Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

เตรียมตัวให้พร้อม ก่อนกู้เงินสร้างบ้าน

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

หลายท่านเมื่อทำงานไปสักระยะหนึ่งก็เริ่มจะวางแผนกู้เงินซื้อบ้านซื้อรถเพื่อสร้างความมั่นคงให้ชีวิต แต่ถึงอย่างไรนั้นก่อนจะทำการซื้อสิ่งใด สิ่งที่พึงปฏิบัติคือ การศึกษารายละเอียดเพื่อช่วยในการวางแผนทางการเงินก่อนยื่นกู้ และเป็นข้อมูลเบื้องต้นให้ท่านได้ทราบถึงความสามารถในการผ่อนชำระได้อีกด้วย

วันนี้จึงขอนำทุกท่านมาทราบถึงขั้นตอน และรายละเอียดต่าง ๆ ก่อนยื่นกู้เงินสร้างบ้าน โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. การตรวจสอบเครดิตบูโร

โดยสามารถตรวจสอบเครดิตได้ที่ National Credit Bureau ตามสถานที่ที่ได้ระบุไว้ซึ่งบริษัทเครดิตบูโรจะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการจัดเก็บข้อมูลสินเชื่อ และประวัติสินเชื่อทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล ซึ่งแบ่งข้อมูลออกเป็น 2 ส่วน

  • ข้อมูลบ่งชี้ เป็นข้อมูลที่บ่งบอกถึงลูกค้า เช่น ประวัติส่วนตัว วันเดือนปีเกิด บัตรประชาชน และข้อมูลที่อยู่เพื่อแจ้งสถาบันการเงิน หรือบริษัทของเครดิตบูโร
  • ข้อมูลสินเชื่อ ในการอนุมัติประวัติ และสินเชื่อโดยมีข้อมูลที่สำคัญ ดังนี้
    • สรุปข้อมูลสินเชื่อเพื่อบอกว่าลูกค้ามีข้อมูลสินเชื่ออยู่กี่บัญชี
    • เลขที่ และประเภทของสินเชื่อ
    • วงเงินที่อนุมัติ วงเงินที่ใช้ไป และผู้อนุมัติคือใคร
    • สถานะของบัญชี เช่น ปกติ พักชำระหนี้ หรือปิดบัญชี
    • ประวัติการชำระหนี้ที่ผ่านมาเพื่อตรวจสอบข้อมูลของลูกค้าเกี่ยวกับพฤติกรรมการชำระเงินว่าตรงเวลา หรือล่าช้าเป็นประจำ

ซึ่งทั้งหมดนี้เครดิตบูโรเพียงจัดเก็บ และประมวลผลข้อมูลสินเชื่อตามรายชื่อลูกค้าของสถาบันการเงิน หรือบริษัทที่เป็นสมาชิกเพียงเท่านั้น มิได้มีหน้าที่ในการขึ้นบัญชีดำ หรือ Blacklist อย่างที่ใครหลายคนเข้าใจ

ตรวจสอบเครดิตบูโร

2. รู้ความสามารถของผู้กู้  

โดยใช้สูตรการคำนวณราคาบ้าน
(รายได้ต่อเดือน) x (60 เท่าของรายได้) = ราคาบ้านที่กู้ซื้อได้
Ex: รายได้ 25,000 บาทต่อเดือน x 60 = 1.5 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นวงเงินขั้นต่ำที่สามารถยื่นขอกู้ได้ แต่ทั้งนี้อาจจะมีการปรับขึ้นลงตามหลักเกณฑ์การพิจารณาของธนาคารแต่ละแห่งซึ่งส่วนใหญ่จะธนาคารจะยอมให้ผู้กู้มีภาระหนี้สินอยู่ที่ 30-40% ของรายได้
โดยใช้สูตรคำนวณคือ (รายได้ต่อเดือน) x (30 หรือ 40%) = ความสามารถผ่อนชำระ
Ex: รายได้ 25,000 บาทต่อเดือน x 40% = 10,000 บาทต่อเดือน
ต่อมาภาระหนี้ที่ว่าหนี้ คือการรวมภาระหนี้ทั้งหมดโดยหักค่าใช้จ่ายทุกค่าที่ต้องจ่ายแต่ละเดือน เช่น มีค่าผ่อนรถเดือน 7,000 บาท ความสามารถในการผ่อนจะเหลือเพียง 3,000 บาทเท่านั้น ดังนั้นจะกู้ซื้อบ้านได้ที่ราคา 
(1,000,000 ÷ 7,000) x (ความสามารถผ่อนชำระ) = วงเงินที่สามารถกู้ได้
Ex: (1,000,000 ÷ 7,000) x 3,000 = 428,571 บาท

ความสามารถของผู้กู้

3. การเก็บเงินออมสำหรับดาวน์บ้าน

ซึ่งควรจะเก็บ 10 -20% จากราคาบ้านที่จะซื้อ และสำหรับค่าใช้จ่ายในการโอนกรรมสิทธิ หรือค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมถึงเงินสำรองสำหรับซื้อเฟอร์นิเจอร์ตกแต่ง หรือซ่อมแซมบ้านหากซื้อบ้านมือสอง
Ex: ราคาบ้านที่ท่านต้องการซื้อคือ 1.5 ล้านบาท ท่านต้องมีเงินสำรองเพื่อดาวน์บ้าน 15 เปอร์เซ็นต์ 
วิธีคิด ราคาบ้าน 1,500,000 x 10 /100 = 150,000 บาท 
ดังนั้นท่านต้องมีเงินเก็บอย่างน้อย 150,000 ในการดาวน์บ้าน และต้องมีเงินสำรองสำหรับตกแต่ง หรือซ่อมแซมบ้านประมาณ 5 - 10% โดยขอคิดที่ 5 เปอร์เซ็นเนื่องจากเป็นบ้านใหม่พร้อมเข้าอยู่ 
วิธิคิด ราคาบ้าน 1,500,000 x 10 /100 = 75,000 บาท 
ดังนั้น ท่านต้องมีเงินสำรองอย่างน้อยสำหรับดาวน์ และตกแต่งบ้าน คือ 150,000 + 75,0000 = 225,000 บาท  
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่การคำนวณเบื้องต้น หากท่านมีความสามารถในการชำระสามารถเพิ่มเงินต้นสำหรับดาวน์บ้านเพื่อช่วยในการลดอัตราดอกเบี้ยที่ท่านต้องจ่ายผ่อนชำระในแต่ละเดือนจนสิ้นสุดสัญญา

การเก็บเงินออม

4. เตรียมเอกสารกู้เงิน

ซึ่งโดยปกติธนาคารจะขอข้อมูลเพื่อทราบว่าท่านเป็นใคร ทำอาชีพอะไร มีความสามารถในการผ่อนกู้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งเอกสารส่วนใหญ่ที่ต้องจัดเตรียมคือ สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประชาชน สลิปเงินเดือน หรือเงินฝากย้อนหลังอย่างน้อย 6 เดือน และข้อมูลบ้าน เช่น โฉนดที่ดินที่ท่านต้องการซื้อ

เตรียมเอกสาร

5. เปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียมของแต่ละธนาคาร

ก่อนจะทำการกู้ควรศึกษาสิทธิประโยชน์ และความคุ้มค่าของข้อเสนอแต่ละธนาคารก่อนยื่นกู้ ตั้งแต่ร้อยละของวงเงินกู้ของราคาการประเมิน ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม ระยะเวลาในการกู้กี่ปี รวมถึงค่างวดผ่อนชำระ โดยควรยื่นกู้อย่างน้อย 3 ธนาคาร เพื่อช่วยในการประกอบการตัดสินใจ และเป็นตัวเลือกให้ท่านได้เลือกความคุ้มค่าตามสิทธิประโยชน์ที่ได้รับ เช่น ระยะเวลาการผ่อนกู้ที่บางธนาคารสามารถยืดให้ได้มากสุดถึง 40 ปี ในขณะอีกธนาคารให้ระยะเวลาเพียง 30 ปีแต่อัตราดอกเบี้ยในการผ่อนจ่ายถูกลง ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถในการผ่อนชำระของแต่ละท่านร่วมด้วย

อัตราดอกเบี้ย

6. การยื่นเอกสารต่อธนาคาร

หลังจากยื่นเอกสารที่กำหนดตามข้อ 4 แล้วธนาคารจะทำการพิจารณาวงเงิน และดอกเบี้ยตามความเสี่ยง และภาระค่าใช้จ่าย หากท่านเป็นลูกค้าระดับดีมีที่มาของรายได้ชัดเจน เช่น ข้าราชการ พนักงานเอกชน ซึ่งมีความมั่นคงจากรายได้ที่แน่นอนจำนวนเงินในการกู้จึงได้มากกว่ากลุ่มลูกค้าอื่น ๆที่มีความเสี่ยงสูงเนื่องจากที่มาของรายได้ไม่มั่นคง เช่น ฟรีแลนซ์ หรือพ่อค้าแม่ค้า เนื่องจากไม่มีหลักประกันรายได้ในแต่ละเดือนที่แน่นอน และสิ่งที่สำคัญที่สุดของผู้กู้ คือ การมีวินัยในการผ่อนชำระค่างวดบ้านให้ตรงต่อเวลาเพื่อไม่ให้ท่านเสียเครดิตจนนำไปสู่การขึ้นบัญชีดำ (Blacklist)

ยื่นเอกสารต่อธนาคาร

7. การตรวจรับโอน และจดจำนอง

ซึ่งถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายซึ่งท่าน กับผู้ขายต้องมีการตรวจสอบสภาพบ้านแบบพร้อมโอน หากดำเนินการเรียบร้อยให้นัดผู้ซื้อ ผู้ขาย และธนาคารเพื่อทำเรื่องการซื้อขาย และจดจำนองที่สำนักงานที่ดิน โดยจะดำเนินการทุกอย่างด้วยเจ้าหน้าที่ และธนาคารจะเป็นผู้ชำระเงินแก่ผู้ขายจากนั้นผู้ขายจะโอนกรรมสิทธิ์บ้านให้กับเราซึ่งต้องทำการจำนองไว้กับธนาคารในฐานะเจ้าหนี้ และท่านในฐานะลูกหนี้จนกว่าจะดำเนินการชำระเงินเสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนด หรือมีการซื้อขายใหม่เกิดขึ้นอีกครั้ง

 การตรวจรับโอน

เป็นอย่างไรกันบ้างกับขั้นตอนที่จะช่วยให้ผู้กู้ทราบ และเข้าใจถึงรายละเอียดต่าง ๆ ก่อนยื่นกู้ซึ่งถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ควรรู้เพื่อช่วยให้ท่านสามารถวางแผนการเงิน และหมุนเงินค่างวดบ้านแต่ละงวดไม่ให้เกินกำลังซึ่งช่วยให้ท่านไม่ต้องใช้ชีวิตแบบเดือนชนเดือน รวมถึงขั้นตอนในการยื่นกู้ก็ไม่ได้ยากอย่างที่คิด เพียงแค่รู้จักวางแผนทางการเงิน และเตรียมเอกสารให้พร้อมก่อนยื่นกู้ เพียงแค่นี้ท่านก็สามารถกู้เงินสร้างบ้านได้อย่างสบาย 

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร