมื่อขุดขึ้นมาแล้วควรล้างน้ำให้สะอาด แล้วนำมาแช่น้ำผสมสารส้มเพื่อให้ข่าสามารถคงความสดได้นานยิ่งขึ้น เมื่อขุดเสร็จควรกลบหลุมด้วยแกลบให้พูน และรดน้ำให้ชุ่ม หัวข่าที่เหลืออยู่ก็จะแตกตาออกมาให้ขุดต่อในครั้งต่อไป

การเก็บเกี่ยว7. สรรพคุณ

ข่าเป็นพืชสมุนไพรที่นอกจากนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหารได้มากมายแล้วนั้น ต้นข่ามีสรรพคุณทางยาต่าง ๆ มากมาย และทุกส่วนของต้นข่าล้วนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งสิ้น

  • รากข่า ช่วยบำรุงเลือด ขับเสมหะ
  • เหง้า หรือหัวข่า ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยบำรุงร่างกาย เป็นยาระบาย ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร และยังสามารถช่วยต้านทานโรคมะเร็งได้อีกด้วย
  • ใบ ดอก ผล ช่วยแก้อาการท้องร่วง ท้องเสีย ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น

แต่ในความเป็นจริงแล้วต้นข่าก็ควรนำมาใช้อย่างระมัดระวัง และใช้ในปริมาณที่เหมาะสม เนื่องจากข่านั้นเป็นพืชสมุนไพรที่มีความเผ็ดร้อน เนื่องจากน้ำมันหอมระเหยที่อยู่ในข่านั้นมีความเป็นพิษปานกลาง ถ้าบริโภคมากเกินไปจะทำให้เกิดอันตรายได้

สรรพคุณ8. การนำมาบริโภค

ข่าเป็นสมุนไพรที่มีรสเผ็ด โดยส่วนที่นิยมนำมาทำอาหารคือหัว หรือเหง้าของข่านั่นเอง สามารถใช้ได้ทั้งข่าอ่อนและข่าแก่ สิ่งสำคัญที่สุดในการนำข่ามาบริโภคคือ ต้องทำความสะอาดให้เรียบร้อยทุกครั้ง โดยล้างหรือขัดให้หมดคราบดินที่ติดมา เพราะถ้าข่าสกปรกแล้วนำมาประกอบอาหารอาจจะทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมาได้

การนำข่ามาบริโภคนั้นส่วนมากจะเป็นการนำมาเป็นส่วนผสมของเมนูต่างๆ มากกว่าจะเป็นวัตถุดิบหลัก อย่างเช่น เครื่องแกง หรือพริกแกงต่างๆ ล้วนแต่มีข่าเป็นส่วนประกอบ เมนูยอดนิยมที่มีข่าเป็นส่วนประกอบ ยกตัวอย่างเช่น ต้มข่าไก่ ทอดมันหัวปลี ปลาทูต้มขมิ้น ลาบปลาดุก ต้มยำกุ้ง แต่ข้อควรระวังคือการบริโภคข่านั้นไม่ควรกินสดๆ เนื่องจากมีฤทธิ์เป็นกรด รวมถึงน้ำมันหอมระเหยยังมีพิษระดับปานกลางอีกด้วย

นำมาบริโภคจากบทความนี้จะเห็นได้ว่าข่านั้นเป็นพืชสมุนไพรข้างรั้วคู่ครัวคู่บ้าน ที่มีสรรพคุณอันเป็นประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมากมาย อีกทั้งข่ายังเป็นพืชสมุนไพรที่ปลูกง่าย ดูแลรักษาง่าย สามารถปลูกไว้ในบ้านเพื่อใช้ประโยชน์ต่างๆ ได้ด้วยตัวเอง หรือถ้าต้องการปลูกข่าเพื่อจำหน่ายเป็นอาชีพเสริมก็สามารถทำได้ไม่ยาก ทุกคนควรทำความเข้าใจในสรรพคุณต่างๆ ของต้นข่า เพราะว่าการใช้พืชสมุนไพรใกล้ตัวให้เกิดประโยชน์เป็นเรื่องที่ทำได้ง่าย และเห็นผลได้จริง

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร