Baania
Baania
จังหวัด
ประเภทประกาศ
ประเภทอสังหาริมทรัพย์
ราคา

วิธีทำสวนในบ้านตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

x
คลิกที่นี่ เพื่อฟังบทความ

สำหรับท่านที่พอจะมีพื้นที่เล็ก ๆ คงมีความคิดอยากจะปลูกผักสวนครัว และปัจจุบันหลายท่านนิยม วิธีทำสวนในบ้าน ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เนื่องจากไม่ต้องลงทุนเยอะ และเป็นการดำเนินรอยตามพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 และวันนี้ทางเราก็มีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ในการทำสวนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาฝากกัน

ประโยชน์ของการทำสวนในบ้าน

ปัจจุบันมีข่าวที่นำเสนอผักที่ปลูกเพื่อธุรกิจ ล้วนเต็มไปด้วยสารเคมีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นฉีดสารเร่งโตหรือฉีดสารเพื่อให้ผักสีสวยเป็นต้น ดังนั้นการทำสวนครัวเพื่อปลูกผักไว้ทานเอง จึงเป็นอีกทางเลือกปลอดการรับสารพิษเข้าสู่ร่างกาย

1. ได้ผักที่สดและปลอดสารพิษ

การปลูกเองจะทำให้ท่านควบคุมปริมาณปุ๋ย ยาฆ่าแมลงและสารเคมีต่างๆ ให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย หรือจะให้แค่ปุ๋ยอย่างเดียวก็ได้ ผักที่ปลูกเองนั้นเมื่อเติบโตเต็มที่ สามารถเด็ดจากต้นสดๆ เพื่อนำมาประกอบอาหารได้ทันที จึงทำให้ไม่สูญเสียวิตามินและเกลือแร่ในผัก

2. ได้ทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว

ในยุคที่เต็มไปด้วยสิ่งเร้ามากมายอย่างในปัจจุบัน เป็นการยากที่จะหากิจกรรมทำร่วมกันในครอบครัว แต่การทำสวนครัวนั้นเป็นกิจกรรมที่ทำร่วมกันได้ แถมเป็นวิธีที่สอนให้เด็กๆ รู้จักวิธีการปลูกผัก และยังเป็นการกระชับความสัมพันธ์ของคนในบ้านอีกด้วย

3. ไม่ต้องกังวลกับยาฆ่าแมลง

เนื่องจากปลูกเอง จึงไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าแมลง ต่างจากผักในตลาดหรือตามซุปเปอร์มาร์เก็ต แม้จะเขียนว่าเป็นออร์แกนิค แต่แท้จริงแล้วกรรมวิธีการปลูกเป็นอย่างไร ก็ยากจะทราบขั้นตอนได้ แต่การปลูกเองนั้นท่านสามารถควบคุมทุกขั้นตอนได้เอง

4. ประหยัดเงินในกระเป๋า

แม้ผักสวนครัวจะมีราคาไม่แพง แต่การปลูกเองก็ย่อมดีกว่าไปซื้อ เพราะว่าปลูกหนึ่งครั้ง สามารถนำพืชผลมาใช้งานได้หลายคราว  เงินที่ต้องนำไปซื้อผักก็นำมาหยอดกระปุกเป็นการฝึกการเก็บออมไปในตัว

ประโยชน์การทำสวนครัว

หลักเศรษฐกิจพอเพียง

สำหรับเศรษฐกิจพอเพียงนั้น เป็นแนวทางในการปฏิบัติตนตามทางสายกลาง เพื่อให้ทันต่อโลกโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความพอเพียงในการดำรงชีวิต หลักปรัชญานี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับการทำสวนเช่นกัน

หลักเศรษฐกิจพอเพียง

การทำสวนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

สำหรับการทำสวนตาม ‘หลักเศรษฐกิจพอเพียง’ นั้นมี 5 ขั้นตอนง่าย ๆ ในการดำเนินงาน โดยเป็นการประยุกต์แนวทางพระราชดิริของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาใช้ในการทำสวน

1. แบ่งพื้นที่ในสวนให้เหมาะสมและคุ้มค่า

ก่อนลงมือทำให้สำรวจสภาพดินและทิศทางของแสงแดดรวมถึงทิศทางลมเสียก่อน จากนั้นให้เริ่มแบ่งพื้นที่ตามทฤษฏีใหม่ สำหรับแปลงผักและบ่อน้ำหลัก เป็นต้น ซึ่งควรแบ่งสัดส่วนให้เหมาะสม และต้องคำนึงถึงบริเวณพื้นที่ภายในบ้านด้วย

2. จัดการระบบน้ำอย่างเหมาะสม

สำหรับการจัดการระบบน้ำตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงนั้น จะใช้การขุดบ่อน้ำเพื่อกักน้ำเอาไว้ใช้ในแปลงผัก ใช้ท่อต่อไปยังสวนผักให้ครอบคลุม นอกจากจะมีน้ำไว้ใช้แล้วยังสามารถทำเป็นบ่อเลี้ยงปลา หรือปลูกพืชน้ำเพิ่มเติมอย่างเช่นผักกระเฉดเป็นต้น

3. ทำแปลงผักไว้ในทิศทางที่โดนแสงแดด

สำหรับสภาพดินในบางพื้นที่นั้น อาจไม่เอื้ออำนวยต่อผักสวนครัวบางชนิด ฉะนั้นแก้ไขได้ด้วยการเปิดหน้าดินรับแสงแดด ก็จะช่วยให้ดินได้รับสารอาหารมากขึ้น

4. เลือกภาชนะปลูกที่ไม่เปลืองน้ำ

ภาชนะปลูกอย่างเช่น กระถาง ก็ต้องให้ความสำคัญด้วยเช่นกัน ควรเลี่ยงภาชนะที่ทำจากโลหะหรือสังกะสี ซึ่งจะดูดความร้อนจากแสงแดดเข้ามาได้มากกว่า ทำให้หน้าดินขาดความชุ่มชื้นเป็นการสิ้นเปลืองน้ำ ควรเลือกเป็นกระถางดิน หรือขวดน้ำพลาสติกแบบประยุกต์ด้วยตนเอง นอกจากไม่ต้องรดน้ำบ่อย ๆ ยังเป็นการไม่สร้างขยะให้เป็นภาระให้โลกอีกด้วย

5. ผสมปุ๋ยอินทรีย์แบบปลอดสารพิษ

สำหรับ ‘หลักการทำสวน’ ไว้ทานเอง ไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเคมี ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ก็เพียงพอแล้ว ปลอดภัยจากสารพิษและได้ผักที่มีความสดใหม่ ที่สำคัญเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้ปุ๋ยไปได้เยอะ

ทำสวนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

8 พืชผักสวนครัวที่น่าปลูก

ผักทั้ง 8 ชนิดที่จะแนะนำต่อไปนี้ ล้วนเป็นผักสวนครัวที่นิยมปลูกกัน ส่วนใหญ่เป็นผักที่ปลูกง่าย ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย และเป็นผักที่นำไปใช้งานได้บ่อยครั้ง

1. มะเขือเทศ

เป็นพืชที่นิยมนำมาประกอบอาหาร มีประโยชน์ต่อร่างกายและผิวพรรณ มะเขือเทศมีลักษณะเป็นลูกกลมมน สีแดงสด ประกอบไปด้วยวิตามินซี สารแอนตี้ออกซิแดนท์ และไลโคปีน ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ และมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยมักนิยมนำมะเขือเทศมาประกอบอาหารเช่น ส้มตำ สลัดหรือทานสดๆ ก็ได้ประโยชน์เช่นกัน

2. สะระแหน่

เป็นพืชที่มีรสเย็นอมเผ็ด กลิ่นค่อนข้างแรง นิยมนำมาใช้ประกอบอาหารอีสานอย่างเช่น ลาบ เป็นต้น คุณสมบัติของสะระแหน่คือ ช่วยขับเหงื่อ ขับพิษไข้ได้นอกจากนำมาทานแล้ว ยังสามารถใช้สะระแหน่มาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหยได้ โดยมีคุณสมบัติช่วยรักษาโรคต่อไทรอยด์

3. มะกรูด

มีประโยชน์ทั้งใบและลูก ส่วนใบนิยมนำมาทำต้มยำและอาหารประเภทที่ต้องการดับกลิ่นคาว คุณสมบัติช่วยบรรเทาอาการท้องอืดและท้องเฟ้อ สำหรับลูกมะกรูดสามารถนำมาคั้นน้ำผสมเกลือเล็กน้อย แก้อาการคลื่นไส้วิงเวียน และหากมีปัญหาเรื่องหนังศีรษะก็สามารถนำมะกรูดมาทาบริเวณที่มีเชื้อราได้

4. พริก

พริกมีประโยชน์มากมาย สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายอย่าง ทั้งงานผัด งานต้ม ในพริกมีวิตามินซี เบต้าแคโรทีน วิตามินเอและกรด Ascorbic ซึ่งมีคุณสมบัติในการช่วยขยายเส้นเลือดในลำไส้ ทำให้ดูดซึมอาหารได้ดีขึ้น อีกทั้งสาร Capsaicin ยังช่วยลดความบาดเจ็บของกล้ามเนื้อได้อีกด้วย ส่วนมากมักสกัดอยู่ในรูปแบบของโลชั่น

5. ผักชี

เป็นผักที่มีกลิ่นเฉพาะตัว นิยมนำมาดับกลิ่นคาวในอาหาร คุณสมบัติช่วยรักษาอาการหวัด คัดจมูกและละลายเสมหะได้ดี อีกทั้งยังช่วยบรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อด้วย

6. กะเพรา

เป็นพืชที่ปลูกง่ายและโตไว นิยมนำมาประกอบอาหารอย่างผัดกะเพราหรือใส่ในต้มยำ เป็นต้น คุณสมบัติของใบกะเพรานั้น ช่วยขับลมได้ดี บรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ

7. มะเขือเปราะ

จัดว่าเป็นพืชที่โตไว ดูแลง่ายมาก รสชาติออกขมไปทางเฝื่อน แต่หากนำมาทำให้นิ่มก็จะทานได้ง่ายขึ้น ประโยชน์ของมะเขือเปราะคือ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ขับปัสสาวะ และขับลมในร่างกาย หากคิดว่าทานยากไป สามารถนำไปต้มกับแกงเผ็ดให้นิ่ม ก็จะทานง่ายและอร่อยมากขึ้นด้วย

8. โหระพา

เป็นพืชตระกูลเดียวกับกะเพรา แต่จะมีกลิ่นฉุนกว่า นิยมนำมาใส่ในอาหารที่ต้องการดับกลิ่นคาว เช่น ผัดหอยลาย เป็นต้น คุณสมบัติของใบโหระพานั้น ช่วยบรรเทาอาการปวดและแก้หวัด อีกทั้งยังเป็นยาระบายอ่อนๆ อีกด้วย

พืชผักสวนครัว

วิธีการ ทำสวนในบ้าน ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงนั้นไม่ยากเลย ของนำข้อมูลที่นำเสนอมานี้ เลือกผักที่ต้องการจะปลูก และทำตามแนวทางทั้ง 5 ข้อ รับรองว่าจะได้สวนในแบบที่ต้องการและได้รับประโยชน์มากทีเดียว

ประกาศยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

โครงการยอดนิยม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร