Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

ไขข้อสงสัยการประมูลบ้านจากกรมบังคับคดี

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

การประมูลบ้านจากกรมบังคับคดีมีขั้นตอนอย่างไร? มีอะไรที่ควรรู้ควรทราบบ้าง? วันนี้ข้อสงสัยเหล่านี้กำลังจะหมดไป คุณได้ทราบข้อมูลของการประมูลทรัพย์ฉบับเต็ม พร้อมเผยเคล็ดลับการได้ทรัพย์สภาพดีราคาถูก และรู้ทันการขายทอดสู่ตลาด แล้วคุณจะรู้ว่ากรมบังคับคดีเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะทำให้คุณมีบ้านในราคาคุ้มค่า หรือจะซื้อเพื่อเก็งกำไรก็ได้เช่นกัน เพียงแค่คุณรู้ข้อมูลก่อนซื้อบ้านจากกรมบังคับคดีก็จะทำให้คุณได้บ้านราคาที่คุ้มค่าคุ้มราคา

1. หน้าที่ของกรมบังคับคดี

ตามโครงสร้างแล้ว กรมบังคับคดีจะมีการทำงานที่แตกต่างกันออกไปแต่ละด้านแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกันคือ กรมบังคับคดีล้มละลาย กรมบังคับคดีแพ่ง และการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ซึ่งทั้ง 3 ส่วนที่ก็มีหน้าที่การทำงานในลักษณะใกล้เคียงกัน เช่น การประเมินราคาทรัพย์สินที่มีอยู่ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเจรจาคดีจากชั้นศาล ดำเนินการยึดทรัพย์ และอายัดทรัพย์ เป็นต้น อีกทั้ง กรมบังคับคดียังมีหน้าที่ในการรวบรวมทรัพย์สินของบุคคลล้มละลายที่ทำการยึดมาได้ คอยรับฟังปัญหาลูกหนี้และเจ้าหนี้ เจรจาทั้งสองฝ่ายเพื่อไม่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องเสียเปรียบ พร้อมรับคำสั่งการทำงานจากศาลอันสูงสุด และคอยจัดการการประมูลทรัพย์สินให้กับคุณ อย่างไรก็ตามในที่นี้เราจะศึกษาทำความเข้าใจในส่วน การยึดทรัพย์บังคับคดีและขายทอดตลาดเป็นสำคัญ

หน้าที่

2. การยึดทรัพย์ของกรมบังคับคดี

การที่คุณจะถูกยึดทรัพย์ได้นั้นต้องมาจากการฟ้องร้องคดีความของโจทย์ที่ไปร้องต่อศาล ให้รับเรื่องพิจารณาคดียึดทรัพย์ของคุณ หากศาลประทับรับฟ้องแล้วเจ้าพนักงานพิจารณาคดีจะพิจารณาคำขอในการยึด หากเห็นสมควรในการพิจารณาก็จะดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป และจัดการยึดทรัพย์สินทุกชนิดของคุณไม่ว่าจะเป็น อสังหาริมทรัพย์ ตั๋วเงินในการทำธุรกิจ สิทธิการเช่าทรัพย์สินในสถานที่ต่าง ๆ ตามแต่เหตุที่ได้รับการฟ้องร้องนั้น ๆ ในกรณีนี้คุณสามารถขอระงับยับยั้งการยึดทรัพย์ได้ หากคุณดำเนินการตามคำร้องไปเจรจาไกล่เกลี่ยขอเข้าพบเจ้าพนักงานบังคับคดี ข้อควรระวังก็คือ ถ้าหากคุณตกลงที่จะชดใช้หนี้สินหรือค่าเสียหายแล้ว คุณต้องชดใช้ตามที่ระยะเวลากำหนด ไม่ควรขาดนัดจากหมายศาลหรือขาดการติดต่อกับโจทย์ในคดีความ ถ้าหากเจ้าพนักงานติดต่อคุณไม่ได้ อาจจะนำมาสู่การยึดทรัพย์ได้ทันที

การยึดทรัพย์

3. การขายทอดตลาด

อย่างที่เรียนไปแล้วว่า กรมบังคับคดีมีหน้าที่ยึดทรัพย์ตามคำร้องของคดีต่าง ๆ และเมื่อทำการยึดมาแล้วก็จะต้องมาทำการขายทอดตลาดเพื่อนำเงินที่ได้มาชดใช้ให้แก่เจ้าหนี้ตามมูลหนี้นั้น ๆ หากราคาขายเกินจากมูลหนี้ก็จะมอบส่วนที่เกินมานั้นให้ลูกหนี้ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์เดิม ถ้าคุณต้องการจะหาบ้านมือสองสภาพดีจากเว็บกรมบังคับคดี คุณสามารถทำได้โดยการเข้าไปที่เว็บไซต์ www.led.go.th แล้วลองหาบ้านที่คุณต้องการ โดยแนะนำว่าบ้านที่คุณควรจะหาดูเพื่อเก็บไว้ในใจ ควรจะเป็นบ้านที่สภาพดีไม่ชำรุดผุพัง ในขั้นตอนนี้คุณควรศึกษาหาข้อมูลบ้านที่คุณจะเลือกซื้อให้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลรายละเอียดของบ้าน เคยผ่านการซื้อขายจากใครมาบ้าง รวมถึงพิจารณาสภาพของบ้าน และที่สำคัญคือราคา โดยคุณควรจะนำบ้านลักษณะที่ใกล้เคียงกันมาเปรียบเทียบราคาและสภาพเพื่อดูว่าทรัพย์ที่นำมาขายทอดตลาดน่าสนใจเพียงใด หากคุณสามารถไปตรวจสอบสภาพทรัพย์ก่อนการประมูลด้วยตนเองจะช่วยให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นมากเช่นกัน

การขายทอดตลาด

4. การประมูลทรัพย์

หลังจากทำรายการและตรวจสอบทรัพย์ที่ต้องการแล้ว คุณต้องเตรียมเอกสารในการเข้าร่วมประมูลดังนี้

  1. หลักประกันของคุณเพื่อเข้าร่วมงานในครั้งนี้
  2. บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา

จากนั้นให้เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือติดตามประกาศ เพื่อตรวจสอบข้อมูลนัดวันเวลาและสถานที่ที่ต้องการจะเข้าร่วมให้เรียบร้อย เมื่อถึงวันที่กำหนด เจ้าหน้าที่จะให้คุณลงทะเบียน พร้อมวางเงินหลักประกันและทำสัญญาเสนอราคา เพื่อรับป้ายสำหรับใช้ประมูล

การกำหนดราคาจากเจ้าหน้าที่

โดยเบื้องต้นจะมีการประมูลทั้งหมด 4 ครั้ง โดยมีการกำหนดราคาจากเจ้าหน้าที่ในแต่ละรอบ เช่น กำหนดราคาเต็มในการประมูลรอบที่ 1 แต่ถ้าหากรอบนี้ไม่มีคนเข้าร่วมการประมูล จะเปิดครั้งที่ 2 โดยลดราคาเหลือร้อยละ 90 แต่ถ้าหากยังไม่มีผู้เข้าร่วมอีก จะเปิดประมูลในรอบถัดไปโดยราคาลดลงครั้งละ 10 เปอร์เซ็นต์ต่อรอบการประมูล เพื่อให้มีคนเข้าร่วมงาน

การประมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่แสนจะสะดวก

ในปัจจุบันกรมบังคับคดีจัดให้มีการประมูลบ้านกรมบังคับคดีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มความสะดวกและรวดเร็วให้กับผู้ที่ต้องการจะเข้าร่วมทางเว็บไซต์ e-offering Auction ทั้ง 9 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี สงขลา เชียงใหม่ นนทบุรี นครราชสีมา ชลบุรี พิษณุโลก ขอนแก่น นครปฐม โดยคุณสามารถลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมการประมูลได้ที่สำนักงานกรมบังคับคดี ในพื้นที่ที่กำหนดไว้ หากเสร็จสิ้นขั้นตอนแล้วปรากฏว่าคุณเป็นผู้ชนะการประมูลคุณจะมีระยะเวลาในการชำระเงิน 7-15 วัน และทำสัญญาการซื้อขายหลังจากเสร็จงาน แต่ถ้าคุณเกิดปัญหาติดขัดไม่สามารถชำระเงินได้ตามกำหนด คุณก็สามารถทำเรื่องขอขยายเวลาในการชำระหนี้ออกไปได้ โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมในการเดินเรื่องกับธนาคาร เมื่อคุณชำระเงินเสร็จเรียบร้อยแล้ว กรมที่ดินก็จะโอนกรรมสิทธิ์ให้คุณทันที

การประมูลทรัพย์

5. ข้อควรรู้ในการประมูลทรัพย์

ข้อควรรู้และสิ่งที่สำคัญที่สุดก่อนการประมูลก็คือ การเตรียมหลักทรัพย์ในการเข้าร่วมงานการสำรวจเนื้อที่ อสังหาริมทรัพทย์ คอนโด บ้าน  ถ้าหากผู้อยู่อาศัยบ้านคนเดิมไม่ย้ายออกไปคุณสามารถไปฟ้องต่อศาล เพื่อให้ศาลส่งเจ้าหน้าที่มาขับไล่แทนได้อีกด้วย ไม่ต้องกังวลผลที่จะตามมา เคล็ดลับในการประมูลทรัพย์จากกรมบังคับคดี ถ้าหากคุณอยากจะเป็นผู้ที่ชนะการประมูล คุณก็จะต้องศึกษาหาข้อมูลราคาของบ้านแล้วหลักการเข้าร่วมงานในครั้งนี้ให้เป็นอย่างดี บางครั้งอาจจัดการประมูลถึง 4 ครั้งต่อหลัง หากมีคนสู้การประมูลสูงขึ้นอาจทำให้คุณแพ้การประมูลได้ จึงไม่ควรเสี่ยงการประมูลในรอบต่อไปที่มีผู้เข้าร่วมแข่งขันเยอะมากยิ่งขึ้น อีกข้อที่สำคัญคือ ราคาประมูลถูกกว่าราคาจริงของบ้านยิ่งดี

ข้อควรรู้
การประมูลบ้าน หรือซื้อบ้านจากกรมบังคับคดีเป็นช่องทางที่คุณสามารถได้บ้านคุณภาพในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาดทั่วไป แต่ก็ต้องแข่งขันกับผู้ประมูลรายอื่นด้วยเช่นกัน หากคุณได้ศึกษาข้อมูลและหลักการแล้ว จะทำให้คุณมีกลยุทธ์ในการประมูลจนชนะและได้บ้านในฝันมาในที่สุด

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร