Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

กรมธนารักษ์ประเมินที่ดิน หน่วยงานที่คนมีบ้านต้องรู้จัก

19/6/2020
x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

“กรมธนารักษ์ประเมินที่ดิน” คืออีกหน่วยงานสำหรับคนคิดมีบ้านหรือซื้อ-ขายที่ดินเป็นของตนเองต้องรู้จักให้มากขึ้น โดยเฉพาะกับคนที่ต้องการซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้เวลาประเมินราคาจะได้ไม่โดนหลอกเอาง่าย ๆ จากเจ้าของที่เดิม บทความนี้จึงได้รวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับกรมธนารักษ์เอาไว้อย่างครบถ้วน

1. หน้าที่

สำหรับหน้าที่หลักของกรมธนารักษ์จะแบ่งออกได้เป็น 5 เรื่อง ประกอบไปด้วย การให้ความคุ้มครอง ดูแลรักษา ทำนิติกรรมและดำเนินการด้านต่าง ๆ ของราชพัสดุ, เป็นผู้ผลิตเหรียญกษาปณ์ ปล่อยให้ออกใช้งาน รับคืน และดูแลเรื่องเงินตามกฎหมาย, รับ จ่าย และควบคุมเกี่ยวกับเงินคงคลัง, และกำหนดราคาประเมินด้านอสังหาริมทรัพย์เป็นไปตามกฎหมายเรื่องที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พร้อมจัดแสดงและอนุรักษ์สิ่งของมีค่าจากภาครัฐ

หน้าที่

2. ราคาประเมินที่ดินออนไลน์

ด้วยยุคนี้โลกออนไลน์กลายเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ชีวิตของทุกคน แม้แต่การค้นหาราคาประเมินที่ดินก็ทำผ่านช่องทางนี้ได้เช่นกัน วิธีง่ายมาก ๆ ให้เข้าไปยังหน้าเว็บไซต์ของกรมธนารักษ์ จากนั้นจะมีตัวเลือกในการค้นหาราคาประเมินที่ดินออนไลน์หลายประเภท ได้แก่ 

ราคาประเมินที่ดินจากโฉนดที่ดิน
ราคาประเมินที่ดินจากเลขที่ดิน
ราคาประเมินที่ดิน นส.3ก 
ราคาประเมินที่ดินประเภทอื่น
ราคาประเมินอาคารชุด
ราคาประเมินสิ่งปลูกสร้าง 
สรุปราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน 

ต้องการเลือกประเมินแบบไหนก็คลิกเข้าไปจากนั้นใส่ข้อมูลตามที่ระบุเพื่อค้นหารายละเอียดได้เลย

ราคาประเมินที่ดินออนไลน์

3. ไม่มีเลขโฉนด

เป็นข้อสงสัยที่หลายคนกังวลใจไม่น้อยกรณีไม่มีเลขโฉนดสามารถค้นหาราคาประเมินที่ดินได้หรือไม่ คำตอบคือ ค้นหาได้ โดยหลัก ๆ จะแบ่งออกเป็น 2 วิธี ได้แก่ การตรวจสอบราคาที่ดินคร่าว ๆ ผ่านหน้าเว็บไซต์ของกรมธนารักษ์ การค้นหาเลขโฉนดที่ดินหรือเลขที่ดินจากแผนที่กรมที่ดิน จากนั้นก็นำเอาไปเช็คราคาที่ดินต่อไป สะดวกวิธีไหนก็เลือกได้เลย ขั้นตอนต่าง ๆ ไม่ยากอย่างที่คิด

ไม่มีเลขโฉนด

4. ประเมินราคาที่ดิน

การประเมินราคาที่ดินจะแบ่งได้ 3 ประเภทหลัก ๆ คือ การประเมินจากหน่วยงานราชการ เช่น กรมที่ดิน, การประเมินจากหน่วยงานเอกชน เช่น เจ้าหน้าที่ของบริษัทเอกชนที่มีความเชี่ยวชาญด้านราคาที่ดิน และการประเมินผ่านราคาตลาด เป็นราคาที่ผู้ซื้อหรือผู้ขายกำหนดขึ้นมา ซึ่งเป็นราคาจริงในบริเวณดังกล่าว ราคาประเมินที่ดินทั้ง 3 ประเภทนี้อาจใกล้เคียง สูง หรือต่ำกว่าขึ้นอยู่กับความเหมาะสม การประเมินราคาสิ่งปลูกสร้างหลัก ๆ แนะนำให้ดูจากบัญชีราคาประเมินของสิ่งปลูกสร้างประเภทต่าง ๆ , คำนวณพื้นที่ของสิ่งปลูกสร้างทุกชั้นแล้วหักด้วยค่าเสื่อมราคา

ประเมินราคาที่ดิน

5. หนังสือรับรอง

แบ่งออกได้เป็น 2 กรณี คือ เจ้าของที่ดินเป็นผู้ติดต่อขอหนังสือเองต้องมีหลักฐานให้ครบทั้งบัตรประจำตัวประชาชน, ทะเบียนบ้าน, และโฉนดที่ดิน อีกกรณีคือการมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทนตนเอง ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน 2 ฝ่าย, ทะเบียนบ้าน 2 ฝ่าย, โฉนดที่ดิน, และหนังสือมอบอำนาจ สำหรับค่าใช้จ่ายประกอบไปด้วย 

ค่าคำขอ 5 บาท
ค่าใบรับรอง 10 บาท
ค่าพยาน 20 บาท 
ค่ามอบอำนาจ (ถ้ามี) เรื่องละ 20 บาท 

สามารถไปติดต่อได้ที่สำนักงานที่ดินพื้นที่ที่ดินตั้งอยู่หรือสำนักงานที่ดินต่างสาขา

หนังสือรับรอง

6. ราคาขายจริง

ปกติแล้วราคาประเมินกับราคาขายจริงไม่จำเป็นต้องเท่ากันเสมอไป อาจใกล้เคียงกัน สูงหรือต่ำกว่ากันมาก ๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นผู้ซื้อหรือผู้ขายก็ต้องรู้เรื่องนี้เพื่อประโยชน์ของตนเอง ปกติแล้วใครต้องการรู้ราคาประเมินที่ดินบริเวณใดก็สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์กรมธนารักษ์ จะช่วยให้การซื้อ-ขายที่ดินเป็นไปด้วยความยุติธรรม ไม่โดนหลอก

ราคาขายจริง

7. การตั้งราคา

สำหรับคนมีที่ดินและต้องการตั้งราคาเพื่อขาย แนวทางง่าย ๆ คือ ให้เข้าไปตรวจสอบราคากลางของที่ดินบริเวณนั้น ๆ จากหลายแห่ง เช่น เว็บไซต์กรมธนารักษ์ หรือเว็บไซต์ภาคเอกชน (ถ้ามี) จากนั้นมองศักยภาพในอนาคตว่าจะเจริญมากกว่านี้หรือไม่ เช่น มีข่าวเรื่องการทำรถไฟฟ้าผ่าน ฯลฯ, ลักษณะที่ดิน ติดถนน ที่ตาบอด ที่รกร้าง ฯลฯ และอย่าลืมศึกษาข้อกฎหมายด้วย

การตั้งราคา

ทั้งหมดนี้คือรายละเอียดเกี่ยวกับ “กรมธนารักษ์ประเมินที่ดิน” เพราะเรื่องที่ดินไม่ใช่สิ่งไกลตัว จึงควรมีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องจะได้ไม่โดนหลอกเอาง่าย ๆ

19/6/2020

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร